กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการขยะรีไซเคิลปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรค
รหัสโครงการ 60-L3001-4-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านเกาะจัน
วันที่อนุมัติ 21 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2560
งบประมาณ 24,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนบ้านเกาะจัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะจัน อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.723,101.382place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2560 30 ก.ย. 2560 24,600.00
รวมงบประมาณ 24,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาการกำจัดขยะที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นตลอดเวลา และยังไม่สามารถหาทางออกที่ดีได้ แม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพยายามหาวิธีการกำจัด และ ของเสียอันตรายจากบ้านเรือนเป็นปัญหาสำคัญ ครัวเรือนเป็นแหล่งกำเนิด ของของเสีย อันตรายจากชุมชนประมาณ 1 ใน 4 ของทั้งหมด ซึ่งจากปัญหาขยะดังกล่าวส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพมากขึ้นเช่นกัน โรคภัยที่เกิดจากขยะมูลฝอยได้แก่ โรคระบบทางเดินอาหาร
โรคจากสัตว์แมลง โรคจากการติดเชื้อ โรคภูมิแพ้ โรคปวดศีรษะคลื่นไส้และอาเจียนเกิดจากกลิ่นเน่า โรคมะเร็งเนื่องจากได้รับสารพิษต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน และผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย
โรงเรียนบ้านเกาะจัน เห็นถึงความสำคัญในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าซึ่งกิจกรรมที่สามารถมองเห็นได้เด่นชัดได้แก่การรณรงค์ให้คัดแยกขยะการเลือกและการวางแผนการจัดการขยะที่เหมาะสมการลดปริมาณขยะและการนำขยะรีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่อย่างคุ้มค่าถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ควรพิจารณาควบคู่กันไปด้วยอย่างไรก็ตามความสำเร็จของการคัดแยกขยะเพื่อหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่นี้ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของบุคคลที่มีผลพวงมาจากการให้การศึกษาอย่างถูกวิธีซึ่งกิจกรรมหนึ่งที่จะก่อให้เกิดความร่วมมือและพร้อมใจกันฝึกฝนอย่างใส่ใจและเกิดประโยชน์โดยตรงและทันทีนั่นก็คือกิจกรรมธนาคารขยะรีไซเคิล และเพื่อป้องกันไม่ให้นักเรียนเกิดโรคจากขยะมูลฝอย จึงต้องมีการจัดการแหล่งขยะที่ถูกสุขลักษณะเพื่อการป้องกันโรค โดยการสร้างความเข้าใจ ความตระหนัก ภายใต้ความร่วมมือของนักเรียนชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันโรคภัยที่จะเกิดจากขยะได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 นักเรียนและบุคลากรของโรงเรียนเกิดแนวที่ดีต่อการจัดการขยะมูลฝอยและเข้าใจคุณค่าของสิ่งต่าง ๆว่าวัสดุบางประเภทสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายครั้งหรือสามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้

ร้อยละ80ของนักเรียนและบุคลากรของโรงเรียนเกิดแนวที่ดีต่อการจัดการขยะมูลฝอยและเข้าใจคุณค่าของสิ่งต่าง ๆว่าวัสดุบางประเภทสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายครั้งหรือสามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้

50.00
2 ได้แนวทางและรูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อปลูกจิตสำนึกด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาของท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

ร้อยละ80ของนักเรียนและบุคลากรของโรงเรียนได้แนวทางและรูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อปลูกจิตสำนึกด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาของท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

50.00
3 การมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากภูมิปัญญาของบุคลากรหน่วยงานและองค์กรในท้องถิ่น

ร้อยละ80ของนักเรียนและบุคลากรของโรงเรียนได้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากภูมิปัญญาของบุคลากรหน่วยงานและองค์กรในท้องถิ่น

50.00
4

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการและหน้าที่รับผิดชอบ 2 ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดพื้นที่เป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ - แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ - ประชาสัมพันธ์โครงการและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3 ประชุมชี้แจงแนวทางการจัดการขยะในโรงเรียน และการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้โรงเรียนน่าอยู่ 4 จัดเตรียมสื่อการจัดการขยะ เครื่องมือและอุปกรณ์ในการจัดการขยะเปียก (ด้วยการหมักในวงปูน) และการแยกขยะแห้งเพื่อการนำกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ (การจัดเก็บและกำจัดด้วยถังขยะแยกประเภท และการแปรรูปขยะให้เป็นประโยชน์)
5 แต่งตั้งคณะทำงาน ตัวแทนนักเรียนหรือผู้นำที่สนใจและมีความสามารถในการทำงานด้านปรับปรุงสิ่งแวดล้อม และจัดประชุมเพื่อกำหนดแนวทางทำงานร่วมกัน 6 จัดอบรมให้ความรู้และหาแนวทางในการจัดการขยะ และการจัดการขยะและการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสม ตามสื่อการสอนที่เตรียมไว้ ให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ และกำหนดแนวทางในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมของบ้านนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการให้เหมาะสมระหว่างเจ้าของบ้านและคณะทำงาน เพื่อให้สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนได้ 7 ตรวจประเมินห้องเรียนจัดการขยะรอบที่ 2 เพื่อค้นหาข้อดีของการจัดการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมพร้อมจัดทำแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ
8 ประชาสัมพันธ์บ้านที่เข้าร่วมโครงการและสามารถเป็นบ้านจัดการขยะแหล่งเรียนรู้ของชุมชน ผ่านข่าวประชาสัมพันธ์ของชุมชน และในที่ประชุมระดับหมู่บ้านและตำบล
9ติดประกาศในหมู่บ้าน และแจกแผ่นพับให้ช่วยกันรณรงค์กำจัดขยะมูลฝอย 10. ประเมินผลการดำเนินงานและ สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะจัน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1นักเรียนและบุคลากรของโรงเรียนเกิดแนวที่ดีต่อการจัดการขยะมูลฝอยและเข้าใจคุณค่าของสิ่งต่าง ๆว่าวัสดุบางประเภทสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายครั้งหรือสามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้ 2ได้แนวทางและรูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อปลูกจิตสำนึกด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาของท้องถิ่นอย่างยั่งยืน 3การมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากภูมิปัญญาของบุคลากรหน่วยงานและองค์กรในท้องถิ่น 4 อัตราป่วยด้วยโรคจากขยะมูลฝอยในชุมชนลดลง 5. มีบ้านตัวอย่าง แหล่งเรียนรู้กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ 6 ประชาชนสุขภาพดีด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 2560 10:43 น.