โครงการชาวกายูร่วมแก้ปัญหาแม่และเด็ก
ชื่อโครงการ | โครงการชาวกายูร่วมแก้ปัญหาแม่และเด็ก |
รหัสโครงการ | 60-L4153-1-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน โรงพยาบาลรามัน |
วันที่อนุมัติ | 2 มิถุนายน 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 6 กรกฎาคม 2560 - 6 กรกฎาคม 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 9,950.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสีตีแอเส๊าะ ยูโซ๊ะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | - |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกายูบอเกาะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.476,101.413place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 70 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
อนามัยแม่และเด็กเป็นบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาคุณภาพประชากร ซึ่งเริ่มตั้งแต่การดูแลครรภ์ เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดอย่างมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัยและมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ต่อเนื่องถึงการให้การดูแลเด็กในช่วงปฐมวัย ซึ่งเป็นทรัพยากรอันทรงคุณค่าและเป็นอนาคตของชาติ ตวรให้การเลี้ยงดูให้เจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่สมวัย ทั้งร่างกาน จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พัฒนาชุมชนและสังคมให้สนับสนุนและส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จากการวิเคราะห์สถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กของกลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนโรงพยาบาลรามันพบว่าทารกแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม จำนวน 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 11.12 ซึ่งเกณฑ์ต้องไม่เกินร้อยละ 7 สาเหตุเกิดจากการที่ขณะตั้งครรภ์มารดามีน้ำหนักตัวตลอดการตั้งครรภ์ต่ำกว่าเกณฑ์ คลอดก่อนกำหนด มาดาเป็นความดันโลหิตสูงและเบาหวาน หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด แนวทางการดูแลและป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าว คือ ต้องให้การดูแลที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการฝากครรภ์คุณภาพ และส่งเสริมการดูแลหลังคลอด การมีส่วนร่วมของชุมชนมีเครือข่ายที่เข้มแข็ง งานอนามมัยแม่และเด็ก โรงพยาบาลรามันได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพแม่และเด็ก แบบองค์รวมให้ประสบความสำเร็จและมีคุณภาพจึงได้จัดทำโครงการชาวกายูร่วมแก้ปัญหาแม่และเด็ก เพื่อดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ ที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสมตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและระยะหลังคลอด หญิงตั้งครรภ์ ที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสมตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและระยะหลังคลอด ร้อยละ 70 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
6 ก.ค. 60 | - ประชุม/อบรมหญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ในการดูแลสุขภาพของตนเองและบุตรและออกติดตาม/เฝ้าระวังหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหาโดยอาสาสมัครสาธารณสุขหรือแม่อาสา | 70 | 9,950.00 | ✔ | 9,950.00 | |
รวม | 70 | 9,950.00 | 1 | 9,950.00 |
- จัดทำโครงการ ประชุมเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการ
- เสนอโครงการต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลกายูบอเกาะ
- ดำเนินการตามแผนงานโครงการ
- ประชุม/อบรมหญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ในการดูแลสุขภาพของตนเองและบุตร - ออกติดตาม/เฝ้าระวังหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหาโดยอาสาสมัครสาธารณสุขหรือแม่อาสา 4. สรุปผลการดำเนินงานและรายงานผล 5. ประเมินผลโครงการ
- หญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลตนเองและบุตรได้ถูกต้อง
- อัตราการคลอดบุตรน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม น้อยกว่าร้อยละ 7
- หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 13 สัปดาห์และฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์
- หญิงตั้งครรภ์ตระหนักและเห็นความสำคัญในการฝากครรภ์ำ การคลอดในโรงพยาบาลและการดูแลหลังคลอด
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 2560 11:53 น.