กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเสี่ยง และลดโรค ในตำบลดุซงญอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
รหัสโครงการ 64-L2476-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ดุซงญอ
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 42,540.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฮาสเม๊าะ อามิง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.123,101.643place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1932 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะเสี่ยง
1,932.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพปัจจุบันปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาสาธารณสุขส่วนใหญ่มีสาเหตุจากประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ซึ่งเห็นได้จากสภาวการณ์ของปัญหาสาธารณสุขที่เป็นอยู่ในปัจจุบันที่พบว่ากลุ่มโรค Metabolic โดยเฉพาะโรคอ้วนลงพุง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน กำลังเป็นปัญหาสำคัญในทุกพื้นที่ อีกทั้งยังมีแนวโน้มเป็นปัญหาต่อเนื่องในอนาคต ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหากลุ่มโรค Metabolic ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การขาดการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การรับประทานผักและผลไม้ไม่เพียงพอ ตลอดจนสภาพปัญหาทางจิตใจ อารมณ์ และความเครียด การสร้างเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีสามารถจัดการลดความเสี่ยงของตนเองได้จะเป็นกลไกพื้นฐานที่สำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคโดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยง ซึ่งการสร้างความรู้ ความเข้าใจเพียงอย่างเดียวอาจไม่มีผลเพียงพอที่จะทำให้เกิดความตระหนักในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพได้ การจัดกิจกรรมฝึกทักษะและการเสริมสร้างพลังแก่กลุ่มเป้าหมายจึงจำเป็นต้องทำควบคู่กับการให้ความรู้ ความเข้าใจนำไปสู่การปฏิบัติ นอกจากนี้การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมทั้งในระดับครอบครัว และชุมชนก็จะส่งผลให้ประชาชนตระหนักและมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีได้ ดังนั้นจึงสมควรอย่างยิ่งที่จะเร่งการทำงานเชิงรุกในชุมชนเพื่อตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในกลุ่มผู้ที่มีอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปและให้การวินิจฉัยโรคในระยะเริ่มต้น รวมทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ต่อไป ซึ่งทาง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาเต๊าะ จัดตั้งคลีนิค DPAC ในหน่วยงานเพื่อให้บริการคลินิกผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ซึ่งผู้ป่วยโรคเรื้อรังส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุศักยภาพในการดูแลตนเองไม่เต็มที่เนื่องจากปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เพื่อให้ควบคุมโรคได้และลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นควรมีการส่งเสริมศักยภาพในการดูแลตนเองเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการทำให้ประชาชนมีสุขภาพดี โดยทั่วหน้าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาเต๊าะได้ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในชุมชนดังกล่าว จึงได้บูรณาการร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ ตามอำนาจหน้าที่ พรบ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 มาตรา 67 (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ และ พรบ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน มาตรา 16 กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้ (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล จัดทำโครงการคัดกรองโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มสี่ยงและลดโรคในตำบลดุซงญอ/ประจำปี...ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ขึ้น เพื่อสนับสนุนให้ชุมชนมีการจัดการเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพด้านต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการให้กลุ่มเสี่ยงสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้องเหมาะสมและส่งเสริมการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีแก่กลุ่มประชาชนทั่วไปซึ่งยังไม่มีความเสี่ยง ทั้งนี้การจัดการชุมชนให้สามารถลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพด้านต่าง ๆ ต้องดำเนินการควบคู่ไปด้วยกัน ทั้งการจัดการสภาพแวดล้อมของชุมชนให้เอื้อต่อการลดโอกาสเสี่ยง เช่น การกำหนดมาตรการทางสังคมของชุมชน และการให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้องรวมถึงมีความรู้ ความเข้าใจจนเกิดความตระหนักสามารถดูแลสุขภาพและจัดการกับตนเองและครอบครัวให้สามารถควบคุมพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับที่พอเหมาะลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดบริการเชิงรุกในการคัดกรองภาวะสุขภาพ ประเมินพฤติกรรมเสี่ยง ในตำบลดุซงญอ

 

1932.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรค Metabolic มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมภายใต้พื้นฐานวิถีชุมชน

 

