กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ Stop Teen Mom “หยุดการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น” หมู่ที่ 5 - 7 ในตำบลดุซงญอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
รหัสโครงการ 64-L2476-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านกาแย กาเต๊าะ
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 3,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอนุ พันธ์โภชน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.123,101.643place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 กลุ่มเด็กและเยาวชนทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา เพศหญิง อายุ 15 – 19 ปี
30.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัยรุ่น หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีอายุระหว่าง ๙ – ๑๙ ปี ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว        มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสติปัญญา โดยมีลักษณะสำคัญ ๓ ประการ คือ มีการพัฒนาทางร่างกาย โดยเฉพาะมีการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะเพศ จนมีวุฒิภาวะทางเพศอย่างสมบูรณ์ มีพัฒนาการด้านจิตใจ ซึ่งเป็นระยะที่เปลี่ยนแปลงจากเด็กเป็นผู้ใหญ่ และมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม โดยเปลี่ยนจากการพึ่งพาครอบครัวมาเป็นผู้ที่สามารถประกอบอาชีพ และมีรายได้ของตนเอง หรือมีสิทธิทางกฎหมายในเรื่องต่าง ๆ เช่น ห้ามเด็กที่มีอายุต่ำกว่า ๑๕ ปีบริบูรณ์ทำงาน เยาวชนที่มีอายุ ๑๘ ปีขึ้นไป หากกระทำผิดต้องขึ้นศาลผู้ใหญ่ เป็นต้น ในด้านพัฒนาการทางอารมณ์ และจิตใจ พบว่าวัยรุ่นอยากรู้ อยากเห็น และอยากทดลอง ต้องการการยอมรับจากเพื่อน วัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พร้อม หรือ การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ หมายถึง วัยรุ่นที่มีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี ตั้งครรภ์ทั้งโดยตั้งใจ หรือ ไม่ได้ตั้งใจ แต่มีความไม่พร้อมที่จะตั้งครรภ์นั้นต่อไปด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น คุมกำเนิดแล้วแต่เกิดความผิดพลาด ยังเรียนหนังสือไม่จบ อายุน้อยเกินกว่าจะเป็นแม่ ไม่ได้มีการวางแผนจะมีลูก ไม่มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคุมกำเนิด ถูกข่มขืนจนตั้งครรภ์ ตั้งครรภ์ก่อนการสมรส การไม่รับผิดชอบของบิดาเด็กในครรภ์ ตลอดจนความไม่พร้อมในด้านต่างๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ แม่วัยรุ่นยังขาดวุฒิภาวะในการดูแลตนเองระหว่างตั้งครรภ์ ส่งผลให้เกิดปัญหาต่อการตั้งครรภ์และการคลอด เช่น การคลอดก่อนกำหนด การคลอดทารกน้าหนักตัวน้อยและการตายคลอด หากปล่อยให้ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นโดยไม่มีมาตรการควบคุมป้องกัน ย่อมส่งผลเสียต่อสังคมในระยะยาวยากที่จะแก้ไข
การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหรือท้องวัยรุ่น คือ การตั้งครรภ์เมื่ออายุ ๑๙ ปี หรืออ่อนกว่านี้ พบร้อยละ        ๑๐ - ๓๐ ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด นับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของทุกประเทศทั่วโลก ใน ๑๐ ปี มานี้เอง ท้องในวัยรุ่นในประเทศไทยมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น จากร้อยละ ๑๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๕9 เป็นกว่าร้อยละ ๒๐    ในปัจจุบัน นอกจากนั้นอายุของคุณแม่วัยรุ่นนับวันยิ่งน้อยลง ต่ำสุดพบเพียง ๑๒ ปี ขณะที่ในประเทศสหรัฐอเมริกา แนวโน้มท้องในวัยรุ่นมีจำนวนลดลงตามลำดับ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการท้องในวัยรุ่น ได้แก่ ฐานะยากจน เล่าเรียนน้อย ดื่มสุรา ติดยาเสพติด ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว ซึ่งเป็นปัจจัยที่แก้ไขได้ยาก        แต่มีปัจจัยหนึ่งซึ่งน่าจะแก้ไขได้ และเป็นปัจจัยที่ทำให้ท้องในวัยรุ่นในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คือ ค่านิยมการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นนั้นเอง       วัยรุ่นเป็นวัยที่อาจถูกชักจูงได้ง่าย ขาดความนับถือตัวเอง รวมถึงขาดทักษะในการดำเนินชีวิต ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยง (risk behavior) ในด้านต่าง ๆ เช่น ขับรถประมาท ยกพวกตีกัน ดื่มสุราและ ใช้สารเสพติด มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ระวัง ส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น ทั้งนี้พฤติกรรมเสี่ยงดังกล่าว เป็นสาเหตุหนึ่งของการตายในวัยรุ่น โดยเฉพาะเพศหญิง ได้แก่ การทำแท้งเถื่อน การคลอดบุตรทั้งที่มีอายุน้อย การติดเชื้อ HIV เป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่สามารถป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ สังคมไทย        ในปัจจุบัน ตัวเลขวัยรุ่นไทยตั้งท้องในวัยเรียนสูงเป็นอันดับ ๑ ของเอเชียอาคเนย์ และมีอัตราส่วนสูงกว่าวัยรุ่นในยุโรป และอเมริกา เฉลี่ยอายุของการตั้งครรภ์ในวัยเรียน น้อยสุด ๑๒ ปี และไม่เกิน ๑๙ ปี
    การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ป้องกันได้ แต่วัยรุ่นจำนวนมากยังเข้าไม่ถึงข้อมูลและบริการด้านเพศ ทำให้วัยรุ่นขาดความรู้และทักษะการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ไม่ได้รับการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาอย่างต่อเนื่อง ขาดความเข้าใจเรื่องการคุมกำเนิดอย่างถูกวิธี ไม่สามารถควบคุมอารมณ์หรือตนเองเมื่ออยู่กับเพศตรงข้าม ถูกกระตุ้นอารมณ์เพศจากสื่อทางลบ และใช้สารเสพติด รวมทั้งการเข้าไม่ถึงบริการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยเสริมต่อพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นที่สถานการณ์และแนวโน้มขณะนี้        น่าเป็นห่วง ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ จึงอาศัยอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ซึ่งกำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ มาตรา 67 (6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ รวมทั้งพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน มาตรา 16 กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้ (10) การสังคมสงเคราะห์และพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส และ (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล และแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๓ กำหนดให้ภารกิจด้านการสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส การจัดสวัสดิการสังคม เป็นภารกิจที่ต้องถ่ายโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงได้บูรณาการร่วมกับ ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลดุซงญอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาเต๊าะ จัดทำโครงการ Stop Teen Mom “หยุดการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น” หมู่ที่ 5 - 7ในตำบลดุซงญอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ขึ้น      เพื่อเป็นการเสริมสร้างค่านิยมใหม่กับวัยรุ่นไทยให้รู้จักรัก และเห็นคุณค่าของตัวเอง เป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นให้ลดน้อยลงหรือหมดสิ้นไปในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมในวัยรุ่น

