กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปี 2564
รหัสโครงการ 2564-L3351-01-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย
วันที่อนุมัติ 21 กันยายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2563 - 31 กรกฎาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2564
งบประมาณ 42,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปานิมาส รุยัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2962 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน(ต่อแสนประชากร)
168.80
2 จำนวนหมู่บ้านที่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก
3.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อนำโดยแมลง ซึ่งมียุงเป็นพาหะนำโรค สามารถพบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี แต่มักพบการระบาดในฤดูฝนผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงลอยตลอดเวลาหน้าแดงปวดศีรษะเบื่ออาหารอาเจียนซึมถ้ารักษาไม่ทันอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2563 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-8 ก.ค. 63 มีรายงานผู้ป่วยทั่วประเทศ 25,708 ราย เสียชีวิต 15 ราย กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ 15-24 ปี รองลงมาคือ 10-14 ปี และ 25-34 ปี ตามลำดับ การพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพ คาดว่าในช่วงนี้มีโอกาสพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น แม้ว่าจำนวนผู้ป่วย ณ ช่วงเวลาเดียวกันในปี 2563 จะมีรายงานผู้ป่วยน้อยกว่า ปี 2562 ก็ตาม แต่ประเทศไทยจะมีฝนตกหนักและฝนตกสะสมหลายพื้นที่ ซึ่งหากฝนตกอาจทำให้เกิดน้ำขังตามภาชนะและวัสดุต่างๆ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายได้ สำหรับจังหวัดพัทลุง ตั้งแต่ 1 มกราคม – 16 ตุลาคม 2563 มีผู้ป่วย จำนวน 328 ราย คิดมีอัตราป่วย 62.49 ต่อแสนประชากร มี อำเภอเมืองพัทลุง มีผู้ป่วยทั้งหมด 87 คน คิดเป็นอัตราป่วย 71.62 ต่อแสนประชากร เป็นอันดับที่ 5 ของจังหวัด (สำนักงานสาธารณสุขจังฟวัดพัทลุง, 2563) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย ตำบลโคกชะงายอำเภอเมืองจังหวัดพัทลุงมีหมู่บ้านที่รับผิดชอบทั้งหมด 6 หมู่บ้านจำนวน 810 หลังคาเรือนโรงเรียน 1 แห่งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง วัด 2 แห่ง จากข้อมูลรายงาน 506 ตั้งแต่ 1 มกราคม – 16 ตุลาคม 2563 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดทุกชนิด ทั้งหมด 6 ราย ซึ่งเดือนกุมภาพันธ์ และมิถุนายน มีการระบาดของโรคมากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง กลุ่มอายุที่ป่วยมากที่สุด คือ กลุ่มอายุ 15-19 ปี รองลงมา คือ กลุ่มอายุ 10 – 14 ปี เมื่อจำแนกรายหมู่บ้าน พบว่า หมู่ที่ 2และหมู่ 4 มีผู้ป่วยมากที่สุด จำนวน 11 ราย รองลงมาคือ หมู่ที่ ค จำนวนราย ทุกๆปี ชุมชนได้ดำเนินการกิจกรรม ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในชุมชน ร่วมดำเนินการในรณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและควบคุมโรคกรณีมีผู้ป่วย จากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า ดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชนยังเกินค่ามาตรฐาน (HI ≤10) ภาชนะแห่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายส่วนใหญ่ เป็นภาชนะเหลือใช้บริเวณรอบบ้าน เช่น ยางรถยนต์ แก้วน้ำพลาสติก ขวดน้ำ เป็นต้น และยังพบว่าประชาชนในบางครัวเรือนยังขาดความตระหนักการจัดสภาพแวดล้อมทั้งในบ้านและรอบบ้านให้เรียบร้อย และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำที่บ้านของตนเองอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ตำบลโคกชะงายยังคงมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข ได้ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนจากโรคไข้เลือดออก จึงจัดโครงการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปี 2564 ขึ้น เพื่อดำเนินงานป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ โดยเน้นให้ชุมชนประชาชนโรงเรียนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ช่วยลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านส่งผลให้อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกในตำบลโคกชะงายลดลง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว มีความรู้และปฏิบัติงานตามมาตรการควบคุมโรคได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 80 พัฒนาทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วทุกคนมีความรู้และปฏิบัติงานตามมาตรการควบคุมโรคได้อย่างถูกต้อง

70.00 80.00
2 เพื่อลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในชุมชนไม่เกินร้อยละ 10

ลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในชุมชนไม่เกินร้อยละ 10

12.00 10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 42,550.00 4 0.00
1 ธ.ค. 63 - 31 ก.ค. 64 รณรงค์และควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน 0 32,450.00 -
20 ธ.ค. 63 รณรงค์ควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน 0 0.00 0.00
12 มี.ค. 64 พัฒนาทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว 0 10,100.00 -
12 มี.ค. 64 พัฒนาทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว 0 0.00 0.00
12 มี.ค. 64 พัฒนาทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว 0 0.00 0.00
12 มี.ค. 64 พัฒนาทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ทุกหลังคาเรือนทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย
  • ลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในชุมชนไม่เกินร้อยละ 10
  • พัฒนาทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วทุกคนมีความรู้และปฏิบัติงานตามมาตรการควบคุมโรคได้อย่างถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2563 00:00 น.