กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม หมู่ที่ 5 – 7 ในตำบลดุซงญอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
รหัสโครงการ 64-L2476-1-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านกาแย กาเต๊าะ
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 11,660.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอนุ พันธ์โภนช์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.123,101.643place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 สตรีที่มีอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี มีความเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
70.00
2 ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้หญิงที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกกำลังพุ่งสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ ข้อมูลจากองค์กรอนามัยโลก ระบุว่า มะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆของผู้หญิงทั่วโลก          มีการประมาณกันไว้ว่า ในทุกๆปี จะพบผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ มากกว่า ๕๐๐,๐๐๐ ราย และครึ่งหนึ่งในจำนวนนั้น จะเสียชีวิตลง ซึ่งนับได้ว่าทุกๆ ๑ ชั่วโมง จะมีผู้หญิงทั่วโลกเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกถึง ๓๐ คน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงจากอุบัติเหตุเลยทีเดียว โรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก องค์การอนามัยโลกได้ประมาณอัตราการเพิ่มขึ้นของโรคมะเร็งในอนาคตอีก ๒๐ ปีข้างหน้าจะเพิ่มเป็น ๒ เท่าของปัจจุบัน รายงานสถิติสาธารณสุข ของศูนย์ข้อมูลข่าวสารสาธารณสุข อัตราตายด้วยมะเร็งทุกชนิดสูงขึ้นตลอด โดยมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่เป็นอันตรายอันดับ ๑ มะเร็งเต้านมเป็นอันดับ ๒ ในผู้หญิง ปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เพราะทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรบุคคลและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกต้องมีการค้นหา โดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรกและ ในระยะก่อนเป็นมะเร็งซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม และจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทำ pap smear ในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี ทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ โรคมะเร็งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตของประชาชนและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมากและเป็นสาเหตุการตายเป็นอันดับหนึ่งในประเทศไทย จากการรายงานของสำนักงานวิจัยมะเร็งนานาชาติในปี 2553 พบว่า ประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกปีละเท่ากับ 24.5 ต่อประชากรสตรี 100,000 คนต่อปี ในแต่ละปีจะพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ราย และมีผู้ป่วยเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกประมาณ ๕,2๐๐ ราย หรือประมาณร้อยละ 27 และมีสตรีไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูกเฉลี่ยวันละ 14 คน สตรีไทยเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกเป็นอันดับ 2 ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โรคมะเร็งปากมดลูกสามารถป้องกันและควบคุมได้โดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรกในระยะก่อนเป็นมะเร็ง สามารถดูแลรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบในระยะแรกของการป่วยและถ้าประชาชนสตรีรู้จักวิธีการป้องกันโดยตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap Smear) เพื่อหาเซลล์ผิดปกติ ผู้หญิงทุกคนที่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาแล้วมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ทั้งสิ้น แม้จะเป็นเพศสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวก็ตาม จากสถิติ รายงานว่า ๓๐% ของผู้หญิงไทย ไม่เคยได้เข้ารับการตรวจแปปสเมียร์เพื่อคัดกรองหาเชื้อมะเร็งปากมดลูกเลย
จากการสรุปผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในสตรีอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี ปีงบประมาณ ๒๕63 ของรพ.สต.บ้านกาเต๊าะ พบว่าสตรีกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวได้รับการตรวจคัดกรองเพียงร้อยละ 18.5 ซึ่งจะเห็นว่าจะมีประชาชนมาคัดกรองไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดตามยุทธศาสตร์จังหวัดนราธิวาส ซึ่งกลุ่มประชากรกลุ่มเป้าหมาย
ของจังหวัดนราธิวาส จะต้องได้รับตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อยละ ๒๐ เพื่อให้ประชาชนมีความตระหนักในการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจะต้องมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและได้รับการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชนประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้มาคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาตำบลดุซงญอ จึงได้บูรณาการร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอจัดทำโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในตำบลดุซงญอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕64 ให้แก่สตรีกลุ่มเป้าหมายในตำบลดุซงญอ ขึ้น เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว อันจะช่วยทำให้พบผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกได้ตั้งแต่ระยะแรกได้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งได้อีกทางหนึ่ง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและสตรีกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

 

70.00
2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรก โดยกลุ่มเป้าหมายต้องได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมากกว่าร้อยละ 20

 

0.00
3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจหาความผิดปกติของเซลล์มะเร็งปากมดลูกได้รับการตรวจวินิจฉัยยืนยันการเกิดโรค

 

0.00
4 เพื่อให้ได้รับการขึ้นทะเบียนผู้โรคมะเร็งปากมดลูก และได้รับการส่งต่อ ตามแผนการรักษาได้ทันท่วงที

 

0.00
5 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งได้รับการดูแลติดตามเยี่ยมบ้านตามเกณฑ์

 

0.00
6 เพื่อให้สตรีที่เป็นโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะแรกเริ่มมีโอกาสรักษาให้หายขาด และเพื่อลดการสูญเสียค่าใช้จ่ายและเวลาในการรักษา

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 140 11,660.00 3 11,660.00
4 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 70 9,350.00 -
4 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ 70 700.00 -
4 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมเยี่ยมบ้าน 0 1,610.00 -
25 มี.ค. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม 0 0.00 9,350.00
25 มี.ค. 64 ประชาสัมพันธ์โครงการ 0 0.00 700.00
26 มี.ค. 64 กิจกรรมออกตรวจมะเร็งปากมดลูกเชิงรุกในหมู่บ้าน 0 0.00 1,610.00
  1. ค้นหากลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ
  2. ประสานงานกับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
  3. จัดทำโครงการ เพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ดุซงญอ
  4. มอบหมายให้ อสม. ประชาสัมพันธ์ให้แก่กลุ่มเป้าหมายในหมู่บ้านที่ตนเองรับผิดชอบ
  5. จัดเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือการตรวจมะเร็งปากมดลูก
  6. ดำเนินการตามแผนงานกิจกรรมตามโครงการ
  7. อบรมให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมให้แก่แกนนำอสม., แกนนำสตรีและกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ
  8. กิจกรรมออกตรวจมะเร็งปากมดลูกเชิงรุกในแต่ละหมู่บ้าน ตามตารางการปฏิบัติงาน และลง Program Pap Registry
  9. ลงพื้นที่ติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายแต่ละหมู่บ้านตามแผนงานที่กำหนด
  10. สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ ฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี ในพื้นที่มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงอันตรายของโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
  2. สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี ที่ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและพบภาวะผิดปกติทุกชนิดได้รับการส่งต่อและรักษาทุกราย (ร้อยละ ๑๐๐)
  3. อสม. มีความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและสามารถถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับให้กลุ่มเป้าหมายและสามารถนำกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกได้อย่างครอบคลุม
  4. ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก สามารถเข้าถึงการรักษาได้อย่างรวดเร็วและลดอัตราการตายได้
  5. ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมได้รับการดูแล บำบัดรักษา ฟื้นฟู และติดตามอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ
  6. ลดอัตราการตายโดยสาเหตุจากโรคมะเร็งปากมดลูก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2563 21:38 น.