กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ทอนคลองกินดี ชีวีมีสุข ต้านทุกข์ด้วยการออกกำลังกาย
รหัสโครงการ 64-L5168-2-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการหมู่บ้าน หมู่ที่ 9
วันที่อนุมัติ 10 พฤศจิกายน 2020
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 พฤศจิกายน 2020 - 30 พฤศจิกายน 2020
กำหนดวันส่งรายงาน 30 พฤศจิกายน 2020
งบประมาณ 12,630.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอรุณ บุญรัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ นายสมโภช ยอดดี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.875,100.406place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 11 พ.ย. 2020 11 พ.ย. 2020 12,630.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 12,630.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ปัจจุบันกลุ่มโรคเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลก และอันดับหนึ่งในประเทศไทย ทั้งในมิติของจำนวนการเสียชีวิตและภาวะโรคโดยรวม ช่วงทศวรรษที่ผ่านมากลุ่มโรคไม่ติดต่อส่งผลให้ประชากรไทยเสียชีวิตถึงร้อยละ 75 ของการเสียชีวิตทั้งหมดหรือประมาณ 320,000 คนต่อปี โดยกลุ่มโรคไม่ติดต่อหลักสำคัญ ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ประชากรที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากสถิติพบว่า อัตราการตายในช่วงอายุ 30 – 69 ปีของทั้ง 4 โรคมีแนวโน้มสูงเพิ่มขึ้น โดยโรคหลอดเลือดสมองมีการเพิ่มมากที่สุดจาก 33.4 ต่อแสนประชากรเพิ่มเป็น 40.9 ต่อแสนประชากร รองลงมาคือโรคหัวใจขาดเลือด จาก 22.4 ต่อแสนประชากร เป็น 27.8 ต่อแสนประชากร โรคเบาหวาน จาก 13.2 ต่อแสนประชากร เพิ่มเป็น 17.8 ต่อแสนประชากร ผู้ที่มีปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงเพิ่มจากร้อยละ 6.9 ใน พ.ศ. 2552 เป็นร้อยละ 8.9 ใน พ.ศ. 2557 และโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรังจาก 3.8 ต่อแสนประชากรเป็น 4.5 ต่อแสนประชากร ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคมาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสม ได้แก่ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร หวาน มัน เค็มจัด ขาดการออกกำลังกาย ความเครียด การสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เป็นต้น ปัจจัยเสี่ยงเชิงพฤติกรรมนั้นเพิ่มความเสี่ยงต่อกลุ่มอาการทางเมตา-บอลิก ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ภาวะน้ำหนักเกิน/โรคอ้วน ระดับโคเลสเตอรอลและน้ำตาลในเลือดสูง ทั้งนี้ พบปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้มากขึ้นในคนไทย เช่น ภาวะน้ำหนักเกินในผู้ใหญ่เพิ่มจากร้อยละ 28 ใน พ.ศ. 2548 เป็นร้อยละ 38 ใน พ.ศ. 2557 นอกจากนี้ 1 ใน 4 ของคนไทยวัยผู้ใหญ่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง และมีแนวโน้มที่จะมีจำนวนเพิ่มขึ้น (แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี พ.ศ. 2560 – 2564) จากการสำรวจและเก็บข้อมูลสุขภาพของชาวบ้านหมู่ที่ 9 บ้านทอนคลอง ตำบลโคกม่วง พบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังเป็นจำนวนมาก ข้อมูลจากฐานข้อมูล JHCIS ปี พ.ศ.2563 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกม่วง จากประชากร 416 คน พบว่า มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 11.06 โรคเบาหวาน ร้อยละ 2.40 โรคหลอดเลือดสมองและโรคหอบหืดมีอัตราเท่ากัน คือ ร้อยละ 0.16 และจากการลงสำรวจเก็บข้อมูลจากตัวแทนครัวเรือน 44 ครัวเรือน พบว่า มีสมาชิกในครอบครัวของตัวแทนครัวเรือนส่วนใหญ่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 29.5 รองลงมา คือ ป่วยด้วยโรคไขมันในเลือดสูง ร้อยละ 13.63 และป่วยด้วยโรคเบาหวาน ร้อยละ 6.81 โดยจากที่กล่าวมาผลจากการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของชาวบ้าน หมู่ที่ 9 บ้านทอนคลอง พบว่า สมาชิกในชุมชนมีพฤติกรรมเสี่ยงด้านการรับประทานอาหาร แบ่งออกเป็น การรับประทานอาหารหวาน มันและเค็ม โดยพฤติกรรมการรับประทานอาหาร พบว่าตัวแทนครัวเรือนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการบริโภคพอใช้ ร้อยละ 61.36 ด้านการออกกำลังกาย พบว่าตัวแทนครัวเรือนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการออกกำลังกายพอใช้ถึงไม่เหมาะสม ร้อยละ 74.99 จากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่ากลุ่มเสี่ยงในชุมชนส่วนใหญ่มีการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง โดยมีสาเหตุจากการที่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสม และจากการทำประชาคมเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 53 คน ประกอบด้วย นายกเทศบาล ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผอ.รพ.สต.โคกม่วง นักวิชาการสุขาภิบาลชำนาญการ สมาชิกอสม. และตัวแทนชุมชน หมู่ที่ 9 บ้านทอนคลอง ตำบลโคกม่วง ได้มีมติเอกฉันท์ในการแก้ปัญหา เรื่องพฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่ การบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ดังนั้นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 ร่วมกับชุมชนหมู่ที่ 9 บ้านทอนคลอง จึงได้จัดทำโครงการ “ทอนคลองกินดี ชีวีมีสุข ต้านทุกข์ด้วยการออกกำลังกาย” ขึ้นเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับประชาชน หมู่ที่ 9 บ้านทอนคลอง เพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรัง ควบคุมความรุนแรงของโรคเรื้อรัง และป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง ซึ่งจุดมุ่งหมายของโครงการมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของแผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ ปี พ.ศ. 2560 – 2564 ของกระทรวงสาธารณะสุข ที่ว่า ประชาชนสุขภาพดี ปลอดจากภาวะโรคไม่ติดต่อที่ป้องกันได้ โดยยุทธศาสตร์ที่ 2 การเร่งขับเคลื่อนทางสังคมสื่อสารความเสี่ยงและประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง โดยการพัฒนาการด้านการสร้างเสริมสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่ออย่างต่อเนื่องและพัฒนาเครือข่ายเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการสื่อสารความเสี่ยงในการสร้างเสริมสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อ ส่วนยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพชุมชนท้องถิ่นและภาคีเครือข่าย โดยพัฒนากลไกให้ประชาชนองค์กรท้องถิ่นภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังส่งเสริมสุขภาพป้องกันและควบคุมโรค และเป็นการพัฒนาศักยภาพแกนนำด้านสุขภาพ (Health Leader) ในชุมชนในด้านเฝ้าระวังส่งเสริมสุขภาพป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการเลือกบริโภคอาหารที่ถูกต้องและเหมาะสมกับโรค เพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรัง ควบคุมความรุนแรงของโรคเรื้อรัง และป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง

