กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสื่อสารเรื่องเพศ
รหัสโครงการ 64-L5310-1-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขาว
วันที่อนุมัติ 9 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 31,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายดำรงค์ คงแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ นายสุทธินันท์ มานะกล้า
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 12 เม.ย. 2564 30 ก.ย. 2564 31,000.00
รวมงบประมาณ 31,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเยาวชน (อายุ 10-15 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงการมีเพศสัมพันธ์
10.00
2 ร้อยละของเยาวชน (อายุ 16-19 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงการมีเพศสัมพันธ์
6.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสำรวจความเห็นวัยรุ่นไทยว่าคิดอย่างไรกับพ่อแม่ พบว่าร้อยละ 90 ยืนยันว่า “แม่” คือบุคคลที่สำคัญที่สุดในชีวิต แต่ก็ยอมรับว่าตนเองมีความลับกับแม่เรื่องความรัก และเรื่องการคบเพื่อนต่างเพศมากที่สุด ดังนั้น วัยรุ่นไทยส่วนใหญ่จึงไม่สื่อสารกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง ทั้งที่พ่อแม่คือคนที่วัยรุ่นอยากพูดคุย ปรึกษาเมื่อมีปัญหาในเรื่องความรัก เรื่องแผนมากที่สุด อาจเพราะกลัวพ่อแม่เสียใจกับพฤติกรรมของตน กลัวถูกดุด่าว่ากล่าวหรือไม่ชอบให้นำพฤติกรรมของตนไปเปรียบเทียบกับครอบครัวอื่น หรือกระทั่งเปรียบเทียบกับสมัยที่พ่อแม่เป็นวัยรุ่นก็ตาม ดังนั้นการส่งเสริมการสื่อสารระหว่างพ่อแม่ ผู้ปกครองกับบุตรหลานเพื่อเสริมสร้างบทบาทครอบครัวในการส่งเสริมสุขภาวะทางเพศในเยาวชน โดยมุ่งให้พ่อแม่ที่ทีลูกวัยรุ่น มีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีในเรื่องเพศ และมีทักษะในการสื่อสารเรื่องเพศอย่างสร้างสรรค์ภายในครอบครัว เพราะจากผลการวิจัยพบว่าวัยรุ่นไทยส่วนใหญ่เลือก “เพื่อน” เป็นที่ปรึกษาอันดับแรกเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องเพศ การเลือกที่จะไม่สื่อวารกับพ่อแม่ในเรื่องเพศ เรื่องแฟน หรือเรื่องความรัก ส่งผลให้วัยรุ่นไทยมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และกลายเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการรับและแพร่เชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเชื้อเอชไอวี ขณะที่มีรายงานวิจัยว่าการพูดคุยเรื่องเพศในครอบครัวส่งผลต่อการชะลอการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น และช่วยให้วัยรุ่นได้รับข้อมูล ความรู้ที่ถูกต้องเมื่อพร้อมจะมีเพศสัมพันธ์ จึงเห็นว่าพ่อแม่คือช่องทางสำคัญในการช่วยส่งเสริม สนับสนุนการแก้ปัญหาเอดส์ในเยาวชนแต่พ่อแม่ส่วนใหญ่มักนึกไม่ถึงว่าลูกของตนมีประสบการณ์หรือมีพฤติกรรมทางเพศแล้ว ขณะเดียวกัน วิธีการสื่อสารเรื่องเพศระหว่างพ่อแม่กับลูกวัยรุ่น ส่งผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น เพราะมีการวิจับพบว่าแม้จะมีการพูดคุยกันบ่อยในครอบครัว แต่รูปแบบการพูดคุยของครอบครัวที่ลูกวัยรุ่นต้องจำยอมเห็นด้วยกับพ่อแม่ทุกเรื่องในระหว่างการพูดคุย วัยรุ่นกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องเพศสูงกว่าครอบครัวที่พ่อแม่ที่เปิดโอกาสให้ลูกแสดงออกว่าไม่เห็นด้วยในบางเรื่องระหว่างการสนทนา และเมื่อเปรียบเทียบกับครอบครัวที่มีการพูดคุยอย่างตรงไปตรงมา ลูกวัยรุ่นในครอบครัวกลุ่มหลังมีแนวโน้มที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องเพศน้อยกว่าสองกลุ่มแรก ด้วยเหตุนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขาว จึงจัดทำโครงการ “การสื่อสารเรื่องเพศของผู้ปกครองต่อบุตรหลายวัยรุ่น เพื่อป้องกันโรคเอดส์และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์” เพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางเพศในเยาวชนอันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่เด็กและเยาวชนในพื้นที่ตำบลเขาขาว และแก้ปัญหาเยาวชนท้องก่อนวัยอันควรอย่างเป็นรูปธรรม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลด ภาวะเสี่ยงการมีเพศสัมพันธ์

เพื่อให้ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญในการสื่อสารของพ่อแม่/ผู้ดูแลต่อบุตรหลานที่เป็นวัยรุ่น เพื่อให้ผู้ปกครองและ อสม. เป็นตัวแทนได้ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรื่องเพศ เพื่อให้เกิดเครือข่ายผู้ปกครองและ อสม. แกนนำในชุมชน ที่ผ่านการสนับสนุนข้อมูล เนื้อหาและวิธีการเกี่ยวกับการสื่อสาร เรื่องเพศเพื่อป้องกันโรคเอดส์และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในกลุ่มวัยรุ่น

10.00 5.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 31,000.00 0 0.00
1 ก.พ. 64 - 30 ก.ย. 64 อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย 0 21,750.00 -
1 ก.พ. 64 - 30 ก.ย. 64 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กิจกรรมกลุ่มแก่เยาวชน 0 9,250.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.พ่อแม่ ผู้ปกครองเกิดการวิเคราะห์ตนเองและสิ่งแวดล้อม และเห็นช่องว่างทางความคิดและวิถีชีวิตระหว่างคนต่างรุ่น และผลที่ตามมา 2.พ่อแม่ ผู้ปกครองเกิดทัศนะที่เปิดกว้างในเรื่องเพศวิถี และรับฟังมากขึ้น จากการได้เห็นมุมมองที่แตกต่างหลากหลาย และลดการตัดสิน คุณค่า ของแนวคิดหรือการปฏิบัติที่ต่างจากที่ตนยึดถือ 3.พ่อแม่ ผู้ปกครองเกิดทักษะการสื่อสารที่รับฟังและเรียนรู้ระหว่างกัน ระหว่างผู้ใหญ่กับวัยรุ่น และสะดวกใจที่จะพูดถึงเรื่องเพศมากกว่าเดิม 4.เกิดสัมพันธภาพที่ดีขึ้นในครอบครัวนำไปสู้การป้องกันปัญหาด้านต่างๆ ของเยาวชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2563 11:45 น.