กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ เด็กก่อนวัยเรียน เด็กวัยเรียน และผู้สูงอายุ ตำบลดุซงญอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
รหัสโครงการ 64-L2476-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ดุซงญอ
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 62,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฮาสเม๊าะ อามิง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.123,101.643place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 450 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 73 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มผู้สูงอายุ 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 110 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 11 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ มีปัญหาและความเสี่ยงสุขภาพช่องปาก
110.00
2 เด็กอายุ 0-5ปี มีปัญหาและความเสี่ยงสุขภาพช่องปาก
450.00
3 อสม. แกนนำ และแม่อาสา
50.00
4 ผู้สูงอายุ
120.00
5 ผู้นำศาสนา
23.00
6 ผู้ป่วยติดเตียง
11.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในช่องปาก เป็นกิจกรรมหนึ่งที่จะทำให้เด็กมีสุขภาพดี การป้องกันโรคฟันผุในเด็กควรเริ่มตั้งแต่แม่ตั้งครรภ์ เพราะฟันน้ำนมของเด็กเริ่มสร้างและมีการสะสมแร่ธาตุเกือบสมบูรณ์ขณะอยู่ในครรภ์ประกอบกับปัจจุบันมีหลักฐานที่สนับสนุนว่าการเป็นโรคปริทันต์มีผลต่อการเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด และเด็กน้ำหนักแรกเกิดน้อย แม่ที่มีฟันผุจะมีเชื้อจุลินทรีย์ในปากจำนวนมาก ซึ่งเชื้อนี้สามารถถ่ายทอดสู่ลูกได้ทางน้ำลายและจากข้อมูลทางระบาดวิทยาของประเทศไทย พบว่าช่วงอายุ ๐ - ๓ ปี เป็นช่วงที่อัตราการเกิดฟันผุใน ฟันน้ำนมของเด็กเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
      การส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กปฐมวัยที่สำคัญในช่วงนี้ได้แก่ การควบคุมอาหารหวาน และการแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ วันละ ๒ ครั้ง ควบคู่ไปกับมาตรการป้องกันโรคฟันผุอื่น ๆ เช่น การใช้สารฟลูออไรด์ชนิดทา ร่วมกับการตรวจคัดกรองเด็กที่มีความเสี่ยงต่อฟันผุ และการให้ทันตสุขศึกษา การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันฟันผุในเด็กต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของครอบครัว อสม.ชุมชน รวมทั้งครอบครัว(ผู้ปกครอง) ต้องให้ความสำคัญใน การสร้างเสริมพัฒนาการทุกด้านของลูกน้อย ดังนั้น คลินิกฝากครรภ์ (ANC) และคลินิกสุขภาพเด็กดี (WBC) ของทุกสถานบริการสาธารณสุข เป็นสถานที่ซึ่งบุคลากรสาธารณสุขมีโอกาสพบเด็กและพ่อแม่เป็นระยะสม่ำเสมอ เหมาะสมที่จะดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ เด็ก ๐-๓ ปี และครอบครัว ได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง ฟันและอวัยวะในช่องปากเป็นด่านแรกของระบบย่อยอาหาร และมีความสำคัญสำหรับการติดต่อสื่อสารของผู้คนในสังคม ปัจจุบันพฤติกรรมการบริโภคของคนเปลี่ยนไป ในขณะที่ระบบบริการสุขภาพและระบบการพัฒนาคนยังไม่สามารถปรับตัวรองรับให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทำให้การเกิดโรคฟันผุ ในทุกกลุ่มวัย กรมอนามัยเปิดเผยผลสำรวจสุขภาพช่องปาก ในปี 2555 พบว่าเด็กไทยโดยเฉลี่ยร้อยละ 50 เป็นโรคฟันผุสูงสุดในเขตภาคใต้ร้อยละ 65 โดยเฉพาะใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้แก่ สงขลา ยะลา ปัตตานีและนราธิวาส ในปี 2556 กระทรวงสาธารณสุขได้รายงาน พื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนใต้ เด็กและผู้สูงอายุเผชิญปัญหาโรคฟันสูงเป็นอันดับ 1 ของประเทศ โดยเฉพาะจังหวัดนราธิวาส พบเด็กฟันผุถึงร้อยละ 80 ส่วนใหญ่กลุ่มผู้สูงอายุโดยเฉลี่ยพบ 1 ใน 10 ไม่มีฟันเคี้ยวอาหาร และพบว่ากว่าครึ่งยังไม่ได้รับการรักษาเนื่องจากอุปสรรคในการเดินทางและผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบทำให้เกิดปัญหาเป็นโรคเหงือกอักเสบรุนแรงสูงถึงร้อยละ 91 และมีโอกาสสูญเสียฟันทั้งปากเพิ่มขึ้น จากการดำเนินทันตสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอปี ๒๕62 พบว่าเด็กอายุ 0 – 5 ปี ฟันผุสูงถึงร้อยละ 60.50 เด็กอายุ 6 - 12 ปี พบว่ามีปัญหาฟันถาวรผุร้อยละ 70 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กองทันตสาธารณสุขกำหนด คือมีฟันถาวรผุไม่เกินร้อยละ 20 กลุ่มวัยทำงานและกลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่พบปัญหาการสูญเสียฟันชัดเจน ในกลุ่มอายุ 13 – 59 ปี มีฟันถาวรผุร้อยละ 75 การสูญเสียฟันในผู้สูงอายุค่าเฉลี่ย
มากกว่า 10 ซี่/คน อาจกล่าวได้ว่าผู้สูงอายุเกือบทุกคนมีปัญหาการบดเคี้ยวอาหาร การไม่มีฟันทั้งปากเป็นดัชนีที่บ่งบอกถึงผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอีกด้วย ซึ่งพบถึงร้อยละ 10.5 และจากข้อมูล ปี 2562 อัตราผู้ป่วย 10 อันดับแรก ของประชาชนในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ พบว่าอัตราการป่วยจากโรคฟันผุเป็นโรคที่พบมากเป็นอันดับ 5 ร้อยละ 82.78 อัตราต่อแสนประชากร
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาเต๊าะ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในช่องปาก จึงบูรณาการร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ จัดทำโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ เด็กก่อนวัยเรียน เด็กวัยเรียน และผู้สูงอายุ ตำบลดุซงญอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ขึ้น เพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปาก และเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากมารดาและเด็กก่อนวัยเรียน เด็กวัยเรียน และผู้สูงอายุ ในการดูแลช่องปากและฟันของเด็กให้ฟันดี ห่างไกลโรคฟันผุอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้หญิงมีครรภ์ ได้รับบริการการตรวจสุขภาพช่องปากฝึกทักษะการแปรงฟันดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและบุตร และได้รับบริการทันตกรรมบำบัดตามความจำเป็น