1932.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 4064 42,540.00 3 42,540.00
4 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 อบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยง 1,932 38,640.00 -
4 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 อบรมให้ความรู้แกนนำและอสม. 100 2,500.00 -
4 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ 2,032 1,400.00 -
17 มี.ค. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้และคัดกรองความดันโลหิตสูง และโณคเบาหวาน แก้กลุ่มเป้าหมาย 0 0.00 38,640.00
17 มี.ค. 64 ประชาสัมพันธ์โครงการ 0 0.00 1,400.00
27 พ.ค. 64 กิจกรรมอบรมแกนนำ อสม. 0 0.00 2,500.00
  1. แต่งตั้งคณะทำงานระดับชุมชน ซึ่งเป็นแกนนำในการดำเนินงานของชุมชน 2.คณะทำงานประเมินสถานการณ์โรคและปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องของกลุ่มเป้าหมายและชุมชน 2.1 ค้นหาสาเหตุและเหตุปัจจัยของปัญหา 2.2 กำหนดทางเลือกในการแก้ปัญหาของชุมชนและกลุ่มเป้าหมายโดยชุมชน         2.3 กำหนดยุทธศาสตร์และจัดทำแผนการดำเนินงานชุมชน         2.4 ดำเนินการคัดกรองความเสี่ยงของประชาชนอายุ 3๕ ปีขึ้นไปทุกคนในชุมชนต่อเนื่องทุกปี และจัดทำทะเบียนให้เป็นปัจจุบัน 2.5 การสร้างเวทีเพื่อส่งข้อมูลกลับให้ชุมชนได้รับทราบสถานการณ์ และปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ของชุมชน สร้างแนวร่วมในการแก้ไขปัญหา เช่น การประชุมแกนนำครอบครัว การทำประชาคมหมู่บ้าน เป็นต้น
    1. การจัดกิจกรรมแก่กลุ่มเป้าหมาย 3.1 จัดกิจกรรมการเสริมทักษะการสร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ให้ความรู้ และฝึกทักษะแก่กลุ่มเสี่ยง เรื่องโรคกลุ่ม Metabolic และ ๔ อ. (อาหาร การออกกำลังกาย อารมณ์  แอลกอฮอล์และบุหรี่) และการประเมินผล จำนวนไม่น้อยกว่า ๔ ครั้ง
              3.2 การติดตามประเมินผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และระดับความเสี่ยงของ กลุ่มเป้าหมายต่อเนื่องทุก ๓ - ๖ เดือน และบันทึกผลทุกครั้ง 3.3 การอบรมให้ความรู้เรื่องและฝึกทักษะเรื่องการบริโภคอาหาร และอาหารสุขภาพแก่แกนนำครอบครัว
      3.4 เดินรณรงค์ลดหวาน มัน เค็ม ในชุมชน โดยเจ้าหน้าที่ร่วมกับ อสม. 3.5 จัดอบรมฟื้นฟูการคัดกรองความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานสำหรับ อสม.ในพื้นที่รับผิดชอบ
    2. กิจกรรมต่อเนื่องในชุมชน         4.1 กำหนดมาตรการทางสังคมที่เหมาะสมโดยชุมชน เช่น การลดการใช้น้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานต่าง ๆ รณรงค์ลดการจำหน่ายบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านจำหน่ายสินค้าในชุมชน การรณรงค์ลดการใช้เครื่องปรุงรสในการปรุงอาหารในครัวเรือนและงานเลี้ยงต่าง ๆ เป็นต้น         4.2 การค้นหาและรวบรวมภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านสุขภาพ         4.3 นำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกมาใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในชุมชน         4.4 ยกย่องบุคคลต้นแบบของชุมชนเพื่อเป็นแบบอย่างและแหล่งเรียนรู้ในชุมชน 4.5 สร้างกลุ่มแกนนำ/จิตอาสาในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังในชุมชน 4.6 มีการปลูกพืชผัก สมุนไพรไว้กิน/ใช้ในครัวเรือนและแลกเปลี่ยนในชุมชน 4.7 รณรงค์งดจำหน่ายน้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ และลดการใช้น้ำหวาน เครื่องปรุงรสในโรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง และเบาหวานในหมู่บ้านได้รับการดูแลสุขภาพต่อเนื่อง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสมลดโอกาสการเกิดโรค
  2. ลดอัตราการเกิดผู้ป่วยความดันโลหิตสูง และเบาหวานรายใหม่
  3. ชุมชนมีความเข้มแข็ง สามารถสร้างมาตรการดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชนเองได้
  4. หมู่บ้านเป้าหมายสามารถกำหนดแนวทางการป้องกันและควบคุมโรค Metabolic ได้ ถูกต้อง เหมาะสม โดยใช้กระบวนการชุมชนเป็นฐาน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2563 21:23 น.