กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพของสตรีตำบลบาโงสะโต ปี2564
รหัสโครงการ 64-L8423-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มสตรีตำบลบาโงสะโต
วันที่อนุมัติ 22 ตุลาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 พฤศจิกายน 2563 - 17 พฤศจิกายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มีนาคม 2564
งบประมาณ 61,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาแวเซาะ เปาะมะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโงสะโต อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.277,101.691place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการดำรงชีวิตและการพัฒนาศักยภาพของคน ผู้หญิงและผู้ชายมีลักษณะสรีระร่างกายที่แตกต่างกันตามธรรมชาติ ดังนั้นสุขภาพผู้หญิงจึงหมายถึง สุขภาพทางเพศและสุขภาพของระบบเจริญพันธุ์ ซึ่งโดยกายภาพเป็นระบบที่มีความสลับซับซ้อนและมีอิทธิพลต่อสุขภาพองค์รวมในตลอดช่วงชีวิตของผู้หญิง ผู้หญิงในแต่ละช่วงวัยต่างก็มีสรีระร่างกายที่แตกต่างกันไป โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงจากวัยรุ่นสู่วัยทำงานไปจนถึงวัยชรา ส่งผลให้การดูแลสุขภาพในแต่ละช่วงวัยแตกต่างกัน ผู้หญิงทุกช่วงวัยต่างมีพัฒนาการทางด้านร่างกายที่แตกต่างกันไป และยังมีปัญหาที่แตกต่างกันด้วย ผู้หญิงช่วงอายุ 20-30 ปี เริ่มมีการพัฒนาของฮอร์โมนการเจริญพันธุ์ที่สมบูรณ์ ผู้หญิงอายุ 30-45 ปี วัยนี้เรียกว่าวัยเจริญพันธุ์ และผู้หญิงอายุ 45 ปีขึ้นไป เริ่มก้าวเข้าวัยหมดประจำเดือน ผู้หญิงช่วงอายุดังกล่าวไม่ว่าจะอยู่ในสังคม เศรษฐกิจแบบใด ประกอบอาชีพอะไร มีพื้นฐานการศึกษาอย่างไร อายุเท่าไร ทำให้ผู้หญิงจำเป็นต้องให้ความสนใจดูแลสุขภาพของตนเอง ปัจจุบันประชากรไทยมีอายุสูงขึ้นอันเป็นผลมาจากการรู้จักดูแลรักษาสุขภาพและความก้าวหน้าทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งผู้หญิงมีอายุยืนยาวกว่าผู้ชาย จากการรายงานการฉายภาพประชากรของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๓-๒๕๖๘ มีการคาดเฉลี่ยอายุเมื่อแรกเกิดของประชากรไทยในปี ๒๕๖๘ อายุคาดเฉลี่ยแรกเกิดของผู้หญิงอยู่ที่ ๗๗.๘๙ ปี และผู้ชายมีอายุคาดเฉลี่ยแรกเกิดที่ ๗๒.๒๒ ปี (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขและสถาบันวิจัยประชากรและสังคม : ๒๕๔๖) อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสุขภาพของผู้หญิงมีความซับซ้อนสุขภาพผู้หญิงจึงจำเป็นต้องได้รับการดูแล เอาใจใส่อย่างสอดคล้องกับความต้องการตลอดช่วงอายุของผู้หญิงคนหนึ่งๆ นับตั้งแต่การมีประจำเดือน การคุมกำเนิด การตั้งท้อง การยุติการท้อง  การคลอด และการติดเชื้อระบบสืบพันธุ์ เป็นต้น ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่ผู้หญิงยังคงต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพอย่างที่ผู้ชายไม่เจอ รวมทั้งโรคเรื้อรังต่าง ๆ ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรื่องหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 ข้อ 10 (2) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคขององค์กรหรือกลุ่มประชาชน หรือหน่วยงานอื่น นั้น กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบาโงสะโต โดยกลุ่มสตรีตำบลบาโงสะโต จึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพของสตรีตำบลบาโงสะโต ประจำปีงบประมาณ 2564 ขึ้น โดยมีกิจกรรมอบรมให้ความรู้ เพื่อนำไปสู่การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้สตรีมีสุขภาพดี สามารถดูแลตนเองได้ 2. เพื่อส่งเสริมให้สตรีมีความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพของตนเอง 3. เพื่อให้สตรีเห็นความสำคัญในการตรวจคัดกรองสุขภาพประจำปี 4. เพื่อส่งเสริมให้สตรีมีการพบปะและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เสนอโครงการต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ตำบลบาโงสะโต เพื่อพิจารณาอนุมัติ
  2. ประชุมคณะกรรมการกลุ่มสตรี เพื่อชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการ
  3. ประชาสัมพันธ์โครงการให้แก่ประชาชนในพื้นที่
  4. อบรมให้ความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องแก่สตรี
  5. เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อสรุปและประเมินผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีมีความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพของตนเอง
  2. สตรีมีสุขภาพอนามัยที่ดี สามารถดูแลตนเองได้
  3. สตรีกระตือรือร้นในการตรวจคัดกรองสุขภาพประจำปี
  4. สตรีได้พบปะและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2563 10:18 น.