กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฝากครรภ์ดี มีคุณภาพ แม่ลูกปลอดภัย
รหัสโครงการ 64 L3069-10(1)10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบ
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 28 กุมภาพันธ์ 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอามีเนาะ ลีเยาะบิง
พี่เลี้ยงโครงการ สสอ.หนองจิก
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปูโละปูโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2564 30 ก.ย. 2565 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (15,000.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
91.11
2 ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง
90.00
3 จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น(อายุน้อยกว่า 20 ปี) (คน)
100.00
4 ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่มีภาวะซีด
90.00
5 เพื่อหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพ
90.00
6 เพื่อหญิงตั้งครรภ์คลอดในสถานบริการ (รพ.)
100.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล การฝากครรภ์เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพประชากรเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพื่อการตั้งครรภ์และ การคลอดเป็นไปด้วยความราบรื่น มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อนและมีสุขภาพแข็งแรงครรภ์คุณภาพเป็นเป้าหมายหลักของการให้บริการฝากครรภ์ทุกหน่วยบริการสาธารณสุข ซึ่ง จุดเริ่มต้นที่สำคัญของการฝากครรภ์คุณภาพคือการที่หญิงตั้งครรภ์มารับบริการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ เพื่อให้สามารถให้การดูแลหญิงตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก ช่วยในการค้นหาหญิง ตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงหรือมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมและมีคุณภาพ เกิดความ ปลอดภัยทั้งมารดาและทารกในครรภ์ ทุกวันนี้ ในโลกยังมีผู้หญิงเสียชีวิต จากปัญหาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคลอด และมีอีกนับหมื่นๆ คนที่ประสบภาวะแทรกซ้อน สำหรับประเทศไทย โดยเฉลี่ยผู้หญิงเสียชีวิตจากการตั้งครรภ์และการคลอด วันละ ๑-๒ คนมีแม่และเด็กจำนวนมากเจ็บป่วยรุนแรงถึงพิการ จากสาเหตุส่วนใหญ่ที่สามารถป้องกันได้อันตรายจากการตั้งครรภ์และการคลอดลูกจะลดลงได้ เมื่อผู้หญิงมีสุขภาพแข็งแรง และมีภาวะโภชนาการดีตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ มีการตั้งครรภ์เมื่อพร้อม มีข้อมูลจากการดำเนินงานของปีที่ผ่านมา พบว่าสภาวะการ ตั้งครรภ์ ในวัยรุ่นมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นและช่วงอายุที่น้อยกว่าเดิมตั้งแต่ปี 2560 - 2562 ที่ช่วงอายุ 17-20 ปี คิดเป็นร้อยละ4/ปี แต่ปี 2563 พบวัยรุ่นตั้งครรภ์ อายุ16 ปีคิดเป็นร้อยละ 2/ปี และยังพบการตั้งครรภ์ในหญิงที่มีอายุมากกว่า 35ตั้งแต่ปี ๒๕6๐ – ๒563 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเกือบทุกปี และพบภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ในขณะตั้งครรภ์ ส่งผลให้มีการฝากครรภ์ที่ไม่ได้คุณภาพหรือไม่ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ นับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่สามารถป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบ ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการ“ฝากครรภ์ดี มีคุณภาพ แม่ลูกปลอดภัย” เพื่อป้องกันอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ มีภาวะโภชนาการดีตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ มีการตั้งครรภ์เมื่อพร้อมตั้งแต่อายุ ๒0ขึ้นไป ไปรับการตรวจสุขภาพเร็วที่สุดตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ รับการตรวจครรภ์เป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ ฝากครรภ์อย่างน้อย ๕ ครั้ง และได้รับการคลอดในสถานบริการ(โรงพยาบาล)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อนคลอด ๕ ครั้งตามเกณฑ์

ร้อยละ 90

90.00 1.00
2 เพื่อหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์มีอายุ ๒0 ปีขึ้นไป

ร้อยละ 100

100.00 1.00
3 ร้อยละของหญิงเจริญพันธุ์ ที่มีภาวะซีด

ร้อยละ 90

90.00 1.00
4 เพื่อหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

ร้อยละ 91.11

91.11 1.00
5 เพื่อหญิงตั้งครรภ์คลอดในสถานบริการ(รพ.)

ร้อยละ 100

100.00 1.00
6 เพื่อหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพ

ร้อยละ 90

90.00 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณต.ค. 63พ.ย. 63ธ.ค. 63ม.ค. 64ก.พ. 64มี.ค. 64เม.ย. 64พ.ค. 64มิ.ย. 64ก.ค. 64ส.ค. 64ก.ย. 64ต.ค. 64พ.ย. 64ธ.ค. 64ม.ค. 65ก.พ. 65
1 ประชุมชี้แจงหญิงตั้งครรภ์และหญิงวัยเจริญพันธ์(1 ต.ค. 2563-28 ก.พ. 2565) 0.00                                  
รวม 0.00
1 ประชุมชี้แจงหญิงตั้งครรภ์และหญิงวัยเจริญพันธ์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 90 15,000.00 0 0.00
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ฝากครรภ์ดี มีคุณภาพ แม่ลูกปลอดภัย 90 15,000.00 -

๑. จัดทำโครงการเพื่อเสนออนุมัติโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบ ๒. ประชุมชี้แจงโครงการและแนวทางการดำเนินการแก่เจ้าหน้าที่ ๓. ประชาสัมพันธ์โครงการแก่กลุ่มเป้าหมาย
4. ให้กลุ่มเป้าหมายทำแบบประเมิน pre-tert,post-tert ๕. ประชุมชี้แจงแก่หญิงตั้งครรภ์และคู่สมรสที่มีภาวะเสี่ยง วัยเจริญพันธ์ชายหญิงอายุ๑๕-๔๕ ปี คู่สมรสใหม่และอาสาสมัครสาธารณสุขในเรื่องเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ การฝากครรภ์คุณภาพ การปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ ณ.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบ 6. สรุปและประเมินผลโครงการ กิจกรรมดำเนินการ ประชุมชี้แจงแก่กลุ่มเป้าหมาย เกี่ยวกับการฝากครรภ์ดี มีคุณภาพ แม่ลูกปลอดภัย
จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบ จำนวน 15,000 บาท รายละเอียดดังนี้ -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 90 คน เป็นเงิน 4,500 บาท -ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆละ 50 บาท จำนวน 90 คน เป็นเงิน 4,500 บาท -ค่าพาหนะสำหรับผู้เข้าประชุมชี้แจง คนละ 50 บาท จำนวน 90 คน เป็นเงิน 4,500 บาท -ค่าจัดป้ายโครงการขนาด 1.2 x 3 เมตร เป็นเงิน 720บาท -ค่าเอกสารประกอบการประชุม 90 ชุดๆละ 5 บาท เป็นเงิน 450 บาท - ค่าวัสดุ เป็นเงิน 330 บาท

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์เพิ่มขึ้น
  2. หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการดูแลตลอดระยะของการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ
  3. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ก่อนคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์
  4. หญิงตั้งครรภ์คลอดในสถานบริการเพิ่มขึ้น
  5. มารดามีบุตรอายุต่ำกว่า 20 ปี และหญิงที่อายุมากกว่า 35 ปีน้อยลง
  6. ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์น้อยลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2563 10:47 น.