กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลกระแสสินธุ์


“ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน ”

ตำบลกระแสสินธุ์ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นางฐิตาภา โนภาส

ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน

ที่อยู่ ตำบลกระแสสินธุ์ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 60-L5162-1-04 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2560 ถึง 30 กันยายน 2560


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกระแสสินธุ์ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลกระแสสินธุ์ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลกระแสสินธุ์ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 60-L5162-1-04 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มิถุนายน 2560 - 30 กันยายน 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 35,520.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลกระแสสินธุ์ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ตามนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ช่วยคนไทยห่างไกลโรคมีเป้าหมายสำคัญคือการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชน และลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพระยะยาวโดยนำกระบวนการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคโดยเน้นการจัดการบริการเชิงรุก
ปัจจุบันโรคภัยไข้เจ็บนับเป็นปัญหาสำคัญยิ่งต่อสุขภาพทั้งสาเหตุจากโรคติดต่อ โรคทางพันธุกรรมและโรคที่เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสมเช่นโรคอ้วนเบาหวานความดันโลหิตสูงมะเร็งในอวัยวะต่างๆถุงลมโป่งพองกระเพาะอาหารอักเสบ ฯลฯโรคเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพกาย จิตใจและสังคมเริ่มตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงขั้นรุนแรงและอาจก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งเวลาเศรษฐกิจและบางครั้งอาจรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตการตรวจคัดกรองสุขภาพอย่างต่อเนื่องของประชาชนเพื่อค้นหาความเสี่ยงและภาวการณ์เจ็บป่วยเป็นอีกกลวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ทราบถึงสถานะด้านสุขภาพที่แท้จริงของประชาชนและช่วยในการวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาความเจ็บป่วยของประชาชน

จากข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระแสสินธุ์ พบว่า ปี 2557-2559ตำบลกระแสสินธุ์ มีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่เพิ่มขึ้น จำนวน12,9 และ 4 คน ตามลำดับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่เพิ่มขึ้น จำนวน 30,14และ 6 คนตามลำดับผลการคัดกรองภาวะเสี่ยงประชากรอายุ35 ปีขึ้นไป ปี 2557-2559พบว่า ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 265,127 และ217 คนตามลำดับ มีภาวะเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 261, 246 และ 197 คนตามลำดับ ปี 2560 ได้คัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงผู้ที่มี อายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 1,056 คน พบว่าผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 165 คนมีภาวะเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 131 คน ซึ่งมีแนวโน้มลดลง ถือเป็นความสำเร็จในการดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน เพื่อได้รับทราบภาวะสุขภาพของตนเองและมีความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลตนเองอย่างเหมาะสมและได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างเหมาะสมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปโดยอาศัยความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วนและการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อการมีสุขภาพดี

ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระแสสินธุ์เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคอ้วนตำบลกระแสสินธุ์ ปี 2560 ขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อพัฒนาระบบบริการในการส่งเสริมสุขภาพการป้องกันควบคุมโรคการดูแลรักษา และให้บริการที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้หมาย
  2. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัว ลดภาวะเสี่ยงในการเกิดโรคที่ป้องกันได้และโรคเรื้อรังเช่นโรคอ้วน โรคความดันโรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดสมองได้
  3. เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนในการดำเนินการเฝ้าระวังและจัดการลดเสี่ยงลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
  4. เพื่อสร้างเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อการมีสุขภาพดี โดยวิธีเพื่อนช่วยเพื่อนในชุมชน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 413
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจในพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสม
    2. กลุ่มเสี่ยงสามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปปฏิบัติเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยงต่อโรค ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน ของตนเองและบุคคลในครอบครัว
    3. จำนวนกลุ่มเสี่ยงลดลง กลับไปเป็นกลุ่มปกติไม่น้อยร้อยละ 50
    4. มีเครือข่ายการเรียนรู้สุขภาพดีเกิดขึ้นในชุมชนและมีการติดตามดูแลกลุ่มเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    ผลการดำเนินงานโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ๔๑๓ คน เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ๑๙๖ คน กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ๒๑๗ คน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้ คือ มีพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหารที่เหมาะสม มีความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพและกิจกรรมครายเครียด มีทักษะในการออกกำลังกายในแบบต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ๑๙๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๙.๔๙ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ๒๐๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๕.๘๕

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อพัฒนาระบบบริการในการส่งเสริมสุขภาพการป้องกันควบคุมโรคการดูแลรักษา และให้บริการที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้หมาย
    ตัวชี้วัด : 1. คลินิก DPAC และ NCD ในรพ./รพ.สต. ผ่านเกณฑ์คุณภาพ (>ร้อยละ 70) 2. ผู้ป่วยDM/HT ได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี (>ร้อยละ 60) 3. ร้อยละของผู้ป่วย DM ที่ควบคุมระดับนาตาลในเลือดได้ดีไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ผู้ป่วย HT ที่ควบคุมความดันโลหิตได้ดี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 4. ผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนได้รับการดูแลรักษาและส่งต่อทุกราย

     

    2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัว ลดภาวะเสี่ยงในการเกิดโรคที่ป้องกันได้และโรคเรื้อรังเช่นโรคอ้วน โรคความดันโรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดสมองได้
    ตัวชี้วัด : 1. กลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (>ร้อยละ 60) 2. กลุ่มเสี่ยง DM/HT ที่เข้ารับการปรับเปลี่ยน สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ (>ร้อยละ 30)

     

    3 เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนในการดำเนินการเฝ้าระวังและจัดการลดเสี่ยงลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
    ตัวชี้วัด : 1. มีหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมฯต้นแบบ(ระดับดีมากขึ้นไป) หมู่บ้านใหม่อย่างน้อยอำเภอละ 1 หมู่บ้าน

     

    4 เพื่อสร้างเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อการมีสุขภาพดี โดยวิธีเพื่อนช่วยเพื่อนในชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1. มีหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมฯต้นแบบ(ระดับดีมากขึ้นไป) หมู่บ้านใหม่อย่างน้อยอำเภอละ 1 หมู่บ้าน

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 413
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 413
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาระบบบริการในการส่งเสริมสุขภาพการป้องกันควบคุมโรคการดูแลรักษา และให้บริการที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้หมาย (2) เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัว ลดภาวะเสี่ยงในการเกิดโรคที่ป้องกันได้และโรคเรื้อรังเช่นโรคอ้วน โรคความดันโรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดสมองได้ (3) เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนในการดำเนินการเฝ้าระวังและจัดการลดเสี่ยงลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (4) เพื่อสร้างเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อการมีสุขภาพดี โดยวิธีเพื่อนช่วยเพื่อนในชุมชน

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน จังหวัด สงขลา

    รหัสโครงการ 60-L5162-1-04

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางฐิตาภา โนภาส )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด