กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนและผู้ที่สนใจทราบและเข้าร่วมกิจกรรม 25 พ.ย. 2563 21 ธ.ค. 2563

 

การประสัมพันธ์โครงการ ออกกำลังกาย 3 วัย ขยับกายใส่ใจสุขภาพ ด้วยรำวงย้อนยุค บาสโลบและแอโรบิค ผ่านหอกระจายข่าวหมู่บ้าน หมู่ที่ 6 ตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง และมีการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจ การออกกำลังกาย 3 วัย ณ ที่ศาลาหมู่บ้าน หมู่ที่ 6 มีผู้ร่วม รับฟังสร้างความเข้าใจ 45 คน โดย นาง ทิวาพร บริรักษ์ ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ การออกกำลังกาย 3 วัย เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกาย เสริมภูมิคุ้มกันและดัชนีมวนกายอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน การออกกำลังกายยังลดภาวะเสี่ยง ในเรื่องสุขภาพ การออกกำลังกายในครั้งนี้ทางโครงการ การจัดรูปแบบการออกกำลังกายให้เหมาะสมทุกวัย จะมีการออกกำลังกายแบบรำวงย้อนยุค แบบบาลโลบ และออกกำลังกายแรโรบิค จะมีการออกกำลังกาย วันจันทร์-วันศุกร์ ณ ที่ ศาลาหม่บ้านหมู่ที่ 6 ในเวลา18.00.-19.00 น. และจะมีการอบรมให้ความรู้แก่สมาชิก การเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้อง การออกกำลังกายและวิธีการออกกำลังการที่ถูกต้อง จะมีการวัดดัชนีมวลกายติดตามประเมินผล จำนวน 3 ครั้ง เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของสมาชิก และการออกกำลังกายในรูบแบบต่างๆจะมีการค้นหาต้นแบบหรือแกนนำในการออกกำลังเพื่อเป็นผู้นำการออกกำลังให้เพิ่มขึ้นเพื่อขยายกลุ่มในการออกกำลังร่วมกัน

 

มีการประชาสัมพันธ์โครงการผ่านหอกระจายข่าวหมู่บ้าน และป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ ผู้จัดการโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์ มีผู้เข้าร่วมการออกกำลังกายจำนวน 45 คน

 

อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย 1 ธ.ค. 2563 1 ธ.ค. 2563

 

กิจกรรมการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย การวัดดัชชีมวลกาย การเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้อง และการออกกำลังกาย วิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้อง จัด ณ ที่ศาลาหมู่บ้านหมู่ที่ 6 มีสมาชิกโครงการเข้าร่วม 45 คน
โดยมีวิทยากร คุณเครือวัลย์ จีนลอย นักวิชาการชำชาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านนาท่อม ให้ความรู้แก่สมาชิกเกี่ยวกับการวัดดัชชีมวลกาย และดัชนีมวลกายที่เหมาะสม

  • ดัชชีมวลกาย คือ ค่าความหนาของร่างกาย ใช้เป็นมาตรฐานในการประเมินภาวะอ้วนหรือผอมในผู้ใหญ่ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป ซึ่งคำนวณได้จาก การใช้น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัมและหารด้วยส่วนสูงที่วัดเป็นเมตรยกกำลังสอง ซึ่งใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย มีสูตรการคำนวณ = น้ำหนักตัว[Kg] / (ส่วนสูง[m] ยกกำลังสอง) สูตรคำนวณเหมาะสำหรับใช้ประเมินผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ประโยชน์ของการวัดค่า BMI เพื่อดูอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ตรวจสอบภาวะไขมันและความอ้วน ดังนั้นการทำให้ร่างกายอยู่ในเกณฑ์ปกติจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งกับผู้ที่ต้องการรักษาสุขภาพ

  • การออกกำลังกาย คือ การทำกิจกรรมที่ได้ออกแรงหรือเคลื่อนไหวร่างกายซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ โดยช่วยจัดระเบียบร่างกายและควบคุมอารมณ์ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งเสริมสร้างสมรรถภาพร่างกายด้านต่าง ๆ ได้แก่ ความทนทาน ความแข็งแรง การทรงตัว และความยืดหยุ่น

  • ขั้นตอนการออกกำลังกายที่ถูกวิธี

ขั้นตอนที่ 1 การอุ่นร่างกาย( Warm up) ก่อนที่จะออกกำลังกาย ต้องการอบอุ่นร่างกายก่อเช่น ถ้าเราจะออกกำลังกายด้วยการวิ่ง ก็ไม่สมควรที่จะลงวิ่งทันที่ เมื่อไปถึงสนามควรจะอุ่นร่างกาย มีอุณหภูมิสูงขึ้นก่อน ช้าๆ เช่น การเคลื่อนไหวร่างการ สะบัดแข้ง สะบัดขา แกว่งแขน วิ่งเหยาะ อยู่กับที่ ช้าๆ ชั่วระยะเวลาหนึ่งก่อน แล้วจึงออกวิ่ง ดังนั้น การอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกายจึงเป็นขั้นตอนแรกที่จะต้องกระทำ

