กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในหญิงตั้งครรภ์เกี่ยวกับการฝากครรภ์ การดูแลขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอด หมู่ที่ 1 – 4 ,หมู่ที่ 8 ในตำบลดุซงญอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในหญิงตั้งครรภ์เกี่ยวกับการฝากครรภ์ การดูแลขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอด หมู่ที่ 1 – 4 ,หมู่ที่ 8 ในตำบลดุซงญอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
รหัสโครงการ 64-L2476-1-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ดุซงญอ
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 27,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฮาสเม๊๋าะ อามิง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.123,101.643place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 260 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 หญิงตั้งครรภ์
200.00
2 สามีหรือญาติและคู่สมรสใหม่
260.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การตั้งครรภ์เป็นระยะพัฒนาการที่สำคัญของครอบครัว การตั้งครรภ์ทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งในด้านกายวิภาค ชีวเคมี และสรีรวิทยา การเปลี่ยนแปลงนี้ดำเนินไปตลอดการตั้งครรภ์และร่างกายจะมีการปรับตัวอย่างมากมายกับการเปลี่ยนแปลงของระบบต่าง ๆ ของร่างกายที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสลับซับซ้อนสัมพันธ์กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น สภาพแวดล้อม เพื่อเตรียมสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอด นอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์ ยังต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคม เช่น บทบาทหน้าที่ ภาพลักษณ์ สัมพันธภาพกับครอบครัว และที่สำคัญครอบครัวต้องมีส่วนร่วมในการปรับตัวและการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในขณะตั้งครรภ์ เป้าหมายสูงสุดของงานอนามัยแม่และเด็กที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย โดยมีกลวิธีที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ได้แก่ การให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวเกี่ยวกับการดูแลขณะตั้งครรภ์ ขณะเจ็บครรภ์คลอด และหลังคลอด การฝากครรภ์ การบริโภค การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การออกกำลังกาย และ การพักผ่อนเพื่อผ่อนคลายจากการดำเนินงานที่ผ่านมา ได้ปรับกลยุทธ์การดำเนินงานให้เหมาะสมกับพื้นที่และเร่งรัดการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก โดยเฉพาะอัตราการฝากครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์ ปี 2558 – ๒๕62 คลอบคลุมร้อยละ 80,82.34 และ76.90 ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด (ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75) ปีงบประมาณ ๒๕62 การฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพร้อยละ 80 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 การคลอดในสถานบริการคลอบคลุมร้อยละ ๑๐๐ เป้าหมายร้อยละ ๙๕ ภาวะซีดหน้าห้องคลอด ร้อยละ 9 เป้าหมายไม่เกินร้อยละ ๑๐ จากผลการดำเนินงานจะเห็นได้ว่าตัวชี้วัดเพิ่มขึ้นตามลำดับ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลตนเองในขณะตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ จึงได้บูรณาการร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ ได้กำหนดกลยุทธ์ในการแก้ไขและพัฒนางานอนามัยแม่และเด็ก กระตุ้นการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และได้รับความร่วมมือจากการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขและภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานจึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ และส่งต่อเพื่อฝากครรภ์ ก่อน 12 สัปดาห์

 

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้สามีและญาติมีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ ในขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอดให้เกิดความรักความผูกพันในครอบครัวมากขึ้น

 

200.00
3 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญ ในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอด

 

200.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 920 27,800.00 3 27,800.00
4 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ 460 700.00 -
4 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์และญาติ 400 25,600.00 -
4 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้คู่สมรสใหม่ 60 1,500.00 -
19 มี.ค. 64 อบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์ 0 0.00 25,600.00
19 มี.ค. 64 อบรมให้ความรู้แก่คู่สมรสใหม่ 0 0.00 1,500.00
19 มี.ค. 64 ประชาสัมพันธ์โครงการ 0 0.00 700.00

๑. ขั้นเตรียมการ ๑.๑. วิเคราะห์ปัญหา สาเหตุ และแนวทางการแก้ไขปัญหา ๑.๒. ประชุมเจ้าหน้าที่เพื่อจัดทำโครงการ ๑.๓. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ ๑.๔. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ ๑.๕. ประชาสัมพันธ์โครงการให้กลุ่มเป้าหมายทราบ ๒. ขั้นดำเนินการ 2.1 ประชุมชี้แจงอาสาสมัครสาธารณสุขและภาคีเครือข่ายในชุมชน (ผู้นำศาสนา ผดุงครรภ์โบราณ แกนนำสตรี แม่อาสาและผู้นำชุมชน เกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการ) ๒.๒. จัดอบรมให้ความรู้แก่หญิงหญิงตั้งครรภ์และ สามี หรือญาติ โดยใช้หลักสูตรโรงเรียน พ่อแม่
๒.๓. จัดประชุมให้ความรู้คู่สมรสใหม่
๓. ประเมินผล ๓.๑. หญิงตั้งครรภ์และสามีหรือญาติมีความรู้ และเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์มากขึ้น
๓.๒. หญิงตั้งครรภ์รายใหม่มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๕ ๓.๓. หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๕ ๓.๔. หญิงตั้งครรภ์คลอดในสถานบริการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐ ๓.๕. หญิงตั้งครรภ์เกิดภาวะซีดหน้าห้องคลอด ไม่เกินร้อยละ ๑๐ ๓.๖. หญิงหลังคลอดได้รับบริการเยี่ยมหลังคลอดตามเกณฑ์มาตรฐาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์และสามี มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลตนเองในขณะตั้งครรภ์ได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และเกิดความรักผูกพันในครอบครัวมากขึ้น
  2. หญิงหลังคลอดได้รับบริการเยี่ยมหลังคลอดและได้รับความรู้ในการดูแลตนเองหลังคลอดได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
  3. หญิงตั้งครรภ์และทารกมีความปลอดภัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2563 21:36 น.