กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการเพิ่มการเข้าถึงบริการคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2564

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเพิ่มการเข้าถึงบริการคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-50110-1-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละกาโปรื
วันที่อนุมัติ 4 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 พฤศจิกายน 2563 - 26 กุมภาพันธ์ 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 26 กุมภาพันธ์ 2564
งบประมาณ 84,485.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรุสมีณี ดอเลาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.872,101.43place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 4 พ.ย. 2563 26 ก.พ. 2564 84,485.00
รวมงบประมาณ 84,485.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในหญิงไทย พบมีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ 8,200 ราย พบมากที่สุดระหว่างอายุ 45-50 ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม อัตราการอยู่รอด 5 ปี ประมาณร้อยละ 60 จึงมีผู้ป่วยสะสมจำนวนมาก คาดประมาณว่าจะมีผู้ป่วยพบรายใหม่และผู้ป่วยเก่าที่ต้องติดตามทำการดูแลรักษาอยู่ไม่น้อยกว่า 600,000 คนทั่วประเทศ การทำการตรวจคัดกรองมะเร็ง  เต้านมและมะเร็งปากมดลูกอย่างต่อเนื่องจะสามารถควบคุมการดำเนินของโรคได้ ซึ่งการคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยวิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเองจะสามารถค้นหาความผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว ส่วนการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยการทำ Pap Smear มีผลการศึกษาวิจัยทั่วโลกว่าสามารถลดอุบัติการณ์ และอัตราตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้มากกว่าร้อยละ 80 ถ้าทำได้อย่างมีคุณภาพและมีความครอบคลุมกลุ่มประชากรเป้าหมายทั้งหมดได้สูง จากผลการศึกษาในหลายประเทศแสดงให้เห็นว่าการตรวจคัดกรองด้วยการทำ Pap Smear ให้ครอบคลุมกลุ่มสตรีเป้าหมายทั้งหมด มีความสำคัญต่อการลดอัตราการเกิดและตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกมากกว่าความถี่ที่ได้รับการตรวจแต่ไม่ครอบคลุมประชากรทั้งหมด
      ตำบลตะโละกาโปร์ หญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 30 – 60 ปี จำนวน 1,447 คน ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก แล้วในปี 2563 จำนวน 300 คน คิดเป็นร้อยละ 20.73 ในปี 2564 ต้องได้รับการตรวจคัดกรอง โรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก เพิ่มขึ้นอีก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละกาโปร์ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้แก่กลุ่มสตรีดังกล่าวจึงได้ จัดทำโครงการเพิ่มการเข้าถึงบริการคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกโดยการค้นหาหญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 30 – 60 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงค้นพบในระยะเริ่มแรกเข้ารับการบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เพื่อให้การรักษาและส่งต่อได้อย่างทันท่วงที ส่งผลต่อการมีสุขภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 หญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 30 – 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม ร้อยละ 80

 

0.00
2 หญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 30 – 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก เพิ่มขึ้นหรือมากกว่าร้อยละ 20

 

0.00
3 เพื่อลดอัตราการป่วย/ตาย ด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกโรคมะเร็งเต้านม

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 368 84,485.00 4 84,485.00
4 พ.ย. 63 - 26 ก.พ. 64 กิจกรรม ที่ 1 จัดประชุมชี้แจงโครงการและกลุ่มเป้าหมายแก่อาสาสมัครสาธารณสุขต้านภัยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม และผู้ดำเนินการ เพื่อสร้างความตระหนักชักชวนให้สตรีกลุ่มเป้าหมายมารับการตรวจ 68 10,850.00 10,850.00
4 พ.ย. 63 - 26 ก.พ. 64 กิจกรรม ที่ 2 ประชาสัมพันธ์ เชิญชวนเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม โดย แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุข กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มสตรี กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 0 0.00 0.00
4 พ.ย. 63 - 26 ก.พ. 64 กิจกรรมที่ 3 จัดประชุมเชิงปฎิบัติการแก่กลุ่มเป้าหมายหญิงวัยเจริญพันธ์ุ/วัยทำงาน ให้ความรู้เรื่อง มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม จำนวน 300 คน โดยแบ่งเป็น 5 รุ่นๆละ 50 คน เป็นเวลา 6 วัน 300 22,500.00 22,500.00
4 พ.ย. 63 - 26 ก.พ. 64 กิจกรรมที่ 4 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้บริการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพทุกอังคารและวันศุกร์ ออกตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในชุมชนตามแผนปฏิบัติงาน 0 51,135.00 51,135.00

1.ประชุมชี้แจงโครงการ/กิจกรรม แก่ทีม PAP โซน และผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบ 2.ประชาสัมพันธ์โครงการ 3.สำรวจ จัดทำทะเบียนกลุ่มสตรีอายุ 30 –60 ปี 4.กิจกรรม อบรมให้ความรู้ โดยมีเนื้อหาดังนี้ - ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม - การตรวจ ค้นหา โรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม - แนวทางการป้องกัน ลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง - ฝึกทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง       5. กิจกรรม ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมาย
6. ประสานทีม PAP เพื่อขอสนับสนุนบุคลากร,อุปกรณ์,สถานที่และออกตรวจนอกสถานที่ ในชุมชน
7. ออกติดตามเชิงรุก ค้นหากลุ่มเป้าหมาย โดย อสม. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูก
  - ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยกลุ่มเป้าหมายเปลี่ยนผ้าถุง ที่เตรียมไว้       8. ประเมินผลการดำเนินงาน โดย - แบบทดสอบความรู้ก่อน-หลังการอบรมฯ - ทะเบียนการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก - แบบประเมินทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง       9. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแบบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ไม่พบผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกในปี 2564       2. ประชาชน ชุมชนตระหนักถึงการดูแลสุขภาพด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกก่อนเจ็บป่วย       3. ประชาชนกลุ่มวัยทำงานมีสุขภาพที่ดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2563 12:21 น.