กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ Stop Teen Mom “หยุดการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น” หมู่ที่ 1 – 4, หมู่ที่ 8 ในตำบลดุซงญอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
รหัสโครงการ 64-L2476-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ดุซงญอ
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 4,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอาสเม๊าะ อามิง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.123,101.643place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 กลุ่มเด็กและเยาวชนทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา ตำกลุ่มเด็กและเยาวชนทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา ตำบลดุซงญอ เพศหญิง อายุ 15 – 19 ปีบลดุซงญอ เพศหญิง อายุ 15 – 19 ปี
40.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องจากในปัจจุบันมีปัญหาในสังคมเกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนหลายด้านด้วยกัน ปัญหาที่เป็นตัวอย่างในระดับประเทศ เช่น ปัญหาเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ปัญหาการทำแท้ง ปัญหาโรคเอดส์ ปัญหาความรุนแรงซึ่งเกิดจากปัจจัยทั้งด้านตัวเด็ก ปัจจัยด้านพฤติกรรมและบุคลิกภาพที่เกี่ยวข้องกับการกระทำรุนแรงของครอบครัวของผู้กระทำปัจจัยด้านลักษณะ เศรษฐกิจของครอบครัวและที่อยู่อาศัยส่งผลให้เกิดปัญหาหลายอย่าง ปัญหาที่พบเป็นส่วนมาก เช่น ปัญหาเรื่องการต่อต้านผู้ใหญ่ ปัญหาไม่ค่อยเชื่อฟังในสิ่งที่ผู้ปกครองบอกส่วนใหญ่จะเชื่อฟังเพื่อนและไปตามเพื่อนปัญหาด้านอารมณ์ความรุนแรง ปัญหาด้านการเรียน เที่ยวกลางคืน ปัญหามีรักในวัยเรียนส่งผลให้เกิดการทำแท้ง การติดโรคจากการมีเพศสัมพันธ์ ปัญหาการติดยาเสพติด เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ยังเป็นปัญหาสังคมที่ยังแก้ไม่หายและจำเป็นที่ต้องได้รับการแก้ไข ดังนั้นการได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและการสนับสนุนจากครอบครัวและบุคคลรอบข้าง รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์และการศึกษาที่ถูกต้องเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ทางสังคมและเศรษฐกิจปัจจุบันที่มีผลต่อสตรีวัยรุ่น ในการให้ความรู้ข้อมูลข่าวสารเพื่อให้เกิดการปรับตัว และเกิดพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะเพื่อลดปัญหาทางสุขภาพต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น การมีเพสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การตั้งครรภ์ไม่พร้อม โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปัญหาการดูแลสุขอนามัยที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น อีกทั้งปัญหาการปรับตัวของวัยรุ่นที่ขาดความรู้ ประสบการณ์และขาดการสนับสนุนจากผู้ปกครอง สถาบันการศึกษาและบุคลากรทีมสุขภาพ อาจนำไปสู่การมีพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ เช่น ปัญหาด้านอนามัยเจริญพันธุ์ เพศสัมพันธ์ การใช้สารเสพติด ปัญหาการคบเพื่อน เป็นต้น การเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาทักษะในการดูแลตนเองจะช่วยสร้างความตระหนักและปลุกจิตสำนึกให้แก่วัยรุ่น เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นที่มีผลต่อสุขภาพได้ ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ จึงอาศัยอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ซึ่งกำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ มาตรา 67 (6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ รวมทั้งพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน มาตรา 16 กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้ (10) การสังคมสงเคราะห์และพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส และ (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล และแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๓ กำหนดให้ภารกิจด้านการสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส การจัดสวัสดิการสังคม เป็นภารกิจที่ต้องถ่ายโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงได้บูรณาการร่วมกับ ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลดุซงญอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ จัดทำโครงการ Stop Teen Mom “หยุดการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น” หมู่ที่ 1 – 4, หมู่ที่ 8 ในตำบลดุซงญอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ขึ้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างค่านิยมใหม่กับวัยรุ่นไทยให้รู้จักรัก และเห็นคุณค่าของตัวเอง เป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นให้ลดน้อยลงหรือหมดสิ้นไปในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมในวัยรุ่น

 

40.00
2 เพื่อสร้างความตระหนักองค์ความรู้เรื่องบทบาทคุณค่าของความเป็นชาย/หญิงในสังคม พัฒนาการทางเพศ การจัดการอารมณ์ สัมพันธภาพทางเพศ พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น การเสริมสร้างสุขภาพวัยรุ่น

 

40.00
3 เพื่อเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเองของวัยรุ่น และมีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต

 

40.00
4 เพื่อให้วัยรุ่นได้มีความรู้เรื่องเอดส์ และรู้จักป้องกันและหลีกเลี่ยงจากภาวะเสี่ยงต่อโรคดังกล่าว

 

40.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 80 4,900.00 2 4,900.00
4 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 40 4,200.00 -
4 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ 40 700.00 -
19 ก.พ. 64 อบรมให้ความรู้ 0 0.00 4,200.00
19 ก.พ. 64 ประชาสัมพันธ์โครงการ 0 0.00 700.00
  1. ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผน คัดเลือกโครงการ เขียนโครงการ
  2. เสนอโครงการเพื่อขอรับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ดุซงญอ
  3. ดำเนินการจัดกิจกรรมโครงการตามกำหนด/รายงานผลการดำเนินงานให้ผู้บริหารทราบ

วิธีการดำเนินกิจกรรม แบ่งการจัดกิจกรรมเป็น 3 ส่วน มีดังนี้

  1. ผู้นำสันทนาการเป็นผู้นำทำกิจกรรมละลายพฤติกรรม เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  2. ผู้นำกระบวนการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยดำเนินกิจกรรม ดังนี้ 2.1 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสถานการณ์การตั้งครรภ์ และคลอดบุตรก่อนวัยอันควรในประเทศไทย 2.2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องบทบาททางเพศที่แตกต่างกันระหว่างชายหญิง 2.3 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ และโรคเอดส์
    2.4 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ
  3. ผู้นำกระบวนการกล่าวสรุปประเด็นทั้งหมดพร้อมทั้งประเมินผลการจัดกิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. วัยรุ่นอายุน้อยกว่า 20 ปี มีภูมิคุ้มกันต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมในวัยรุ่น มีพฤติกรรมที่เหมาะสมตามวัย และรู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบ
  2. เด็กและเยาวชนทั่วไปมีทักษะ มีภูมิคุ้มกันในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ มีความตระหนัก มีองค์ความรู้เรื่องบทบาท และคุณค่าของความเป็นชาย/หญิงในสังคม พัฒนาการทางเพศ การจัดการอารมณ์ สัมพันธภาพทางเพศ พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น การเสริมสร้างสุขภาพวัยรุ่น
  3. เด็กและเยาวชนทั่วไปมีความภาคภูมิใจในตนเอง และมีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต
  4. วัยรุ่นได้มีความรู้เรื่องเอดส์ และรู้จักป้องกันและหลีกเลี่ยงจากภาวะเสี่ยงต่อโรคดังกล่าว
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2563 21:32 น.