โครงการควบคุมป้องกันการระบาดโรคไข้เลือดออกตำบลตะโละกาโปร์ ปีงบประมาณ 2564
ชื่อโครงการ | โครงการควบคุมป้องกันการระบาดโรคไข้เลือดออกตำบลตะโละกาโปร์ ปีงบประมาณ 2564 |
รหัสโครงการ | 64-50110-5-7 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละกาโปร์ |
วันที่อนุมัติ | 4 พฤศจิกายน 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2564 |
งบประมาณ | 29,450.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอับดุลเลาะ ตาเละ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.872,101.43place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ม.ค. 2564 | 30 ก.ย. 2564 | 29,450.00 | |||
รวมงบประมาณ | 29,450.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคประจำถิ่นของประเทศไทยที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและมักจะระบาดในช่วงฤดูฝน การระบาดของโรคไข้เลือดมักขึ้นอยู่กับสภาพดิน ฟ้า อากาศและความพร้อมในการเตรียมการรับสถานการณ์ของโรค ซึ่งในปัจจุบันไม่สามารถคาดดการณ์ได้ว่าแนวโน้มการะบาดของโรคจะเกิดขึ้นในปีใด
จังหวัดปัตตานีถือเป็นนโยบายสำคัญอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดที่จะลดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาสาธารณสุขของจังหวัดปัตตานีอีกต่อไป โดยมุ่งเน้นความพร้อมในการป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดของโรค และดำเนินการระงับเหตุรำคาญและความชุกของชุมของยุงลายในพื้นที่อย่างต่อเนื่องในรูปแบบการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวแก่ และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออก พื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ย้อนหลัง 5 ปีพบว่า ปี พ.ศ. 2559 จำนวนผู้ป่วย 26 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 331.42 ต่อแสนประชากร ปี พ.ศ. 2560 จำนวนผู้ป่วย 5 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 63.73 ต่อแสนประชากร ปี พ.ศ. 2561 จำนวนผู้ป่วย 61 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 777.57 ต่อแสนประชากร ปี พ.ศ. 2562 จำนวนผู้ป่วย 49 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 624.60 ต่อแสนประชากร
ปี พ.ศ.2563 จำนวนผู้ป่วย 13 คน คิดเป็นอัตราป่วย 160.23 ต่อแสนประชากร จะเห็นได้ว่าอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกจะขึ้นลงเป็นเส้นกราฟ ซึ่งมีแนวโน้นที่จะเพิ่มจำนวนผู้ป่วยด้วยไข้เลือดออกขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากความเคร่งครัดและดำเนินงานตามโครงการในปีที่ผ่านมา สามารถช่วยลดอัตราป่วยลงได้ แต่อย่างไรก็ตามการคาดสถานการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วได้และปัจจุบันโรค ไข้เลือดออกเป็น โรคติดต่อที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกฤดูกาล โดยเฉพาะหากมีแหล่งหรือสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเพาะ พันธ์ยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรค ดังนั้นการควบคุมป้องกันและการเฝ้าระวังไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออกจึงเป็นสิ่งสำคัญใน ลดอัตราการป่วย โดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากหลายฝ่าย ทั้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทีม SRRT อาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน และประชาชน ในการช่วยกันควบคุมป้องกันโรค อาทิ เช่น ด้วยการทำลายแหล่ง เพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย คว่ำภาชนะที่เป็นแหล่งน้ำขัง ปิดฝาภาชนะที่ใส่น้ำให้มิดชิด ใส่ปูนแดงกำจัดลุกน้ำยุงลาย รวมถึงการป้องกันไม่ให้โดนยุงกัด โดยการใช้สมุนไพรพื้นบ้าน เป็นต้น และควรเฝ้าระวัง โดยการสำรวจ แหล่ง เพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายเป็นประจำเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก และการควบคุมไม่ให้เกิดการระบาดของโรค กรณีพบผู้ป่วยในพื้นที่
โรงพยาบาลส่งเสิรมสุขภาพตำบลตะโละกาโปร์ จึงได้จัดทำโครงการควบคุมป้องกันการระบาดโรคไข้เลือดออกขึ้น เพื่อให้การดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกมีความยั่งยืน โดยสนับสนุนให้ชุมชนสามารถเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ด้วยตเอง ให้ชุมชนพัฒนาศักยภาพ มีความเข้มแข็ง สามารถวิเคราะห์ปัญหา วางแผน ดำเนินการแก้ไขปัญและประเมินผลการดำเนินการได้ด้วยตนเอง รวมถึงสามารถการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคได้ระดับหนึ่ง แต่ในพื้นที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกสูง จำเป็นต้องมีมาตรการดำเนินการที่เข้มงวด เพื่อเร่งรัดการควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนกกลยุทธ์ สร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินการลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและทำลายตัวเต็มวัย เพื่อตัดวงจรชีวิตพาหะนำโรคให้ลดลงมากที่สุด ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิ์ภาพการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในระดับพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อพัฒนาความพร้อมของระบบการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์ให้สามารถควบคุมการระบาดของโรคได้
|
0.00 | |
2 | เพื่อให้ประชาชนในเขตพื้นที่มีความรู้และเกิดความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
|
0.00 | |
3 | เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
|
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 150 | 29,450.00 | 4 | 29,450.00 | 0.00 | |
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 | กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงแนวทางในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก | 65 | 8,725.00 | ✔ | 8,725.00 | 0.00 | |
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 | กิจกรรมที่ 2 สำรวจพร้อมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและการประชาสัมพันธ์ | 65 | 8,375.00 | ✔ | 8,375.00 | 0.00 | |
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 | กิจกรรมที่ 3 ค่าวัสดุในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก | 0 | 10,350.00 | ✔ | 10,350.00 | 0.00 | |
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 | กิจกรรมที่ 4 ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทีม SRRT ตำบล และทีม SRRT หมู่บ้าน | 20 | 2,000.00 | ✔ | 2,000.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 150 | 29,450.00 | 4 | 29,450.00 | 0.00 |
- จัดทำโครงการเพื่อเสนออนุมัติ 2. ประชุมชี้แจงการดำเนินงานให้กับเจ้าหน้าที่ อสม.และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อทราบแนวทางการดำเนินงานเร่งรัดควบคุมโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพ
- มีการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
- มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้สุขศึกษา ประชาสัมพันธ์เรื่องโรคไข้เลือดออก
- ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ชุมชน โรงเรียน สถานประกอบการ มัสยิด ฯลฯ เพื่อดำเนินการป้องกันโรคก่อนการระบาดและดำเนินการควบคุมโรคร่วมกับเจ้าหน้าที่ ในกรณีที่เกิดการระบาดของโรค
- ชุมชนที่มีผู้ป่วยได้รับการควบคุมโรคภายใน 24 ชั่วโมงภายหลังได้รับการแจ้งข่าว
- รวบรวมข้อมูลและสรุปผลการดำเนินงาน
1.ประชาชนมีความรู้ ความสามารถในการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออก 2.ประชาชนให้ความร่วมมือในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย 3.ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในตำบลตะโละกาโปร์
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2563 13:34 น.