กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการรณรงค์ ป้องกันและการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2564 ”
ตำบลลำใหม่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา



หัวหน้าโครงการ
นางสาวสูไวบ๊ะ บือราเฮง




ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ ป้องกันและการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2564

ที่อยู่ ตำบลลำใหม่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 64-L4141-05-01 เลขที่ข้อตกลง 002/2564

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 27 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการรณรงค์ ป้องกันและการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2564 จังหวัดยะลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลลำใหม่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำใหม่ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการรณรงค์ ป้องกันและการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2564



บทคัดย่อ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) พ่นหมอกควัน ป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออก และในกรณีเกิดการระบาดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ (2) รณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออก

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

“โรคไข้เลือดออก” เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศมานาน และในแต่ละปีจากอัตราการป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ “โรคไข้เลือดออก” เป็นโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค “ยุงลาย” จะมีนิสัยชอบออกหากินในเวลากลางวันและจะเพาะพันธุ์ตามแหล่งเพาะพันธ์ในธรรมชาติ และแหล่งเพาะพันธุ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น โพรงไม้ โพรงหิน กระบอกไม้ไผ่ ยางรถยนต์ รางน้ำฝนที่อุดตัน ถ้วยรองน้ำยางพาราที่ไม่ใช้แล้ว ดังนั้นการกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย จึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ในปีงบประมาณ 2559 จังหวัดยะลา มีผู้ป่วยไข้เลือดออกมากเป็นอันดับที่ 10 ของประเทศไทย และอำเภอเมืองเป็นอำเภอที่มีผู้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกมากที่สุด และมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ในเขตพื้นที่ตำบลลำใหม่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 14 ราย ระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน 2559 แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต และในปีงบประมาณ 2560 มีผู้ป่วยที่สงสัยเป็นไข้เลือดออก จำนวน 54 ราย ผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นโรคไข้เลือดออกจากโรงพยาบาลพยาบาลยะลา จำนวน 2 ราย แต่ไม่มีจำนวนผู้เสียชีวิต ทางกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมได้ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่ ในการสอบสวนและควบคุม พร้อมทั้งการให้คำแนะนำในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโรคไข้เลือดออก เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่ ได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเองพร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องจึงได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่ เพื่อจัดโครงการป้องกันและการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออกในตำบลลำใหม่

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

 

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. พ่นหมอกควัน ป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออก และในกรณีเกิดการระบาดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
  2. รณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออก

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 6,190
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ประชาชนที่มีอัตราป่วย และสงสัยป่วยจากโรคไข้เลือดออกลดลง ไม่มีผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก
  2. ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกได้ทันท่วงที
  3. อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลงเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี
  4. ประชาชนสุขภาพดีด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. รณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออก

วันที่ 22 มิถุนายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

เดินรณรงค์ พร้อมแจกแผ่นพับประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคไข้เลือดออกให้กับประชาชนในหมู่บ้าน และมอบทรายอะเบทให้กับตัวแทนหมู่บ้าน อสม. โรงเรียน เพื่อร่วมรณรงค์ใส่ทรายอะเบทในภาชนะใส่ น้ำในครัวเรือน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก เกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

 

30 0

2. พ่นหมอกควัน ป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออก และในกรณีเกิดการระบาดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

วันที่ 28 มิถุนายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

  1. จัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 2 รายการ
  2. จัดซื้อทรายอะเบท น้ำยาพ่นหมอกควัน
  3. จ่ายค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่พ่นหมอกควัน

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ลำใหม่ ได้จัดทำบริการสาธารณะโดยดำเนินการพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย โดย รพ.สต.ลำใหม่ เป็นผู้แจ้งข้อมูลรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นในชุมชน จากนั้นกองสาธารณสุขฯ ทำการพ่นยุงที่บ้านผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก และบ้านอื่นในรัศมี 100 เมตรรอบทิศทางจากบ้านผู้ป่วย และดำเนินการพ่นยุงลายให้กับโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ตำบลลำใหม่ ก่อนที่จะเปิดภาคเรียน กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ รพ.สต.ลำใหม่ อสม.ในพื้นที่ แกนนำสุขภาพในหมู่บ้าน ผู้นำหมู่บ้าน ออกรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกได้ทันท่วงที
  2. อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลงเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี

 

284 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 6190
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 6,190
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) พ่นหมอกควัน ป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออก และในกรณีเกิดการระบาดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ (2) รณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออก

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการรณรงค์ ป้องกันและการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2564 จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 64-L4141-05-01

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวสูไวบ๊ะ บือราเฮง )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด