กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมความปลอดภัยในสถานศึกษา
รหัสโครงการ 64-L3326-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองการศึกษา เทศบาลตำบลแหลมโตนด
วันที่อนุมัติ 18 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 มกราคม 2564 - 17 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 102,090.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรัตนาภรณ์ คงมี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานสุรา , แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานความปลอดภัยทางถนน , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 115 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 160 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 385 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 สถิติปี 2562 จังหวัดพัทลุง มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จมน้ำเสียชีวิต อัตราการเสียชีวิต(คน) ต่อประชากรจำนวน100,000คน
5.40
2 สถิติปี 2562 อัตราการสวมหมวกนิรภัยของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ที่เป็นเด็กในประเทศไทย อัตราร้อยละ
8.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ความปลอดภัยของเด็กถือเป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานศึกษาและชุมชนซึ่งเป็นหน่วยทางสังคมที่ใกล้ชิดเด็กมากที่สุด การที่เด็กจะเป็นคนดี มีความสุข และเป็นคนเก่งของสังคมนั้นคงจะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาดซึ่งความปลอดภัยในชีวิต ซึ่งปัจจุบันอัตราการเสียชีวิตจากการตกน้ำ จมน้ำ ของเด็กมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2542 – 2548 และเริ่มลดลงตั้งแต่ปลายปี 2549 หลังจากกรมควบคุมโรคและภาคีเครือข่ายเริ่มดำเนินการป้องกัน อย่างไรก็ตามแม้ว่าจำนวนการจมน้ำจะลดลงแต่ยังคงลดลงอย่างช้าๆ โดยเฉพาะช่วงเด็ก 5 – 15 ปี พบว่าลดลงน้อยมาก ทั้งนี้หากยังเป็นเช่นนี้ต่อไปในอีก ๑๐ ปี ข้างหน้า ประเทศไทยจะยังคงสูญเสียเด็กไปอีกเกือบ 13,000 คน จากสาเหตุการจมน้ำ สถิติอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ของจังหวัดพัทลุง ปี 2562 มีเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ จำนวน 5 ราย คิดเป็น5.4 รายต่อประชากร 100,000คน
ทั้งนี่้รัฐบาลมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่สำคัญ ๓ ประการ ให้มีการบริหารจัดการให้มีการดำเนินงานการป้องกันเด็กจมน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ มีการดำเนินงานตามมาตรการดำเนินงานการป้องกันเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำภายใต้อำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน ผ่านการรับรองตามมาตรฐาน จากสำนักงานควบคุมโรคไม่ติดต่อสำหรับการดำเนินงานป้องกันเด็กจมน้ำ 1) ควรให้เด็กทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป ได้เรียนหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด (ความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำการเอาชีวิตรอด และวิธีการช่วยเหลือ) เป็นหลักสูตรภาคบังคับสำหรับเด็ก 2) ควรออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ สำหรับท้องถิ่นในการขุดแหล่งน้ำเพื่อใช้ประโยชน์ในพื้นที่ ต้องมีมาตรการในการป้องกันเพื่อไม่ให้แหล่งน้ำดังกล่าวกลายเป็นแหล่งน้ำสี่ยงของชุมชน เช่นเดียวกับแหล่งน้ำที่จัดให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว (น้ำตก ทะเล อ่างเก็บน้ำ สวนน้ำ) และสระว่ายน้ำ จำเป็นต้องกำหนดให้มีมาตรการความปลอดภัย เช่น การมีเจ้าหน้าที่ (Lifeguard) ดูแล การมีกฎระเบียบให้ผู้มารับบริการทุกคนต้องสวมเสื้อชูชีพทุกครั้งที่เดินทางหรือทำกิจกรรมทางน้ำ การมีอุปกรณ์ช่วยคนตกน้ำติดตั้งไว้เป็นระยะและสามารถเข้าถึงได้ง่าย การมีป้าย/ธงแจ้งเตือน (ห้ามลงเล่นน้ำ น้ำลึก น้ำวน) ป้ายบอกระดับความลึกของน้ำ 3) ควรให้ทุกหน่วยงานในพื้นที่มีการสร้างทีมผู้ก่อการดีภาคีแหลมโตนด เพื่อดำเนินงานป้องกันการจมน้ำ อย่างน้อยตำบลละ 1 ทีม เพื่อให้เกิดการ บูรณาการการดำเนินงานป้องกันการจมน้ำของหน่วยงานและภาคส่วนต่างๆ ครอบคลุมทุกมาตรการในระดับพื้นที่ และเน้นการใช้ทรัพยากรร่วมกัน เทศบาลตำบลแหลมโตนดเห็นความสำคัญในการส่งเสริมความปลอดภัยของเด็กและเยาวชนในตำบลจึง ได้จัดโครงการส่งเสริมความปลอดภัยในสถานศึกษาขึ้นเพื่อรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำรณรงค์ความปลอดภัยสวมใส่หมวกกันน็อคซักซ้อมแผนป้องกันอัคคีภัยและป้องกันเด็กติดในรถยนต์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาทักษะการว่ายน้ำหรือการลอยตัวในน้ำสำหรับเด็ก อายุ 7 - 16 ปี

