กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ อาสาร่วมใจ ห่วงใย ต้านภัยร้ายไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L5258-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.นากัน
วันที่อนุมัติ 24 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 41,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวพิมย์พา จันทร์แก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านโหนด อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.624,101.057place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกถือได้ว่าเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญซึ่งความรุนแรงของโรคสามารถทำให้ผู้ป่วย เสียชีวิตได้ แม้จะมีการรณรงค์ ให้มีการป้องกัน ควบคุม ไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคของภาครัฐและเอกชน อยู่เป็นประจำ แต่ก็ไม่สามารถทำให้โรคนี้หมดไปจากสังคมไทยของเราได้เลย การรณรงค์ให้ประชาชนร่วมกัน กำจัดยุงลายโดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคได้ ไม่ว่า จะเป็นการทำลายภาชนะที่มีน้ำขัง การใส่ทรายอะเบทกำจัดลูกน้ำ หรือการพ่นหมอกควัน   ด้วยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนากัน ซึ่งดูแลสุขภาพอนามัยประชาชนในพื้นที่ หมู่ที่ 3,4,6 และ 7 ตำบลบ้านโหนด ได้รับแจ้งข่าวจากทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ว่ามีผู้ป่วยไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในปีที่ 3 หลังจากการระบาดโรคไข้เลือดออกจะกลับมาระบายอีกครั้ง ในเดือนธันวาคม 2563 เป็นต้นมา พบว่า มีประชาชนป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนากัน กลุ่มสงสัยจำนวน 46 ราย ยืนยันวินิจฉัยเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 26 ราย ระบาดต่อเนื่อง เพื่อเป็นการการป้องกัน ดูแลไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคเพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งในปัจจุบันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคเกิดขึ้นได้ทุกฤดูกาล จึงจำเป็นต้องมีการเริ่มดำเนินการให้รวดเร็ว ให้ทันต่อสภาวการณ์แพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก โดยปีงบประมาณ 2564 ได้มีผู้เจ็บป่วยที่เกิดจากยุงลาย เจ็บป่วยด้วยโรคซิก้า จำนวน 1 รายซึ่งมีผลกระทบกับทารกในครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์   เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนากัน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนี้ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาโดยการออกพ่นหมอกควันครอบคลุมในพื้นที่ที่อยู่ในการดูแลทั้งหมด เพื่อเป็นการกำจัดยุงลายไม่ให้ สามารถไปแพร่เชื้อหรือขยายพันธุ์ต่อไปได้อีก ซึ่งเป็นวิธีการยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกำจัดยุงลายไม่ให้ไปแพร่เชื้อหรือทำการขยายพันธุ์ต่อไปได้อีก

สำรวจค่า HI CI ในชุมชนลดลง มีค่าไม่เกิน 10

0.00
2 เพื่อไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง ร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนได้ตื่นตัวตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก

ประชาชนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1000 41,250.00 0 0.00
1 - 31 ธ.ค. 63 กิจกรรมรณรงค์ 500 2,500.00 -
1 ธ.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 การพ่นหมอกควันกำจัดลูกน้ำยุงลาย 500 38,750.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. จัดประชุมชี้แจงอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนากัน เพื่อวางแผนในการดำเนินงานและเสนอโครงการเพื่อของบประมาณจากกองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านโหนด 2. รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนประชากรและที่พักอาศัยในพื้นที่ วางแผนและออกแบบกิจกรรมดำเนินงาน 3. ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 3.1 ชี้แจงโครงการ ฯ และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โดยไวนิล และแผ่นพับ ใบปลิว ในเรื่องการการพ่นหมอกควันและการรณรงค์ป้องกันไข้เลือดออก 3.2 จัดซื้อทรายอะเบท น้ำยาเคมีพ่นหมอกควัน น้ำมันเชื้อเพลิง 3.3 ลงพื้นที่พ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย พร้อมทั้งรณรงค์สร้างกระแสการป้องกันไข้เลือดออก 3.4 รณรงค์ไข้เลือดออก
3.5 สำรวจค่า HI CI ในชุมชน ก่อน/หลัง การพ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย 4. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชนได้
  2. สามารถทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ลดการเพิ่มจำนวนประชากรลูกน้ำยุงลายในชุมชนได้
  3. ประชาชนมีความเข้าใจเกิดความร่วมมือในวิธีการพ่นหมอกควันเพื่อควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2563 15:43 น.