กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการและติดตามพัฒนาการเด็กอายุ 0 - 72 เดือน หมู่ที่ 1 – 4, หมู่ที่ 8 ในตำบลดุซงญอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
รหัสโครงการ 64-L2476-1-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ดุซงญอ
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 23,960.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฮาสเม๊าะ อามิง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.123,101.643place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 659 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็กอายุ ๐- ๗๒ เดือน ในตำบลดุซงญอ
618.00
2 เด็กอายุ ๐ - ๗๒ เดือน ที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์
41.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ทุพโภชนาการ หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารผิดเบี่ยงเบนไปจากปกติ อาจเกิดจากได้รับสาร อาหารน้อยกว่าปกติ หรือเหตุทุติยภูมิ คือ เหตุเนื่องจากความบกพร่อง ต่างจากการกิน การย่อย การดูดซึม ในระยะ ๒ - ๓ ปี แรกของชีวิต จะมีผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและการเรียน ภายหลัง เนื่องจากเป็นระยะที่มีการเจริญเติบโตของสมองสูงสุด ซึ่งระยะเวลาที่วิกฤติต่อพัฒนาการทางร่างกายของวัยเด็กมากที่สุดนั้น ตรงกับช่วง 3 เดือนหลังการตั้งครรภ์จนถึงอายุ ๑๘ - ๒๔ เดือนหลังคลอด เป็นระยะที่มีการสร้างปลอกหุ้มเส้นประสาทของระบบประสาท และมีการแบ่งตัวของเซลล์ประสาทมากที่สุด เมื่ออายุ ๓ ปี มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตถึงร้อยละ ๘๐ สำหรับผลกระทบทางร่างกายภายนอกที่มองเห็นได้ คือ เด็กจะมีรูปร่างเตี้ย เล็ก ซูบผอม ผิวหนังเหี่ยวย่นเนื่องจากขาดไขมันชั้นผิวหนัง นอกจากนี้อวัยวะภายในต่างๆ ก็ได้รับผล กระทบเช่นกัน จากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน (๐ - ๗๒ เดือน) ในพื้นที่รับผิดชอบของตำบลดุซงญอ ประจำปีงบประมาณ ๒๕63 พบว่าเด็กก่อนวัยเรียน มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์        ร้อยละ 7.41 มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้มีไม่เกินร้อยละ 7 ซึ่งเด็กในวัยดังกล่าวกำลังมีการเจริญเติบโตของสมอง สารอาหารโปรตีนมีความสำคัญต่อการพัฒนาด้านสมอง หากไม่ได้รับการแก้ไขปัญหา จะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสติปัญญาของเด็ก ซึ่งจะเป็นกำลังของประเทศชาติในอนาคต สาเหตุของปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดความรู้ด้านโภชนาการศึกษาของผู้ปกครอง เป็นผลให้เด็ก ๐ - ๗๒ เดือน ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนและมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ในการดำเนินการ        ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ได้มีการติดตามเยี่ยมผู้ปกครอง แต่การเรียนรู้อย่างเป็นระบบ เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญและจำเป็น
จากสภาพปัญหาดังกล่าว องค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ จึงอาศัยอำนาจหน้าที่ตามพรบ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 มาตรา 67 (6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ประกอบกับ พรบ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน มาตรา 16 กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้ (10) การสังคมสงเคราะห์และพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส และ (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล จึงได้บูรณาการร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ จัดทำโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการและติดตามพัฒนาการเด็กอายุ ๐ - ๗๒ เดือน ในตำบลดุซงญอ ขึ้น เพื่อพัฒนางานโภชนาการและติดตามโภชนาการในชุมชน และแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กอายุ 0 – 72 เดือน ในชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อดำเนินการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ ในกลุ่มเด็กอายุ 0 - 70 เดือน

 

0.00
2 เพื่อคัดกรองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการพร้อมให้การดูแล รักษาและฟื้นฟู

 

659.00
3 เพื่ออบรมเสริมความรู้ในการส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็ก 0 - 72 เดือน แก่ผู้ปกครองเด็กมี น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์

 

41.00
4 เพื่อกระตุ้นให้ผู้ปกครองมีความตระหนักถึงการบริโภคอาหารตามวัย ในเด็ก 0 – 72 เดือน

 

659.00
5 เพื่อประเมินพัฒนาการเด็ก ตามช่วงวัยในเด็ก 0 – 5 ปี ในทุก ๆ เดือน พร้อมกระตุ้นพัฒนาการเด็กในรายที่พัฒนาการล่าช้า

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1318 23,960.00 2 23,960.00
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 659 23,260.00 -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ 659 700.00 -
9 เม.ย. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้และสาธิตอาหารอาหารแก่ผุ้ปกครอง 0 0.00 23,260.00
9 เม.ย. 64 ประชาสัมพันธ์โครงการ 0 0.00 700.00
  1. จัดประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อวางแผนในการดำเนินงาน
  2. ดำเนินการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0 – 72 เดือน โดยการชั่งน้ำหนัก ทุก ๆ ๓ เดือนในเด็กที่มีภาวะโภชนาการปกติและทุก 1 เดือนในเด็กที่มีน้ำหนักค่อนข้างน้อยและน้อยกว่าเกณฑ์
  3. ดำเนินการจ่ายอาหารเสริมและยาเสริมวิตามินแก่เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ
  4. ติดตามภาวะโภชนาการในเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการทุก ๆ 1 เดือน
  5. ดำเนินการคัดกรองและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ในเด็กอายุ 0 - 72 เดือน
  6. ดำเนินการสาธิตอาหารให้แก่ผู้ปกครองเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ
  7. ดำเนินการประเมินพัฒนาการเด็กตามช่วงวัยในเด็ก 0 – 5 ปี ในทุก ๆ เดือน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กอายุ 0 – 72 เดือน มีโภชนาการและมีน้ำหนักต่ออายุตามเกณฑ์ที่กำหนด พร้อมทั้งมีพัฒนาการที่ดีขึ้น
  2. เด็กอายุ 0 – 5 ปี มีพัฒนาการสมวัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2563 21:46 น.