ขั้นตอนที่ 2 เป็นขั้นตอนการออกกำลังอย่างจริงจัง การออกกำลังกายนั้นจะต้องเพียงพอ ทำให้ร่างกายเกิดการเผาไหม้อาหารในร่างกาย โดยใช้ออกซิเจนในอากาศ โดยการหายใจเข้าไปเพื่อทำให้เกิดพลังงาน จนถึงระดับหนึ่ง การที่จะออกกำลังกายได้ถึงระดับนี้ เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ออกกำลังกายจะต้องเข้าใจให้ถูกต้อง

ขั้นตอนที่ 3 เป็นขั้นตอนการผ่อนให้เย็นลง คือ เมื่อได้ออกกำลังกายตามกำหนดที่เหมาะสม ตามขั้นตอนที่ 2 แล้วควรจะค่อยๆ ผ่อนการออกกำลังกายลงที่ละน้อย แทนการหยุดการออกกำลังกายโดยทันที ทังนี้เพื่อให้เลือดที่คั่งอยู่ตามกล้ามเนื้อ ได้มีโอกาสกับคืนสู่หัวใจ

การเลือกรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ 1. กินอาหารครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย​ 2. กินข้าวเป็นอาหารหลักสลับกับอาหารประเภทแป้งอื่น ๆ เป็นบางมื้อ 3. กินพืชผักให้มาก และกินผลไม้เป็นประจำ​ 4. กินปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ​ 5. ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย​ 6. กินอาหารที่มีไขมันและน้ำมันแต่พอควร​ 7. หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีรสหวานจัดและเค็มจัด​ 8. กินอาหารที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน​ 9. งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

  • มีการวัดดัชชีมวลกายของ สมาชิก จำนวน 45 คน โดยทีม อสม. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาท่อม และได้ออกกำลังกายเต้นแอโร ร่วมกัน 30 นาที

 

  • มีสมาชิก 45 คน เรียนรู้เกี่ยวกับการวัดดัชนีมวลกาย ดัชนีมวลการที่เหมาะสม การเลือกรับประทาน และการออกกำลังการวิธีการที่ถูกต้อง
  • มีการวัดดัชนีมวลกายของสามาชิก 45 คน
  • สมาชิกออกกำลังกายร่วมกัน 30 นาที

 

ติดตามและประเมินผล จำนวน 3 ครั้ง 1 ธ.ค. 2563 10 ธ.ค. 2563

 

ติดตามประเมินผล การเปลี่ยนแปลง การออกกำลังกายและการวัดตรวจสุขภาพดัชนีมวลกาย จากการออกกำลังกาย ก่อนเริ่มออกกำลัง-หลังการออกกำลังกาย จำนวน 3 ครั้ง และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 45 คน ในการติดตามประเมินจะมีวิทยากรดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หนุนเสริมความรู้ ในเรื่องการออกกำลังกาย การออกกำลังกายอย่างน้อย 3 วัน/ต่อสัปดาห์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างเนื่องอย่าง 30 นาที/ต่อ ควบคู่กับการเลือกรับประทานอาหารลดการบริโภคแป้งและน้ำตาล กินผักผลไม้ผลในมื้ออาหารให้ได้ 400กรัม/ต่อวัน เสริมการบริโภคโปรตินเสริมกล้ามเนื้อ สมาชิกมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การออกกำลังกายของแต่ละบุคคล มีวิธีการออกกำลังกายแบบที่ใช้ได้ผลที่สามารถลดไขมัน โดยการลดอาหารที่เป็นของมันของทอด กินพักเพิ่มขึ้น ออกกำลังกายที่ได้ผลดี คือการออกกำลังกายในช่วงเช้าเป็นการดึงไขมันสะสมมาใช้พลังเผาผลาญได้เป็นอย่างดี
ติดตามประเมินผลครั้งที่ 1 วันที่ 10 ธันวามคม 2563
ติดตามประเมินผลครั้งที่ 2 วันที่ 10 มีนาคม 2564
ติดตามประเมินผลครั้งที่ 3 วันที่ 10 กรกฎาคม 2564

  • มีการวัดดัชนีมวลกายก่อนเริ่มออกกำลังกายของสมาชิก จำนวน 45 คน มีการบันทึกดัชนีมวลกาย มีผลแปลค่า BMI
    อ้วนระดับ3 จำนวนน 3 คน
    อ้วนระดับ2 จำนวน 11 คน อ้วนระดับ1 จำนวน 8 คน ปกติ จำนวน 22 คน ผอม จำนวน 1 คน