 

30.00
2 เพื่อสร้างความตระหนักองค์ความรู้เรื่องบทบาทคุณค่าของความเป็นชาย/หญิงในสังคม พัฒนาการทางเพศ การจัดการอารมณ์ สัมพันธภาพทางเพศ พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น การเสริมสร้างสุขภาพวัยรุ่น

 

30.00
3 เพื่อเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเองของวัยรุ่น และมีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต

 

30.00
4 เพื่อให้วัยรุ่นได้มีความรู้เรื่องเอดส์ และรู้จักป้องกันและหลีกเลี่ยงจากภาวะเสี่ยงต่อโรคดังกล่าว

 

30.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 3,050.00 2 3,050.00
4 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ 30 700.00 -
4 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 30 2,350.00 -
18 มี.ค. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 0 0.00 2,350.00
18 มี.ค. 64 ประชาสัมพันธ์โครงการ 0 0.00 700.00
  1. ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผน คัดเลือกโครงการ เขียนโครงการ
  2. เสนอโครงการเพื่อขอรับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ดุซงญอ
  3. ดำเนินการจัดกิจกรรมโครงการตามกำหนด/รายงานผลการดำเนินงานให้ผู้บริหารทราบ

วิธีการดำเนินกิจกรรม แบ่งการจัดกิจกรรมเป็น 3 ส่วน มีดังนี้

  1. ผู้นำสันทนาการเป็นผู้นำทำกิจกรรมละลายพฤติกรรม เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  2. ผู้นำกระบวนการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยดำเนินกิจกรรม ดังนี้ 2.1 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสถานการณ์การตั้งครรภ์ และคลอดบุตรก่อนวัยอันควรในประเทศไทย 2.2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องบทบาททางเพศที่แตกต่างกันระหว่างชายหญิง 2.3 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ และโรคเอดส์
    2.4 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ
  3. ผู้นำกระบวนการกล่าวสรุปประเด็นทั้งหมดพร้อมทั้งประเมินผลการจัดกิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. วัยรุ่นอายุน้อยกว่า ๒๐ ปี มีภูมิคุ้มกันต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมในวัยรุ่น มีพฤติกรรมที่เหมาะสมตามวัย และรู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบ
  2. เด็กและเยาวชนทั่วไปมีทักษะ มีภูมิคุ้มกันในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ มีความตระหนัก มีองค์ความรู้เรื่องบทบาท และคุณค่าของความเป็นชาย/หญิงในสังคม พัฒนาการทางเพศ การจัดการอารมณ์ สัมพันธภาพทางเพศ พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น การเสริมสร้างสุขภาพวัยรุ่น
  3. เด็กและเยาวชนทั่วไปมีความภาคภูมิใจในตนเอง และมีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต
  4. วัยรุ่นได้มีความรู้เรื่องเอดส์ และรู้จักป้องกันและหลีกเลี่ยงจากภาวะเสี่ยงต่อโรคดังกล่าว
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2563 21:26 น.