กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างสุขภาพจิตแจ่มใส ห่างไกลโรคซึมเศร้า
รหัสโครงการ 64-L2981-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 2
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 31 มีนาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 19,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอารียะ เพ็งมูซอ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลก้อเดช โต๊ะยะลา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงโรคซึมเศร้า
60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โลกปัจจุบันการปฏิสัมพันธ์ที่น้อยมาก เนื่องจากสังคมที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว สภาพเศรษฐกิจทำให้บุคคลมีวิถีชีวิตที่ต้องเร่งรีบแก่งแย่งแข่งขันบวกกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบันยุคที่เกิดการเปรียบเทียบตลอดเวลาความมั่นคงในชีวิตคู่ลดน้อยลง สิ่งเร้าใจเข้ามารอบด้าน ส่งผลให้จิตใจผู้คนมีความเปราะบางมากขึ้น ความเครียด เท่ากับ ความกดดัน เท่ากับ ความวิตกกังวล เท่ากับ ความเจ็บป่วย ความผิดหวังสูญเสีย หรือภาวการณ์ว่างงานเป็นต้น เมื่อความคิดทัศนคติการตัดสินใจ การมองโลกทุกสิ่งทุกอย่างจึงเปลี่ยนไปจนไม่สามารถบังคับความคิดตัวเองได้ไม่รู้ว่าจะดึงตัวเองออกจากภาวะนี้ได้อย่างไร เหตุผลเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อวุฒิภาวะทางอารมณ์ของโรคซึมเศร้าเป็นความผิดปกติทางสมองที่มีผลกระทบต่อความนึกคิดความรู้สึกพฤติกรรมและสุขภาพกายที่สามารถเกิดขึ้นได้ต่อทุกคนทุกกลุ่มวัยทุกสาขาอาชีพ หากไม่สามารถจัดการกับความเครียดและความวิตกกังวลก็จะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตที่รุนแรงได้ ภาวะโรคซึมเศร้าเป็นโรคจิตเวชประเภทหนึ่งจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งการร่างกาย จิตใจ อารมณ์ อันจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และคนรอบข้าง รวมทั้งเป็นภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาของภาครัฐ นอกจากนี้หากเป็นเรื้อรังจะทำให้ผู้ป่วยมีความคิดทำร้ายตนเองคนรอบข้าง และฆ่าตัวตายในที่สุด ดังนั้นปัญหาด้านสุขภาพจิตเป็นภัยเงียบที่คุกคามสุขภาพของประชาชน อยู่ใกล้ตัวเรากว่าที่คิด กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุขเผยภาวะนี้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา คนไทยมีแนวโน้มป่วยซึมเศร้าเพิ่มมากขึ้น
ฉะนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยงโรคซึมเศร้าในชุมชน อาจก่อให้เกิดการสูญเสียของคนพื้นที่ ทีมงานอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 2 บ้านกล้วย ตำบลนาประดู่ ได้เล็งเห็นและตระหนักถึงปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนเป็นปัญหาสำคัญ จึงได้จัดทำโครงการ สร้างสุขภาพจิตแจ่มใส ห่างไกลโรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ร่างกายตนเอง และผู้อื่น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงโรคซึมเศร้าลดลง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงโรคซึมเศร้าลดลง

60.00 30.00
2 เพื่อให้ประชาชนผู้เข้าอบรมได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้ามากขึ้น

ร้อยละประชาชนทีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า

0.00 80.00
3 เพื่อให้ประชาชนผู้เข้าอบรมได้ทักษะ แนวคิด ตระหนักรู้ตนเอง ครอบครัว สามารถดำเนินชีวิตได้สอดคล้องและกลมกลืนกับตนเอง ผู้อื่น และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นสุขมากขึ้น

ร้อยละประชาชนผู้เข้าอบรมได้ทักษะ แนวคิด ตระหนักรู้ตนเอง ครอบครัว สามารถดำเนินชีวิตได้สอดคล้องและกลมกลืนกับตนเอง ผู้อื่น และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นสุข

0.00 80.00
4 เพื่อทำการคัดกรองและค้นหาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าประชาชนในพื้นที่

ร้อยละประชาชนได้รับการคัดกรองและค้นหาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

0.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงโรคซึมเศร้าลดลง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้ประชาชนผู้เข้าอบรมได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้ามากขึ้น

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อให้ประชาชนผู้เข้าอบรมได้ทักษะ แนวคิด ตระหนักรู้ตนเอง ครอบครัว สามารถดำเนินชีวิตได้สอดคล้องและกลมกลืนกับตนเอง ผู้อื่น และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นสุขมากขึ้น

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : เพื่อทำการคัดกรองและค้นหาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าประชาชนในพื้นที่

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

2 พ.ย. 63 - 30 ก.ย. 64 อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้เรื่องสร้างสุขภาพจิตใจแจ่มใส ห่างไกลโรคซึมเศร้า 15,000.00 -
2 พ.ย. 63 - 30 ก.ย. 64 สำรวจข้อมูลและคัดกรองความเสี่ยงโรคซึมเศร้า 4,500.00 -
1 ธ.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ส่งต่อผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าสู่กระบวนการรักษา 0.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะเครียดและซึมเศร้า สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการป้องกันโรคเครียดและซึมเศร้า
  2. สามารถส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรับการวินิจฉัยจากแพทย์ ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2563 15:40 น.