โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กนักเรียน
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กนักเรียน |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุโละปุโย |
วันที่อนุมัติ | 1 ตุลาคม 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 79,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปูโละปูโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 544 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ปัญหาด้านทันตสุขภาพเป็นปัญหาสำคัญที่พบมากในนักเรียนประถมศึกษาเมื่อเทียบกับโรคอื่นๆที่ตรวจพบในเด็กนักเรียนและปัญหาด้านทันตสุขภาพนั้นนอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพช่องปากของเด็กแล้วยังมีผลกระทบต่อการเรียนและพัฒนาการของเด็กนักเรียนประถมศึกษา | 90.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัญหาด้านทันตสุขภาพเป็นปัญหาสำคัญที่พบมากในนักเรียนประถมศึกษาเมื่อเทียบกับโรคอื่นๆที่ตรวจพบในเด็กนักเรียนและปัญหาด้านทันตสุขภาพนั้นนอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพช่องปากของเด็กแล้วยังมีผลกระทบต่อการเรียนและพัฒนาการของเด็กนักเรียนประถมศึกษาซึ่งเป็นวัยที่มีฟันแท้ขึ้นใหม่ๆ ลักษณะรูปร่างฟันมีหลุมร่องลึก ทำให้เกิดโรคฟันผุได้ง่ายนอกจากอุปนิสัยของเด็กที่ชอบรับประทานอาหารรสหวานตลอดจนมีข้อจำกัดในเรื่องความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคในช่องปากได้ง่ายหากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่ดีพอโรคในช่องปากที่พบบ่อยในเด็กนักเรียน ได้แก่ โรคฟันผุ และโรคเหงือกอักเสบโรคฟันผุเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้โดยใช้มาตรการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ เช่น การใช้ฟลูออไรด์ การใช้สารเคลือบหลุมร่องฟันการแปรงฟันที่มีคุณภาพเป็นต้น หากเริ่มต้นส่งเสริมตั้งแต่วัยเด็กโดยการฝึกฝนให้เด็กมีทันตสุขนิสัยที่ดี การส่งเสริมและป้องกันรวมทั้งการบำบัดรักษาในระยะแรกของการเป็นโรคจะช่วยป้องกันและควบคุมโรคฟันผุของเด็กได้แต่สภาพสังคมเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปส่งผลให้แบบแผนการดำรงชีวิตของประชาชนเปลี่ยนไปด้วยทำให้พ่อแม่จำนวนมากต้องทำงานเลี้ยงชีพเป็นหลักหรือมีเวลาเลี้ยงดูลูกน้อยลงนอกจากนี้การพัฒนาการของโฆษณาขนมที่มีรสหวานซึ่งมีการผลิตในรูปแบบที่หลากหลาย ความเจริญทางการโฆษณามากขึ้นส่งผลให้มีการบริโภคขนมหวานซึ่งมีส่วนประกอบของแป้งและน้ำตาลสูง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคฟันผุง่ายขึ้น
จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศครั้งที่ 8 (สำนักทันตสาธารณสุข,กรมอนามัย,2560) โดยในภาพรวมประเทศ พบว่าเด็กอายุ 12 ปี มีอัตราการเกิดโรคฟันผุร้อยละ 31.5ภาคใต้เด็กอายุ 12 ปีมีอัตราการเกิดโรคฟันผุร้อยละ 29.5จากข้อมูลในระบบสารสนเทศ HDC จังหวัดปัตตานีปี 2563 เด็กอายุ 12 ปีมีอัตราการเกิดโรคฟันผุร้อยละ 39.71และตำบลปุโละปุโยเด็กอายุ 12 ปีมีอัตราการเกิดโรคฟันผุร้อยละ 29.91
จากการสำรวจสภาวะการเกิดโรคฟันผุในตำบลปุโละปุโย ปีงบประมาณ 2561-2563 พบว่า มีอัตราการเกิดโรคฟันผุร้อยละ57.1429.58และ 29.91 ตามลำดับแม้ว่าอัตราการเกิดโรคฟันผุในพื้นที่ตำบลปุโละปุโยจะลดลงตามลำดับก็ตาม แต่เมื่อเทียบกับอัตราการเกิดโรคฟันผุในระดับภาคใต้ยังอยู่ในเกณฑ์ที่อัตราฟันผุไม่ได้แตกต่างมากนักอันเนื่องมาจากการแปรงฟันที่ไม่มีประสิทธิภาพความไม่ครอบคลุมในการดำเนินกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันและตอนเช้า (ดำเนินการบางชั้น/บางคน จากการสุ่มสำรวจโรงเรียน 4 แห่ง ใน 7 แห่งของโรงเรียนทั้งหมดในตำบล) จำนวน 1 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 25ขาดการดูแลเอาใจใส่ของผู้ปกครองในเรื่องทันตสุขภาพ และการบริโภคอาหารหวานของเด็กนักเรียนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุโละปุโยและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ “ส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กนักเรียนตำบลปุโละปุโย ปีงบประมาณ 2564” เพื่อให้ผู้ปกครองและนักเรียนมีความรู้ทัศนคติ และการปฏิบัติในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีซึ่งจะเป็นปัจจัยที่จะสนับสนุนให้เด็กนักเรียนมีสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ข้อที่ 1 เพื่อให้เด็กนักเรียนสามารถแปรงฟันได้อย่างถูกวิธี มีสุขภาพช่องปากที่สะอาด
ข้อที่ 2เพื่อให้เด็กนักเรียนแปรงฟันหลังรับประทานอาหารทุกครั้งด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์
ข้อที่ 3ผู้ปกครองมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กนักเรียน
|
90.00 | 1.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 | อบรมให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพ | 0 | 79,600.00 | - | ||
รวม | 0 | 79,600.00 | 0 | 0.00 |
- เด็กนักเรียนสามารถแปรงฟันได้ถูกวิธี มีสุขภาพช่องปากที่สะอาด
- เด็กนักเรียนแปรงฟันทุกครั้งหลังรับประทานอาหารกลางวันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์
- ผู้ปกครองมีความรู้ ความตระหนักและมีทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กนักเรียนได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2563 10:59 น.