ร้อยละของเด็กอายุ 7-16 ปี สามารถว่ายน้ำหรือลอยตัวในน้ำได้

146.00 160.00
2 เพื่อพัฒนาทักษะการช่วยเหลือคนตกน้ำได้ (ตะโกนโยน ยื่น) สำหรับประชาชน

ร้อยละของประชาชน สามารถช่วยเหลือคนตกน้ำได้ (ตะโกนโยน ยื่น)

146.00 360.00
3 เพื่อพัฒนาทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) สำหรับเด็กอายุประชาชน

ร้อยละของผู่เข้ารับการฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) ได้อย่างถูกต้อง

146.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1685 102,090.00 2 51,500.00
2 ก.พ. 64 - 30 ก.ย. 64 รณรงค์ประชาสัมพันธ์มาตรการสร้างความปลอดภัยและจัดการแหล่งน้ำเสี่ยงในสถานศึกษาและชุมชน 1,000 51,740.00 51,500.00
8 ก.พ. 64 - 17 ก.ย. 64 ส่งเสริมความปลอดภัยและป้องกันเด็กจมน้ำสำหรับเด็กในศูนพัฒนาเด็กเล็ก 115 0.00 0.00
19 - 22 เม.ย. 64 ฝึกอบรมทักษะการว่ายน้ำ/ลอยตัวในน้ำสำหรับเด็กอายุ 7 - 16 ปี 160 32,000.00 -
23 เม.ย. 64 ฝึกอบรมทักษะการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) การตะโกน โยน ยื่น และการว่ายน้ำ/การลอยตัวในน้ำสำหรับวิทยากร ครู ก 25 6,850.00 -
26 เม.ย. 64 - 7 พ.ค. 64 ฝึกอบรมทักษะการการตะโกน โยน ยื่น และการว่ายน้ำ/การลอยตัวในน้ำสำหรับประชาชน 360 9,000.00 -
14 พ.ค. 64 ประชุมทีมผู้ก่อการดีภาคีแหลมโตนดและวิทยากรครู ก. 25 2,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กอายุ 13 - 15 ปี สามารถว่ายน้ำ/ลอยตัวในน้ำได้
  2. เด็กอายุ 13 - 15 ปี สามารถช่วยเหลือคนตกน้ำ (ตะโกนโยน ยื่น)ได้
  3. เด็กอายุ 13 - 15 ปี สามารถปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) ได้
  4. เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเรียนรู้การหนีภัย สามารถเปิดประตูหรือส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือกรณีติดอยู่ในรถยนต์ และเรียนรู้อย่าใกล้อย่าเก็บอย่าก้ม
  5. ทีมผู้ก่อการดีภาคีแหลมโตนดและทีมวิทยากรครู ก. มีความเข้มแข็ง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2563 11:46 น.