กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มภาวะความฉลาดทางอารมณ์
รหัสโครงการ 64-L7577-2-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมคนตะโหมดรักสุขภาพ
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 เมษายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 11,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจันทร์เพ็ญ แสงสงค์
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันพ่อแม่ไม่ต้องการส่งเสริมให้ลูกเก่งและฉลาดแต่ทางด้านวิชาการอย่างเดียว สำหรับพัฒนาการด้านอีคิว หรือความฉลาดทางอารมณ์นั้น ก็มีความสำคัญไม่แพ้ด้านไอคิวเช่นกัน อีคิวคือความฉลาดทางอารมณ์ ความสามารถในการจัดการกับอารมณ์และควบคุมความคิดของตนเองได้อย่างเหมาะสมตามวัย และสามารถปรับตัว เข้าใจอารมณ์ของคนอื่น โดยแสดงออกมาทางพฤติกรรม เช่น รู้จักมีความเห็นอกเห็นใจ และเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นมีความคิดที่จะทำสิ่งดีๆสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ความฉลาดทางอารมณ์จะทำให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมที่เหมาะสม ความฉลาดทางอารมณ์ในเยาวชนจะพัฒนาขึ้นอย่างช้าๆ ตั้งแต่อายุประมาณ 3 ขวบ หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะมีผลบวกต่ออีคิวนั้นก็คือ จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ที่ถูกกระตุ้นได้ผ่านสมองซีกขวา ซึ่งเป็นสมองส่วนสำคัญที่ควบคุมด้านจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ อารมณ์ ความรู้สึก และการปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น ชมรมคนตะโหมดรักสุขภาพ จึงเล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาอีคิวสำหรับเยาวชนจึงเป็นหน้าที่ที่จะช่วยติดอาวุธ เติมสีสันส่งเสริมจินตนาการ เพื่อให้เยาวชนเป็นคนที่มีความสุขในการดำเนินชีวิตในสังคม และสามารถพัฒนาให้เป็นทักษะชีวิตของเยาวชนต่อไปได้ ด้วยกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมอีคิวให้เยาวชน เช่น กิจกรรมเสริมด้านเก่ง กิจกรรม 4 ช่องอารมณ์ กิจกรรมวาดภาพระบายสี กิจกรรมใบไม้เติมพลัง กิจกรรมก้าวเท้าชิด กิจกรรมPower up และกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกาย เป็นต้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการจัดการกับอารมณ์ในยามเหนื่อยเมื่อยท้อ

เยาวชนสามารถจัดการกับอารมณ์ตนเองได้ ร้อยละ80

40.00 10.00
2 เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้การวางแผนการแก้ปัญหา และการทำงานเป็นทีม

เยาวชนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จัดการวางแผนชีวิตประจำวันได้ ร้อย 80

40.00 10.00
3 เพื่อฝึกการมองคนอื่นในแง่บวกและแสดงออกในทางที่ดีต่อกัน

เยาวชนสามารถมีภาวะผู้นำมากขึ้น มองโลกในแง่ดี คิดบวก เข้าใจคนอื่น มีจิตอาสา

30.00 10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 11,600.00 0 0.00
1 - 30 เม.ย. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการเชิงสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มความฉลาดทางอารมณ์ 0 6,200.00 -
1 - 30 เม.ย. 64 สัปดาห์ที่ 2 จัดกิจกรรมบ้านเธออยู่ไหน บ้านฉันอยู่นี่/กิจกรรมPower up 0 1,800.00 -
1 - 30 เม.ย. 64 สัปดาห์ที่ 3 จัดกิจกรรม 4 ช่องอารมณ์/กิจกรรมใบ้คำใบ้ความหมาย 0 1,800.00 -
1 - 30 เม.ย. 64 สัปดาห์ที่ 4 จัดกิจกรรมวาดภาพระบายสี/กิจกรรมวิกฤติการณ์ 0 1,800.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เยาวชนสามารถจัดการกับอารมณ์ของตนเองและต่อผู้อื่นได้
  2. เยาวชนสามารถเรียนรู้การวางแผน การทำงานเป็นทีม เกิดความมุ่งมั่นไปสู่ความสำเร็จได้
  3. เยาวชนสามารถมองคนอื่นในแง่บวกและแสดงพฤติกรรมไปในทางที่ดี
  4. เยาวชนตระหนักรู้ในตัวเอง สร้างความภาคภูมิใจในตนเองและมีเป้าหมายในชีวิต
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2563 00:00 น.