กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนสะอาด ปราศจากโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L8406-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 31,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายซอหมาด บาหลัง
พี่เลี้ยงโครงการ นายวรวิทย์ กาเสมสะ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 7547 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อ ที่มีปัจจัยองค์ประกอบของการเกิดโรค ประกอบด้วย บุคคล เชื้อโรค พาหนะนำโรค และสิ่งแวดล้อม ซึ่งในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ จะต้องควบคุมปัจจัยดังกล่าว ไม่ให้เอื้อต่อการเกิดโรค คือบุคคล ต้องมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ เชื้อโรคต้องไม่มีหรือมีจำนวนน้อย พาหนะนำโรคไม่มีหรือมีน้อยและที่สำคัญคือสิ่งแวดล้อม ต้องถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของบุคคลต้องสะอาดถูกสุขลักษณะ จึงจะทำให้ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรค และการปรับปรุงควบคุมหรือรักษาสภาพแวดล้อม ให้สะอาดถูกสุขลักษณะเป็นสิ่งที่ประชาชนในทุกหมู่บ้าน/ทุกชุมชนทำได้ปฏิบัติได้ในวิถีชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลแต่ละหลังคาเรือน ซึ่งหมู่บ้านใดชุมชนใดมีการปรับปรุงรักษาความสะอาดของที่พักอาศัยให้ได้มาตรฐานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ก็จะเป็นการป้องกันโรคติดต่อต่างๆในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุก โดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูล รง. 506 ของงานระบาดวิทยา โรงพยาบาลควนโดน ได้รายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ในปี 2561 พบผู้ป่วยจำนวน 48 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 564.70 ต่อประชากรแสนคน ปี 2562 พบผู้ป่วยจำนวน 67 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 701.50 ต่อประชากรแสนคน และปี 2563 พบผู้ป่วยจำนวน 6 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 79.50 แต่ยังไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต โดยพบเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และกลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือ 5-9 ปี, 35-44 ปี และ 65 ปีขึ้นไปตามลำดับ พบผู้ป่วยสูงที่สุดในเดือน กรกฎาคม – สิงหาคม หมู่บ้านที่พบผู้ป่วยสูงสุดคือ หมู่ 6 หมู่ 9 และหมู่ 1 ตามลำดับ จากผลการดำเนินงานโครงการรวมพลังชุมชนตำบลควนโดน ป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2563 พบว่าดัชนีลูกน้ำยุงลายที่ได้สุ่มสำรวจ โดยอาสาสมัครสาธารณสุข สำรวจ 3 ครั้ง ทั้งหมด 8 หมู่บ้าน โดยครั้งที่ 3 พบหมู่บ้านที่ผ่านเกณฑ์ ค่า HI ต่ำกว่า 10 ตามเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งหมด 4 หมู่บ้าน และยังมีอีก 4 หมู่บ้านที่ยังมีค่า HI สูงกว่า 10 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 87.5 ของหมู่บ้านทั้งหมด และจากผลการสำรวจลูกน้ำยุงลาย ในสถานที่ราชการ โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และ มัสยิด จำนวน 12 แห่ง พบว่า มีค่า CI = 0 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน (ค่า HI) ไม่เกิน 10 อย่างน้อยร้อยละ 80 ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน (ค่า HI) ไม่เกิน 10 อย่างน้อยร้อยละ 80 ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ

50.00 80.00
2 เพื่อลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน (C.I.) เป็น ๐ ร้อยละ ๑๐๐ ของโรงเรียน ในเขตรับผิดชอบ

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน (C.I.) เป็น ๐ ร้อยละ ๑๐๐ ของโรงเรียน ในเขตรับผิดชอบ

70.00 100.00
3 เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมปลอดจากขยะและแหล่งแพร่กระจายโรคในชุมชน

จำนวนหลังคาเรือนที่เข้าร่วมโครงการ มากกว่าร้อยละ 70

50.00 70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 31,800.00 0 0.00
1 - 15 มิ.ย. 64 อบรมเชิงปฏิบัติการโรงเรียนสะอาด ห่างไกลจากโรคไข้เลือดออก 0 8,000.00 -
16 - 30 มิ.ย. 64 การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก 0 11,800.00 -
16 - 30 มิ.ย. 64 กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ลดโรคไข้เลือดออก 0 12,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน (ค่า HI) ไม่เกิน 10 อย่างน้อยร้อยละ 80 ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ
  2. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด (CI) เป็น ๐ ร้อยละ ๑๐๐ ของโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด ในเขตรับผิดชอบ
  3. ชุมชน ศาสนสถาน และในโรงเรียน มีสภาพแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัยจากโรคที่มียุงเป็นพาหะนำโรค และปลอดจากขยะและแหล่งแพร่กระจายโรคในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2563 11:14 น.