1.ร้อยละ 60 ของผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถตอบคำถาม เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง และเหมาะสมได้ 6 ใน 10 ข้อ
2. ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมโครงการได้รับประสบการณ์จากกิจกรรม “น้ำยาหรอย ถอยห่างโรค” และการถ่ายทอดการดูแลตัวเองจากแขกรับเชิญ

0.00
2 2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และทักษะในการออกกำลังกายที่ถูกต้อง

1.ร้อยละ 60 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ออกกำลังกาย สามารถตอบคำถามเกี่ยวกับการออกกำลังกายที่ถูกต้องได้ 3 ใน 5 ข้อ
2.ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะในการออกกำลังกาย สามารถสาธิตย้อนกลับการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า และ SKT ได้ถูกต้องทุกท่า

0.00
3 3. เพื่อสร้างแกนนำในการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า และ SKT

1.ร้อยละ 100 ของแกนนำมีความรู้ในการออกกำลังกาย 2.ร้อยละ 100 ของแกนนำมีทักษะในการออกกำลังกายสามารถสาธิตย้อนกลับการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า และ SKT ได้ถูกต้องทุกท่า

0.00
4 4. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
  1. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

เวลา กิจกรรม วันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 13.00 – 13.30 น. - อบรมแกนนำในการออกกำลังกาย โครงการ “ทอนคลองกินดี ชีวีมีสุข ต้านทุกข์ด้วยการออกกำลังกาย” - ลงทะเบียน ณ ศาลาประชาคม หมู่ที่ 9 บ้านทอนคลอง ตำบลโคกม่วง 13.30 – 13.35 น. - ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการอบรม และประโยชน์ของการออกกำลังกายโดยใช้ผ้าขาวม้าและSKT 13.35 – 14.05 น. - ให้ความรู้และฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการออกกำลังกาย   - สอนการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า   - สาธิตย้อนกลับการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า 14.05 – 14.35 น. - ให้ความรู้และฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับสมาธิบำบัดแบบ SKT   - สอนการฝึกสมาธิบำบัดแบบ SKT   - สาธิตย้อนกลับสมาธิบำบัดแบบ SKT 14.35 – 14.50 น. - ชี้แจงกำหนดการและหน้าที่ของแกนนำ พร้อมทวนความเข้าใจของแกนนำในวันทำโครงการ


