กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมและเฝ้าระวังทันตสุขภาพในเด็กชั้นประถมศึกษา ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L8406-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 20,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายซอหมาด บาหลัง
พี่เลี้ยงโครงการ ยาบวรวิทย์ กาเสมสะ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 306 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคฟันผุจัดเป็นโรคติดต่อ เพราะเกิดจากเชื้อโรค และติดต่อกันได้ทางน้ำลาย โดยกระบวนการเกิดโรค จำเป็นจะต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 3 อย่างด้วยกัน ได้แก่ ตัวฟัน เชื้อจุลินทรีย์ และสภาวะความเป็นกรดภายในช่องปาก การที่ฟันผุ หรือเหงือกอักเสบนั้น ต้องใช้เวลานานกว่าจะแสดงอาการ สิ่งที่จะมาเสริมสร้างความแข็งแรงของฟันได้ จะต้องดูแลรักษา และรับประทานอาหารให้ถูกต้อง ตั้งแต่เริ่มแรก และเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ
เด็กประถมศึกษาถือเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญของงานสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก เพราะเป็นช่วงวัยที่เริ่ม มีการเปลี่ยนแปลงชุดฟันในช่องปากจากฟันน้ำนมเป็นฟันถาวร ฟันที่เริ่มขึ้นมาในช่องปาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟันกรามถาวรซี่แรกที่ขึ้นเมื่อเด็กอายุประมาณ 6 ปี จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุสูงมาก เพราะการสะสมแร่ธาตุที่ผิวฟันยังไม่สมบูรณ์ และเด็กยังไม่สามารถแปรงฟันได้อย่างมีคุณภาพ ที่สำคัญคือช่วงวัยนี้ เป็นช่วงวัยของการพัฒนาวินัย บุคลิกภาพ และพฤติกรรม เป็นช่วงวัยที่เหมาะสมแก่การฝึกทักษะ และปลูกสร้างลักษณะนิสัยที่ดีให้เกิดขึ้น เป็นช่วงเวลาทองของการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ซึ่งต้องมีการพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยเน้นคุณภาพ สำหรับสุขนิสัยที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปาก ได้แก่ การรู้จักดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองอย่างเป็นกิจวัตรด้วยการแปรงฟัน และการบริโภคอาหาร ที่เหมาะสม
ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล เป็นพื้นที่ที่พบปัญหาโรคฟันผุในเด็กประถมศึกษา จากข้อมูลการตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนตามระบบเฝ้าระวังทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา ตั้งแต่ปี 2560 ถึง 2563 พบว่าเด็กอายุ 6-12 ปี มีฟันแท้ผุเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 33.75 35.67 52.23 และ53.88 ตามลำดับ ซึ่งในปี 2563 พบฟันแท้ผุมากในเด็กอายุ 6 9 และ12 ปี คิดเป็นร้อยละ15.33 21.43 และ 35 ตามลำดับ ทั้งนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดนได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงจัดทำโครงการส่งเสริมและเฝ้าระวังทันตสุขภาพในเด็กชั้นประถมศึกษา ปีงบประมาณ 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากของนักเรียนอย่างจริงจังตามบริบทและวิถีการดําเนินชีวิตในพื้นที่ และเพื่อให้เด็กมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กสามารถแปรงฟันอย่างถูกวิธี ตลอดจนปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในด้านสุขภาพช่องปาก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 มีทักษะในการแปรงฟันอย่างถูกวิธีตลอดจนมีระดับค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์(Plaque index)ลดลง

ร้อยละ 85 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 มีทักษะในการแปรงฟันอย่างถูกวิธีตลอดจนมีระดับค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์(Plaque index)ลดลง

70.00 85.00
2 เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ได้รับบริการเคลือบหลุมร่องฟัน และเคลือบ/ทาฟลูออไรด์เฉพาะที่

ร้อยละ 50 ของนักเรียนได้รับการเคลือบ/ทาฟลูออไรด์เฉพาะที่ (4-12 ปี) และได้รับการเคลือบหลุมร่องฟัน (ุ6-12 ปี)

35.00 50.00
3 เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 มีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก และตรวจคัดกรองโรคในช่องปากเบื้องต้นได้

นักเรียนมีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก หลังการอบรม มากกว่าร้อยละ 80

60.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,700.00 0 0.00
16 - 30 มิ.ย. 64 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโรคในช่องปาก และการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง 0 20,700.00 -
16 - 30 มิ.ย. 64 กิจกรรมหมอน้อยรู้ทันฟันผุ 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละ85 ของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1 - 6 มีทักษะการแปรงฟันอย่างถูกวิธี และมีค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์(Plaque Index)ลดลง
  2. ร้อยละ 50 ของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6ได้รับการเคลือบ/ทาฟลูออไรด์เฉพาะที่ในเด็กวัยเรียน (4-12 ปี) และเคลือบหลุมร่องฟันในเด็กวัยเรียน (ุ6-12 ปี)
  3. นักเรียนมีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก หลังการอบรม มากกว่าร้อยละ 80
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2563 11:52 น.