กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในเด็กก่อนวัยเรียน ตำบลเกาะจันอำเภอมายอจังหวัดปัตตานี ครั้งที่ 4ปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ 60-L3001-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะจัน
วันที่อนุมัติ 21 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 พฤษภาคม 2560 - 17 พฤษภาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2560
งบประมาณ 27,025.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวแวนูรไอนีย์แวบือราเฮ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะจัน อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.723,101.382place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 17 พ.ค. 2560 17 พ.ค. 2560 27,025.00
รวมงบประมาณ 27,025.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 383 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคฟันผุในฟันน้ำนมเป็นปัญหาที่พบมากในเด็กก่อนวัยเรียนจากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศครั้งที่ 7 (สำนักทันตสาธารณสุข,กรมอนามัย,2555) โดยในภาพรวมประเทศ พบว่า เด็กอายุ 3 ปีมีอัตราการเกิดโรคฟันผุร้อยละ 50.6 ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด (dmft) 2.7 ซี่/คน เด็กอายุ 5 ปี มีอัตราการเกิดโรคฟันผุสูงถึงร้อยละ 75.9 ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด (dmft) 4.4 ซี่/คน โดยภาคใต้เด็กอายุ 3 ปีมีอัตราการเกิดโรคฟันผุร้อยละ 59.8 ค่าเฉลี่ยฟันผุถอน อุด (dmft)3.1 ซี่/คนเด็กอายุ 5 ปีมีอัตราการเกิดโรคฟันผุร้อยละ 82.6 มีค่าเฉลี่ยฟันผุถอน อุด (dmft)5.0 ซี่/คน ซึ่งพบฟันผุสูงสุดเมื่อเทียบกับภาคอื่นๆ และเมื่อเด็กอายุเพิ่มขึ้นแนวโน้มการเกิดฟันผุยิ่งเพิ่มสูงขึ้น จากการตรวจสุขภาพช่องปากเด็กช่วงอายุ 0-3 ปีที่มารับบริการที่รพ.สต.เกาะจัน เดือนสิงหาคม พ.ศ.2559 จำนวน 30 คน พบว่า เด็กมีปัญหาฟันผุ 2 คน คิดเป็นร้อยละ 6.67 พฤติกรรมการแปรงฟันของเด็กอายุ 3 ปี พบว่า ภาคใต้ผู้ปกครองแปรงฟันให้แก่เด็กตอนเช้า ร้อยละ 48.9เด็กแปรงฟันเองร้อยละ 50.6พฤติกรรมการแปรงฟันของเด็กช่วงอายุ 0-3 ปีที่มารับบริการที่รพ.สต.เกาะจัน พบว่า ผู้ปกครองแปรงฟันให้โดยใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ร้อยละ 56.67ผู้ปกครองแปรงฟันให้โดยไม่ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ร้อยละ 16.67และผู้ปกครองไม่แปรงฟันให้เด็กร้อยละ 26.66
การป้องกันฟันผุในเด็กก่อนวัยเรียนต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากของบุตรหลานอย่างต่อเนื่อง และรองรับเด็กไทย Smart kids ดังนั้น ฝ่ายทันตสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะจัน ได้ตระหนักถึงปัญหาสุขภาพในช่องปากเด็ก จึงได้จัดทำโครงการ “ส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในเด็กก่อนวัยเรียน ตำบลเกาะจันอำเภอมายอจังหวัดปัตตานี ครั้งที่ 4ปีงบประมาณ 2560”ขึ้น เพื่อส่งเสริมป้องกันการเกิดฟันผุในระยะเริ่มแรกของเด็ก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่ออบรมผู้ปกครองให้มีความรู้มีความตระหนักในการดูแลทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน

ร้อยละ 50 ผู้ปกครองมีความรู้มีความตระหนักในการดูแลทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน

35.00
2 2. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดูแลทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนที่บ้านได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 60 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดูแลทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนที่บ้านได้อย่างถูกต้อง

40.00
3 3. เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความคุ้นชินต่อการดูแลสุขภาพช่องปากโดยผู้ปกครอง

ร้อยละ 50 ส่งเสริมให้เด็กมีความคุ้นชินต่อการดูแลสุขภาพช่องปากโดยผู้ปกครอง

25.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เขียนโครงการและกำหนดแผนปฏิบัติงาน
    1. ติดต่อประสานงานกับองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะจัน อำเภอมายอจังหวัดปัตตานี เพื่อเสนอโครงการในการขออนุมัติงบประมาณ
    2. ประชุมวางแผนการปฏิบัติงานกับเครือข่ายอสม.
    3. ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านเครือข่ายอสม.
    4. จัดเตรียมสื่อทันตสุขภาพ วัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ
    5. อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กและสาธิตการแปรงฟันแก่ผู้ปกครอง โดยแบ่งการอบรบออกเป็น 4 กลุ่มตามช่วงอายุเด็ก (กลุ่มที่ 1 เด็กอายุ 0- 11 เดือน กลุ่มที่ 2 เด็กอายุ 1-1.6 ปี กลุ่มที่ 3 เด็กอายุ 1.7-2.6 ปี และกลุ่มที่ 4 เด็กอายุ 2.7-3 ปี)โดยจัดอบรม 1 กลุ่ม/วัน
    6. ผู้ปกครองฝึกทักษะการแปรงฟันในเด็กก่อนวัยเรียนเป็นรายบุคคล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กก่อนวัยเรียนได้รับการดูแลทันตสุขภาพจากผู้ปกครองอย่างถูกวิธี
    1. ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลทันตสุขภาพ และมีส่วนร่วมในการดูแลทันตสุขภาพเด็กที่บ้าน
    2. เด็กก่อนวัยเรียนเกิดความคุ้นชินต่อการดูแลสุขภาพช่องปากโดยผู้ปกครอง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 2560 10:42 น.