กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตลาดดีมีมาตรฐาน ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L6895-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 29,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาธร อุคคติ
พี่เลี้ยงโครงการ นางงสมใจ เป้าทอง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และนวัตกรรมสะท้อนให้เห็นว่ามีผลกระทบต่อ ระบบการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะด้านอาหารซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ การได้รับอาหารที่มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย เป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิต ของประชาชน การดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยจึงเป็นวาระสำคัญที่ทั่วโลกให้ความสำคัญมาโดยตลอด จากรายงานสถานการณ์ความปลอดภัยด้านอาหาร ณ สถานที่จำหน่ายในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปีงบประมาณ 2562 พบว่า การตรวจเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหารของ กรุงเทพมหานคร ระหว่างปี 2557 - 2561 พบว่าสถานการณ์ การปนเปื้อนของเชื้อ E.coli มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยในปี 2557 พบเชื้อ E.coli ร้อยละ 14.4 ปี 2558 พบเชื้อ E.coli ร้อยละ 22.43 ปี 2559 พบเชื้อ E.coli ร้อยละ 17.74 ปี 2560 พบเชื้อ E.coli ร้อยละ 48.39 และปี 2561 พบเชื้อ E.coli ร้อยละ 57.3 การตรวจเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านเคมี ปี 2557 - 2561 พบว่าสถานการณ์การปนเปื้อนสารเคมี 4 ชนิด ได้แก่ บอแรกซ์ สารกันรา สารฟอกขาว และยาฆ่าแมลงตกค้างในผักและผลไม้มีแนวโน้มลดลง แต่การปนเปื้อนฟอร์มาลินกลับเพิ่มสูงขึ้น สำหรับสีสังเคราะห์กลับเพิ่มสูงขึ้นใน 2558 และมีแนวโน้มลดลง จากการตรวจหาสารโพลาร์ในน้ำมันทอดอาหาร พบว่าไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน (ปริมาณสารโพลาร์ เกินร้อยละ 25 ของน้ำหนัก) มีแนวโน้มลดลงในปี 2560 และปี 2561 ส่วนกรดแร่อิสระในน้ำส้มสายชูพบว่ามีแนวโน้มไม่คงที่คือไม่พบในปี 2560 และพบเพิ่มขึ้นในปี 2561 และปริมาณไอโอดีนในเกลือบริโภคพบว่าแนวโน้มที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานไม่คงที่เช่นกัน ทางเทศบาลเมืองกันตัง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของสุขภาพอนามัยของผู้บริโภคอาหารในตลาด ดังนั้นเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองและได้บริโภคอาหารที่มีความปลอดภัยปราศจากการปนเปื้อน กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองกันตัง จึงได้จัดทำโครงการตลาดดีมีมาตรฐาน ปี 2564 ขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองและได้บริโภคอาหารที่มีความปลอดภัย และสามารถดำรงชีวิตได้โดยมีคุณภาพชีวิตที่ดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารให้แก่ผู้ประกอบการในตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตัง

ผู้ประกอบการตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตังมีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารที่ถูกต้อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

0.00
2 เพื่อคุ้มครองประชาชนที่ไปซื้อสินค้าในตลาดให้ได้รับสินค้าและอาหารที่สะอาดปลอดภัยปราศจากสารปนเปื้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชน
  1. ตลาดสดเทศบาลเมืองกันตังปลอดการใช้สารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 6 ชนิดในอาหาร ได้แก่ สารบอแรกซ์ สารกันรา สารฟอกขาว สารฟอร์มาลิน สารเร่งเนื้อแดงและยาฆ่าแมลง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
  2. ตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตังปลอดเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร และมือผู้สัมผัสอาหาร มีความสะอาดปลอดภัยต่อผู้บริโภค ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 29,000.00 3 13,969.00
8 ก.พ. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร 100 9,800.00 7,040.00
8 ก.พ. 64 กิจกรรมตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร 0 9,100.00 6,929.00
8 ก.พ. 64 กิจกรรมป้องกันและควบคุมสัตว์พาหะนำโรค 0 10,100.00 0.00
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 สำรวจจำนวนผู้ประกอบการค้าขึ้นทะเบียนไว้ 1.2 เสนอโครงการเพื่อให้อนุกรรมการกลั่นกรอง/คณะกรรมการกองทุนฯเพื่อขออนุมัติงบประมาณ 1.3 วางแผนการดำเนินงาน ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ประชาสัมพันธ์โครงการ 1.4 จัดทำเอกสารประกอบการดำเนินโครงการ/กิจกรรม 1.5 จัดซื้อและเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น วัสดุทดสอบตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหาร วัสดุสำหรับการควบคุมกำจัดหนูในตลาดสด
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการในตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตังจำนวน 1 ครั้ง พร้อมประเมินความรู้ก่อน – หลัง 2.2 กิจกรรมตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหาร
    • ตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตังตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารและมือผู้สัมผัสอาหารด้วยน้ำยาตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร (SI - 2)
    • ตลาดสดเทศบาลเมืองกันตังตรวจหาสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 6 ชนิด ได้แก่ สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว กรดซาลิซิลิค สารฟอร์มาลิน สารเร่งเนื้อแดงและยาฆ่าแมลง 2.3 กิจกรรมควบคุมป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรคไม่ให้รบกวนและก่อความรำคาญภายในตลาดสดเทศบาลเมืองกันตังโดยทำความสะอาด/ล้างตลาดทุกวันที่ 5 และวันที่ 20 ของเดือน และป้องกัน/ควบคุมสัตว์และแมลงนำโรคเช่น หนูและนกพิราบ
  3. ขั้นประเมินผลการดำเนินการ 3.1 สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ประกอบการค้ามีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักสุขาภิบาลอาหาร
  2. ตลาดสดปลอดการใช้สารปนเปื้อนในอาหาร ได้แก่ สารบอแรกซ์ สารกันรา สารฟอกขาว สารฟอร์มาลิน สารเร่งเนื้อแดง และยาฆ่าแมลง ตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
  3. ผู้บริโภคได้บริโภคอาหารที่มีความสะอาดปลอดภัยปราศจากการปนเปื้อน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2563 08:51 น.