  • มีการวัดดัชนีมวลกายหลังออกกำลังกาย 6 เดือน ของสมาชิก จำนวน 45 คน มีการบันทึกดัชนีมวลกาย มีผลแปลค่า BMI
    อ้วนระดับ3 จำนวนน 3 คน ผลการเปลี่ยนแปลง 3 เท่าเดิม กับเท่าน้ำไม่เพิ่มขึ้นควบคุมการบริโภค อ้วนระดับ2 จำนวน 11 คน ผลการเปลี่ยนแปลง ลด 1 คน เท่ากับ 10 คน น้ำไม่เพิ่มขึ้นควบคุมการบริโภค อ้วนระดับ1 จำนวน 8 คน ผลการเปลี่ยนแปลง ลดลง 1 คน เท่ากับ 7 คน น้ำไม่เพิ่มขึ้นควบคุมการบริโภค ปกติ จำนวน 22 คน ผลการเปลี่ยนแปลง ปกติเพิ่มขึ้น 1 คน เท่ากับ 23 คน ควบคุมการบริโภค

  • ผลการสร้างเสริมสุขภาพของสมาชิก ของโครงการออกกำลังกาย 3 วัย ใส่ใจสุขภาพ ด้วยรำวงย้อนยุค บาสโลบและแอโรบิค
    ต้องมีการปรับปรุงจำนวน 3 คน
    พัฒนาจำนวน 19 คน
    ปกติจำนวน 23 คน
    มีการเปลี่ยนแปลงผลบันทึกดัชนีมวลกายที่ชัดเจน 3 คน

 

  • มีการติดตามประเมินผลการวัดดัชนีมวลการก่อน-หลัง การออกกำลังกายของสมาชิก จำนวน 45 คน
  • มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสมาชิก รูปแบบการออกกำลังกาย การเลือกรับประทานอาหาร
  • มีผลแปลดัชนีมวลกาย

 

กิจกรรมออกกำลังกาย 2 ธ.ค. 2563 2 ธ.ค. 2563

 

กิจกรรมการออกกำลังกายโครงการ ออกกำลังกาย 3 วัย ใส่ใจสุขภาพ ด้วยการรำวงย้อนยุค บาสโลบและแอโรบิค มีการออกกำลังกายเป็นประจำที่ ณ ศาลาหมู่บ้านหมู่ที่ 6 บ้านนาท่อม วันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 18.00 - 19.00 น. สมาชิกเข้าร่วมออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอการออกกำลังกาย ใช้ เวลา ประมาณ 30-45 นาที มีการออกกำลังการด้วยการเต้นแอโรบิคเป็นหลัก ตามความต้องการของสมาชิกด้วยการออกกำลังกายแบบรำวงและบาสโลบ มี ผู้นำเต้นสลับสับเปลี่ยนกันไป ตามแต่สะดวกและตามความถนัด การออกกำลังกายของกลุ่มนอกจากออกกำลังกาย แอโรบิค รำวงย้อนยุค บาสโบล เป็นประจำต่อเนื่องแล้ว ยังมีการออกกำลังกายแบบเดิน /วิ่ง เป็นประจำในวันทุกอาทิตย์ และมีการร่วมกันออกแสดงการเต้นแอโร การรำบาสโลบ ในเทศกาลต่างๆ ที่ทางชุมชนจัดหรือต่างหมู่บ้านที่มีการเชิญในงานบุญต่างๆ นอกจากการออกกำลังกายเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพของสมาชิกแล้ว ยังมีการสร้างความเปลี่ยนแปลงทางด้านสุขภาพจิต ด้วยการพบปะพูดคุยถามความเป็นอยู่ซึ่งกันและกัน ออกงานแสดงโชว์ทำให้เห็นถึงความสัมพันธ์ในชุมชน การออกกำลังกายของกลุ่ม มีสมาชิกทั้ง 3 วัย มีเด็กเยาวชน กลุ่มคนทำงาน ผู้สูงอายุ ที่ร่วมออกกำลังกาย (ออกกำลังกายจำนวน 60 ครั้ง ตามจำนวนระบุในโครงการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และยังคงดำเนินการออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆต่อไป)

 

  • สมาชิกกลุ่มออกกำลังกาย ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง
  • มีการสร้างความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชนเพิ่มขึ้นในการนำเอาการออกกำลังแบบ รำวง บาสโลบ มาออกแสดงตามงานเทศกาลต่างๆของชุมชน ได้ ทั้งเรื่องสุขภาพทางกายและสุขภาพทางใจ

 

กิจกรรมสร้างแกนนำในการออกกำลังกาย 10 ธ.ค. 2563 23 ก.ย. 2564

 

กิจกรรมสร้างแกนนำในการออกกำลังกาย ในรูปแบบการออกกำลังกายเต้นแอโรบิค การรำวงย้อนยุค บาสโลบ ในการออกกำลังกายของกลุ่มเป็นประจำ อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดสมาชิกที่มีทักษะและความถนัดในการเป็นผู้นำได้อย่างน้อย 2 คน
1. นางทิวาพร บริรักษ์
2. นางประภาพร เฉลาชัย
ทั้ง 2 คน สามารถเป็นผู้นำในการออกกำลังกาย และเป็นทีมสันทนาการกลุ่ม และเป็นแกนนำของชุมชน

 

เกิดแกนนำในการออกกำลังกาย มีทักษะความเป็นผู้นำในชุมชน จำนวน 2 คน