กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการออกกำลังกาย 3 วัย ขยับกายใส่ใจสุขภาพ ด้วยรำวงย้อนยุค บาสโลบและแอโรบิค

ติดตามและประเมินผล จำนวน 3 ครั้ง10 ธันวาคม 2563
10
ธันวาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย กลุ่มออกกำลังกายตำบลนาท่อม
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ติดตามประเมินผล การเปลี่ยนแปลง การออกกำลังกายและการวัดตรวจสุขภาพดัชนีมวลกาย จากการออกกำลังกาย ก่อนเริ่มออกกำลัง-หลังการออกกำลังกาย จำนวน 3 ครั้ง และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 45 คน ในการติดตามประเมินจะมีวิทยากรดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หนุนเสริมความรู้ ในเรื่องการออกกำลังกาย การออกกำลังกายอย่างน้อย 3 วัน/ต่อสัปดาห์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างเนื่องอย่าง 30 นาที/ต่อ ควบคู่กับการเลือกรับประทานอาหารลดการบริโภคแป้งและน้ำตาล กินผักผลไม้ผลในมื้ออาหารให้ได้ 400กรัม/ต่อวัน เสริมการบริโภคโปรตินเสริมกล้ามเนื้อ สมาชิกมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การออกกำลังกายของแต่ละบุคคล มีวิธีการออกกำลังกายแบบที่ใช้ได้ผลที่สามารถลดไขมัน โดยการลดอาหารที่เป็นของมันของทอด กินพักเพิ่มขึ้น ออกกำลังกายที่ได้ผลดี คือการออกกำลังกายในช่วงเช้าเป็นการดึงไขมันสะสมมาใช้พลังเผาผลาญได้เป็นอย่างดี
ติดตามประเมินผลครั้งที่ 1 วันที่ 10 ธันวามคม 2563
ติดตามประเมินผลครั้งที่ 2 วันที่ 10 มีนาคม 2564
ติดตามประเมินผลครั้งที่ 3 วันที่ 10 กรกฎาคม 2564

  • มีการวัดดัชนีมวลกายก่อนเริ่มออกกำลังกายของสมาชิก จำนวน 45 คน มีการบันทึกดัชนีมวลกาย มีผลแปลค่า BMI
    อ้วนระดับ3 จำนวนน 3 คน
    อ้วนระดับ2 จำนวน 11 คน อ้วนระดับ1 จำนวน 8 คน ปกติ จำนวน 22 คน ผอม จำนวน 1 คน

  • มีการวัดดัชนีมวลกายหลังออกกำลังกาย 6 เดือน ของสมาชิก จำนวน 45 คน มีการบันทึกดัชนีมวลกาย มีผลแปลค่า BMI
    อ้วนระดับ3 จำนวนน 3 คน ผลการเปลี่ยนแปลง 3 เท่าเดิม กับเท่าน้ำไม่เพิ่มขึ้นควบคุมการบริโภค อ้วนระดับ2 จำนวน 11 คน ผลการเปลี่ยนแปลง ลด 1 คน เท่ากับ 10 คน น้ำไม่เพิ่มขึ้นควบคุมการบริโภค อ้วนระดับ1 จำนวน 8 คน ผลการเปลี่ยนแปลง ลดลง 1 คน เท่ากับ 7 คน น้ำไม่เพิ่มขึ้นควบคุมการบริโภค ปกติ จำนวน 22 คน ผลการเปลี่ยนแปลง ปกติเพิ่มขึ้น 1 คน เท่ากับ 23 คน ควบคุมการบริโภค

  • ผลการสร้างเสริมสุขภาพของสมาชิก ของโครงการออกกำลังกาย 3 วัย ใส่ใจสุขภาพ ด้วยรำวงย้อนยุค บาสโลบและแอโรบิค
    ต้องมีการปรับปรุงจำนวน 3 คน
    พัฒนาจำนวน 19 คน
    ปกติจำนวน 23 คน
    มีการเปลี่ยนแปลงผลบันทึกดัชนีมวลกายที่ชัดเจน 3 คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีการติดตามประเมินผลการวัดดัชนีมวลการก่อน-หลัง การออกกำลังกายของสมาชิก จำนวน 45 คน
  • มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสมาชิก รูปแบบการออกกำลังกาย การเลือกรับประทานอาหาร
  • มีผลแปลดัชนีมวลกาย