กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการวัคซีนเพื่อลูกรัก ประจำปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L2981-2-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 2
วันที่อนุมัติ 1 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 เมษายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 19,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 2
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลก้อเดช โต๊ะยะลา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.681603,101.145487place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดบริการวัคซีนพื้นฐานที่เด็กไทยทุกคนควรได้รับ โดยเน้นวัคซีนป้องกันโรค ที่เป็นปัญหาสำคัญ ซึ่งในปัจจุบันประกอบด้วยวัคซีน 8 ชนิด ได้แก่ วัคซีนวัณโรค (BCG) วัคซีนตับอักเสบบี (HB) วัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี (DTP-HB) วัคซีนโปลิโอ (OPV) วัคซีนรวมหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR) วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี (JE) วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (DTP) และวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก (dT)การสร้างเกราะป้องกันโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ให้ลูกน้อยด้วยการฉีดวัคซีนเป็นสิ่งจำเป็น เพราะวัคซีนจะทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทาน และปกป้องลูกน้อยของคุณจากการเจ็บป่วยต่างๆได้ แม้ว่าวัคซีนจะไม่ใช่ยารักษาโรค แต่วัคซีนก็เป็นเครื่องป้องกันที่ช่วยให้เด็กๆ ปลอดภัยจากโรคร้ายที่มากล้ำกราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กวัยขวบปีแรกที่มีอัตราเสี่ยงสูงในการต่อต้านเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย การรับวัคซีนเพื่อสร้างภูมิต้านทานเป็นวิธีที่ง่ายดาย ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพในการป้องกันเด็กจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ความเสี่ยงจากโรคเหล่านั้นมากมายหลายเท่า เพื่อให้ได้รับภูมิต้านทานที่ครบถ้วนเด็กจะต้องได้รับวัคซีนตามเกณฑ์อายุทั้งหมดและควรได้รับตรงเวลาอีกด้วย จากผลการปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค กลุ่มเป้าหมายเด็กอายุ 0-5 ปี ตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี พบว่า ยังมีปัญหาเรื่องความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนภูมิคุ้มกันโรคที่ยังต่ำกว่าเป้าหมาย ทําให้มีเด็กที่ป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ ด้วยวัคซีนเป็นประจําทุกปี ประกอบกับผู้ปกครองขาดความรู้ และทัศนคติในการนำบุตรหลานมารับวัคซีน โดยเฉพาะมีความกลัวว่าบุตรหลานมีไข้หรือไม่สบายมากหลังจากได้รับวัคซีน ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่ง ต่อการดำเนินงานในเชิงรุกส่งผลให้การดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคมีความครอบคลุมไม่บรรลุตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลนาประดู่ เห็นความสำคัญในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้กับเด็กอายุ 0 – 5 ปีจึงจัดทำโครงการวัคซีนเพื่อลูกน้อย เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กมีความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการฉีดวัคซีน และเพื่อให้เด็กในพื้นที่ตำบลนาประดู่มีสุขภาพแข็งแรง และปลอดภัยจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ในเรื่องของวัคซีน และการดูแลหลังได้รับวัคซีน

ร้อยละผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในเรื่องของวัคซีน และการดูแลหลังได้รับวัคซีนมากขึ้น

80.00
2 เพื่อให้เด็กอายุ 0-5 ปีได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคครบชุดตามเกณฑ์อายุ

ร้อยละเด็กอายุ 0-5 ปีได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคครบชุดตามเกณฑ์อายุมากขึ้น

80.00
3 เพื่อป้องกันและลดการเกิดโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

ร้อยละเด็กที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบตามกำหนดมากขึ้น

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 19,700.00 0 0.00
1 ธ.ค. 63 - 31 ม.ค. 64 สำรวจรวบรวมข้อมูลความครอบคลุมและติดตามการได้รับวัคซีน เด็กอายุ 0-5ปี ในเขตรับผิดชอบ 0 3,000.00 -
1 ม.ค. 64 - 30 เม.ย. 64 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี เกี่ยวกับวัคซีน และจัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การได้รับวัคซีนในเด็ก 0-5 ปีแก่ผู้ปกครองเด็ก 0 16,700.00 -

ขั้นที่ 1 เตรียมการก่อนดำเนินงานตามโครงการ
1.1 เก็บรวบรวมข้อมูลความครอบคลุมการได้รับวัคซีน เด็กอายุ 0-5ปี ในเขตรับผิดชอบ

1.2 วิเคราะห์ปัญหาจัดทำโครงการเพื่อเสนองบประมาณและขออนุมัติโครงการ

1.3 จัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการเพื่อเสนออนุมัติ

ขั้นที่ 2 ดำเนินการตามโครงการ

2.1 ประชุมทีมงานเพื่อวางแผนในการดำเนินงาน

2.2 ประสานงานกับเครือข่ายและผู้ที่เกี่ยวข้องในการในการประชาสัมพันธ์ เชิญชวนกลุ่มเป้าหมาย และติดตามกลุ่มเป้าหมาย

2.3 เตรียมเอกสารให้ความรู้

2.4 จัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์

2.5 ประสานงานติดต่อวิทยากร

2.6 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี เกี่ยวกับวัคซีน

2.7 จัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การได้รับวัคซีนในเด็ก 0-5 ปีแก่ผู้ปกครองเด็ก

2.8 อสม.และเจ้าหน้าที่ นสค. ในแต่ละหมู่บ้านติดตามเด็กกลุ่มเป้าหมาย ติดตามเยี่ยมบ้านในรายที่ไม่ฉีดวัคซีน และไม่มาตามนัด

ขั้นที่ 3 สรุปผลและวิเคราะห์ข้อมูล

3.1. ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ

3.2. รายงานผลตามโครงการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทราบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี มีความรู้ในเรื่องวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และการดูแลหลังได้รับวัคซีนร้อยละ 80

  1. ผู้ปกครอง 0-5 ปี มีความตระหนักถึงความสำคัญของการฉีดวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคมากขึ้น ร้อยละ 80

  2. การได้รับวัคซีนของเด็กอายุ 0 – 5 ปี มีความครอบคลุมร้อยละ 90

  3. เด็กอายุ 0-5 ปี ไม่เกิดโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2563 12:00 น.