กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L8406-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 10,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายซอหมาด บาหลัง
พี่เลี้ยงโครงการ นายวรวิทย์ กาเสมสะ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานสุรา , แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 88 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็ก 0- 5 ปี ที่เฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก (คน)
474.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย พบว่าจากข้อมูลล่าสุด ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน ในเขตอำเภอควนโดน จังหวัดสตูล(2561,2562,2563งวดที่4)พบว่าเด็กสูงดีสมส่วนมีเพียงร้อยละ47.36,53.76,70.86 ตามลำดับ ซึ่งยังต้องติดตามภาวะโภชนาการในกลุ่มที่มีภาวะทุพโภชนาการต่อไป สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ เกิดจากการขาดสารอาหารเรื้อรัง ซึ่งข้อมูลวิชาการในหลายประเทศระบุว่าเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ที่มีภาวะเตี้ยทำให้มีภูมิต้านทานต่ำ ส่งผลให้ติดเชื้อได้ง่าย เจ็บป่วยบ่อย ป่วยนาน และรุนแรง มีโอกาสเสียชีวิตได้ นอกจากนี้เด็กที่มีน้ำหนักน้อย หรือเด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์หรืออ้วน มีความเสี่ยงสูงที่จะป่วยเป็นโรคเรื้อรังเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ เช่น โรคกระดูกพรุน โรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดอีกด้วย และยังพบว่ามีผลต่อการพัฒนาการของร่างกายและสมอง ส่งผลให้พัฒนาการล่าช้า และความสามารถในการเรียนรู้บกพร่อง การพัฒนาคนให้เจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพต้องเริ่มตั้งแต่ช่วงแรกเกิดถึง 5 ปี จึงต้องมีการตรวจคัดกรองตามคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก(DSPM) ของกระทรวงสาธารณสุข ตามช่วงอายุ9,18,30,42และ60เดือน อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าได้รับการแก้ไขและส่งต่อไปยังโรงพยาบาลศุนย์ทันที
จากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี พบว่าเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน ในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา(ก.ค.-ก.ย.ปีงบประมาณ 2563) จำนวนเด็กที่เฝ้าระวังทั้งหมด 474 คน พบว่าเด็กที่เสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ 65 คน คิดเป็นร้อยละ 12.06 และสงสัยพัฒนาการล่าช้า(ก.ค.-ก.ย.ปีงบประมาณ2563) คิดเป็นร้อยละ 22.83 ซึ่งยังต้องได้รับการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เพื่อให้เด็กมีภาวะโภชนาการที่สมวัย ส่งผลให้สมองและพัฒนาการที่ดีขึ้น และการดำเนินงานแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมภาวะโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดนจึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี

ร้อยละ60 เด็ก 0-5 ปีได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง มีส่วนสูงอยู่ในระดับดี รูปร่างสมส่วน

60.00 60.00
2 เพื่อให้เด็กช่วงอายุ 9,18,30,42 และ 60 เดือน ได้รับการตรวจคัดกรองพัฒนาการ และส่งต่อในรายที่มีความผิดปกติ

ร้อยละ80 เด็กช่วงอายุ 9,18,30,42 และ 60 เดือน ในพื้นที่รับผิดชอบ ได้รับการตรวจคัดกรองพัฒนาการ และส่งต่อในรายที่มีความผิดปกติ

80.00 80.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจถึงภาวะโภชนาการและมีการส่งเสริมพัฒนาการสมวัย

ร้อยละ80 ผู้ปกครองเด็ก 0-5ปี มีความรู้ ความเข้าใจถึงภาวะโภชนาการและมีการส่งเสริมพัฒนาการสมวัย

80.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,600.00 0 0.00
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้ปกครองเด็ก เรื่องแนวทางการส่งเสริมโภชนาการและพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี 0 10,600.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็ก 0-5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ
2.เด็กช่วงอายุ 9,18,30,42 และ 60 เดือน ได้รับการตรวจคัดกรองพัฒนาการ
3.ผู้ปกครองเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลเด็กด้านโภชนาการและการส่งเสริมพัฒนาการสมวัย
4.เด็ก0-5 ปี สูงดีสมส่วน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2563 11:10 น.