เวลา กิจกรรม วันที่ 12 พฤศจิกายน 2563 13.00 – 13.30 น. - อบรมแกนนำในการออกกำลังกาย โครงการ “ทอนคลองกินดี ชีวีมีสุข ต้านทุกข์ด้วยการออกกำลังกาย” - ลงทะเบียน ณ ศาลาประชาคม หมู่ที่ 9 บ้านทอนคลอง ตำบลโคกม่วง 13.30 – 14.00 น. - ทบทวนการฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า 14.00 – 14.30 น. - ทบทวนการฝึกปฏิบัติการสมาธิบำบัดแบบ SKT 14.30 – 15.00 น. - ทบทวนรายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมที่จัดในโครงการ “ทอนคลองกินดี ชีวีมีสุข ต้านทุกข์ด้วยการออกกำลังกาย”


เวลา กิจกรรม วันที่ 13 พฤศจิกายน 2563 12.30 – 13.00 น. - โครงการ “ทอนคลองกินดี ชีวีมีสุข ต้านทุกข์ด้วยการออกกำลังกาย” - ลงทะเบียน ณ ศาลาประชาคม หมู่ที่ 9 บ้านทอนคลอง ตำบลโคกม่วง - ติดสติ๊กเกอร์สีแยกกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม 13.00 – 13.10 น. - ชี้แจงวัตถุประสงค์ และอธิบายกติกาการเข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละฐาน 13.10 - 13.20 น. - ประธานกล่าวเปิดงาน 13.20 – 13.25 น. แบ่งกลุ่มตามสีสติ๊กเกอร์เพื่อเข้าฐาน   - สีฟ้า : ฐานตรวจร่างกาย (ทางเข้าข้างจุดลงทะเบียน)   - สีเหลือง : ฐานลด หวาน มัน เค็ม 3 ตัวร้ายก่อโรคเรื้อรัง (ลานกระเบื้อง)   - สีชมพู : ฐานขยับกันหน่อย ถอยห่างโรค (หน้าเวที) 13.25 – 14.55 น. - ฐานที่ 1 ตรวจร่างกายโดยเครื่องดัชนีมวลกาย วัดรอบเอว ประเมินภาวะสุขภาพ
- ฐานที่ 2 ลด หวาน มัน เค็ม 3 ตัวร้ายก่อโรคเรื้อรัง ความรู้เรื่องการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับผู้ที่มีสุขภาวะที่ดี ผู้ที่มีความเสี่ยงป่วยเป็นโรค และผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง การทดสอบระดับความเค็มในอาหาร เกมส์การเลือกอาหารถูกปาก หรืออาหารถูกต้อง เกมส์ทายถูกไหมจานไหนมันกว่ากัน เกมส์วงล้อความเค็ม และเกมส์หวานแบบนี้กินได้ไหมนะ - ฐานที่3 ขยับกันหน่อย ถอยห่างโรค เป็นการให้ความรู้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย และการฝึกสาธิตอาออกกำลังกาย โดยนักศึกษาพยาบาลและ แกนนำหมู่ที่ 9 โดยใช้ผ้าขาวม้าและสมาธิบำบัดแบบ SKT

หมายเหตุ : มีการหมุนเวียนเปลี่ยนฐาน โดยใช้เวลาฐานละ 30 นาที 14.55 – 15.00 น. ผู้เข้าร่วมโครงการรวมตัวกันหน้าเวที 15.00 – 15.20 น. ประกวด “ น้ำยาหรอย ถอยห่างโรค ”   - ผู้เข้าประกวดแต่ละคนนำเสนอน้ำยาขนมจีน   - ตรวจระดับความเค็ม โดยใช้เครื่องวัดระดับความเค็ม   - กรรมการชิมประเมินรสชาติน้ำยาขนมจีน   - กรรมการให้คะแนนผู้เข้าประกวด   - เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมโครงการโหวตคะแนนให้กับผู้เข้าประกวด   - ประกาศผลรางวัล มอบรางวัลและเกียรติบัตรให้แก่ผู้ชนะการประกวด 15.20 – 15.30 น. - แขกรับเชิญพิเศษ 1 ท่านถ่ายทอดประสบการณ์การดูแลตัวเอง
15.30 – 15.40 น. - สรุปผลโครงการ ประเมินความพึงพอใจ และกล่าวปิดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพและควบคุมภาวะแทรกซ้อน
  • ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะเลือกปรุงอาหารเพื่อป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนในโรคเรื้อรัง
  • ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และป้องกันภาวะแทรกซ้อนในโรคเรื้อรัง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2020 13:27 น.