กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสตรีไทยใส่ใจป้องกันภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
รหัสโครงการ 64-L8429-1-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไร่ออก
วันที่อนุมัติ 12 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอรอุมา ชัยพล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.569505428,99.33580733place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2564 11 ก.พ. 2564 15,000.00
รวมงบประมาณ 15,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเป็นปัญหาทุกประเทศทั่วโลก ในปัจจุบันการควบคุมโรคมะเร็งมีเป้าหมาย เพื่อลดอุบัติการณ์ของการเกิดความทุกข์ทรมานและการตายจากโรคมะเร็ง โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนา ประมาณร้อยละ ๘๐ ของผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกทั้งหมดในโลก จะมีสตรีที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูก ๒๓๑,๐๐๐ รายต่อปี และมากกว่าร้อยละ ๘๐ จะอยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนาเนื่องจากยังไม่มีโปรแกรมการตรวจคัดกรอง(Screening program) ที่มีประสิทธิผลดีพอในการตรวจหารอยโรคในระยะก่อนเป็นมะเร็ง(Pre – cancerous lesions)และให้การรักษาก่อนที่จะกลายเป็นระยะลุกลาม(Invasive cancer) องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าจะเพิ่มเป็น16 ล้านคน ในปี 2563 ซึ่งปัจจุบันโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในประเทศไทยและมีแนวโน้มที่ ในประเทศไทย โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทย จากรายงานสถิติโรคมะเร็งของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า มีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 9 ล้านคนในทุกทุกปี และพบว่าในเพศหญิงมีจำนวนผู้ป่วยมะเร็งที่พบใหม่ 30,940 ราย  พบมากที่สุดอายุระหว่างอายุ ๔๕-๕๐ ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม อัตราการอยู่รอด ๕ ประมาณร้อยละ ๖๐ จึงมีผู้ป่วยสะสมจำนานมาก คาดประมาณว่าจะมีผู้ป่วยใหม่และผู้ป่วยเก่าที่ต้องติดตามดูแลให้การรักษาไม่น้อยกว่า ๖๐,๐๐๐ คนทั่วประเทศ
ในการนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไร่ออกร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อหิน ได้จัดทำโครงการสตรีไทยห่างไกลมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกขึ้น เพื่อให้สตรีมีทักษะสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง และได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ซึ่งจะช่วยทำให้ตรวจพบมะเร็งปากมดลูกได้ตั้งแต่ระยะแรกได้มากขึ้นและการได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ จะส่งผลให้ลดอัตราตายจากมะเร็งปากมดลูกได้ หากพบมีอาการผิดปกติ สามารถส่งตัวเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที โดยมีแกนนำ อาสาสมัครสาธารณสุข เป็นที่ปรึกษาในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพของแกนนำสตรีในการดูแลสุขภาพและการเฝ้าระวังป้องกันโรค

แกนนำสตรีได้รับการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาศักยภาพเรื่องการดูแลสุขภาพและการเฝ้าระวังป้องกันโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูก จำนวน ๖0 คน

90.00
2 เพื่อให้ประชาชนหญิงอายุ ๓๐–๖๐ปี ได้รับความรู้การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก

ร้อยละ๘0 ของประชาชนหญิงอายุ 30–60 ปี ได้รับความรู้การคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูก

90.00
3 เพื่อให้สตรีที่มีผลการตรวจผิดปกติได้รับการส่งต่อไปรับการรักษาที่ โรงพยาบาล

ร้อยละ 100 ของสตรีที่มีผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและคัดกรองเต้านมผิดปกติได้รับการส่งต่อไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 - 12 ก.พ. 64 แลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มแกนนำสตรีอายุ 30-60 ปีและรณรงค์การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก 560 15,000.00 15,000.00
รวม 560 15,000.00 1 15,000.00

วิธีดำเนินการ
๑.สำรวจและจัดทำทะเบียนรายชื่อประชาชนหญิงอายุ ๓๐–๖๐ปีในเขตรับผิดชอบ ๒.สำรวจและจัดทำแกนนำในเขตรับผิดชอบ ๓.จัดเตรียมสถานที่สำหรับการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4.จัดเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาศักยภาพแกนนำในการดูแลสุขภาพและการเฝ้าระวังป้องกันโรคจำนวน ๖๐ คน 5.รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในชุมชน (จัดรณรงค์ให้ความรู้,ป้ายประชาสัมพันธ์,เอกสารแผ่นพับ, หนังสือแจ้งถึงเจ้าตัว) ๖.รณรงค์ตรวจค้นหาคัดกรองค้นหามะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มเป้าหมาย (อายุ๓๐-๖๐ ปี)ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ๗.ติดตามผลและแจ้งผลความผิดปกติให้กลุ่มเป้าหมายทราบ ๘.สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการและรายงานผลกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ่อหิน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.แกนนำสตรีอายุ 30-60 ปี จำนวน ๖๐ คน ที่ผ่านการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สามารถใช้ศักยภาพในการดูแลตนเองและให้คำปรึกษา สามารถถ่ายทอดความรู้ให้คำแนะนำแก่กลุ่มสตรีเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.สตรีกลุ่มเป้าหมายสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้อง,ต่อเนื่องเป็นประจำและสามารถค้นหา,ตรวจวินิจฉัยโรคและได้รับการรักษาได้อย่างทันท่วงที 3.อัตราป่วย/ตาย โรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมลดลง 4.สตรีอายุ 30-60 ปี ที่ตรวจพบผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่โรงพยาบาลได้อย่างทันท่วงที ทุกคน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2563 10:52 น.