 

110.00
2 เพื่อแก้ปัญหาเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่มีปัญหาฟันผุ

 

450.00
3 เพื่อลดปัญหาอัตราการเกิดโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย เด็กก่อนวัยเรียน และผู้สูงอายุมีฟันที่ใช้งานได้ และมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น

 

204.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1235 62,000.00 5 62,000.00
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมตรวจทันตสุขภาพหญิงมีครรภ์ 110 11,950.00 -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 70 1,750.00 -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ตรวจสุขภาพช่องปาก 280 46,200.00 -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ 764 700.00 -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมทำความสะอาดช่องฟันผู้ป่วยติดเตียง 11 1,400.00 -
20 เม.ย. 64 กิจกรรม ตรวจทันตสุขภาพหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ ฝึกทักษะการแปรงฟันเช็ดความสะอาดโดยการย้อมสีฟัน 0 0.00 11,950.00
20 เม.ย. 64 กิจกรรมทำความสะอาดช่องปากและฟันให้กับผู้ป่วยติดเตียง 0 0.00 1,400.00
20 เม.ย. 64 ประชาสัมพันธ์โครงการ 0 0.00 700.00
26 เม.ย. 64 กิจกรรมอบรมและตรวจสุขภาพช่องปากกลุ่มผู้สูงอายุ 0 0.00 46,200.00
15 ก.ค. 64 อบรมให้ความรู้แกนนำ อสม. และแม่อาสา 0 0.00 1,750.00

กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ 1. ตรวจสุขภาพช่องปากหญิงมีครรภ์รายใหม่ ฝึกทักษะการแปรงฟันโดยการย้อมสีฟัน
2. ให้บริการทันตกรรมบำบัด เช่น ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูนในรายที่จำเป็น และแจกชุดของขวัญในกรณี Complete case 3. เยี่ยมบ้านหญิงมีครรภ์หลังคลอดพร้อมสอนการเช็ดปากลูก กลุ่มเด็กอายุ ๐ - ๓ ปี 1. ตรวจสุขภาพช่องปากเด็ก ๐ - ๓ ปี ฝึกทักษะการแปรงฟันให้ลูกแบบมือต่อมือแก่ผู้ปกครอง 2. ทาฟลูออไรด์วานิช
3. สื่อเกี่ยวกับการดูแลและรักษาฟันไม่ให้ผุในเด็กอายุ 3 ปี ที่มี caries free และทำฟลูออไรด์ครบ ๕ ครั้ง 4. สร้างกระแสการแปรงฟันลงสู่ชุมชน โดยการประกวดกลเม็ดเด็ด พิชิตลูกแปรงฟัน กลุ่มเด็กอายุ 3 - 5 ปี 1. ตรวจสุภาพช่องปากเด็ก 3 - 5 ปี ทาฟลูออไรด์วานิช ปีละ 2 ครั้ง (ศพด. และโรงเรียนอนุบาล)
2. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่ครูผู้ดูแลเด็ก (ศพด.) และครูอนุบาล (โรงเรียนอนุบาล) ผู้ปกครอง ฝึกทักษะการแปรงฟันแบบมือต่อมือที่ถูกวิธี และสามารถตรวจฟันเด็กได้อย่างถูกต้อง 3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง ศพด. และโรงเรียนอนุบาล กลุ่มเด็กวัยเรียน 1. ตรวจสุขภาพช่องปากเด็กชั้น ป. 1 – 6 ฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี 2. สุ่มตรวจประสิทธิภาพการแปรงฟัน เทรมละ 1 ครั้ง แกนนำ และอสม. 1. ประสานงาน อสม. เพื่อหาแกนนำ 2. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแกนนำ และอสม. เชิงลึกสามารถปฏิบัติจริง 3. รวบรวมรายงาน สรุปผลการปฏิบัติงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
1. ตรวจสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ฝึกทักษะการแปรงฟันแท้ที่ถูกวิธี 2. ให้ความรู้เรื่องทันตสุขภาพ วิธีดูแลฟันปลอม และใช้ฟันปลอมได้อย่างถูกต้อง 3. ให้บริการทันตกรรมที่จำเป็นอย่างง่ายได้ เช่น ขูดหินปูน ทาฟลูออไรด์วานิช 4. สร้างความตระหนักและมีเจตคติที่ดีต่อการดูแลทันตสุขภาพของตนเอง โดยการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ กลุ่มผู้ป่วยติดเตียง 1. ออกตรวจสุขภาพช่องปากผู้ป่วยติดเตียง และทำความสะอาดช่องปาก พร้อมทั้งให้ความรู้เรื่องทันตสุขภาพและการกินอาหารสำหรับผู้ป่วยติดเตียงให้กับผู้ดูแล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงมีครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและได้รับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและเช็ดทำความสะอาดช่องปากบุตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. โรคฟันผุในเด็กปฐมวัย เด็กก่อนวัยเรียน และผู้สูงอายุมีฟันที่ใช้งานได้ มีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น
  3. ผู้ป่วยติดเตียงได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2563 21:17 น.