กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการค่ายอบรมเยาวชนดุซงญอ สร้างภูมิคุ้มกันเกราะป้องกันยาเสพติด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
รหัสโครงการ 64-L2476-2-37
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมจิตอาสาเมืองดาหลาตำบลดุซงญอ
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 52,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวแมะซง ดอเล๊าะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.123,101.643place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เยาวชนกลุ่มเสี่ยง ในตำบลดุซงญอ
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

รัฐบาลได้กำหนดกรอบทิศทางยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในระยะยาวเพื่อพัฒนาไปสู่ “ประเทศ มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560 – 2579) ซึ่งการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดได้กำหนดอยู่ในยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564) ซึ่งเป็นแผนที่สอดรับกับกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560 – 2579) ซึ่งในส่วนของการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ได้กำหนดอยู่ในยุทธศาสตร์ 5 ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศ สู่ความมั่นคง และยั่งยืน เป้าหมายที่ 4 ประเทศไทยมีความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านความมั่นคงในกลุ่มประเทศอาเซียน มิตรประเทศ และนานาประเทศ ในการป้องกันภัยคุกคามรูปแบบต่างๆ ควบคู่ไปกับการรักษาผลประโยชน์ของชาติ ตัวชี้วัดที่ 4.4 จำนวนคดีที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดลดลง จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่ารัฐบาลปัจจุบันที่นำโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้กำหนดให้ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องได้รับการป้องกันและแก้ไข เนื่องจากปัจจุบันปัญหายาเสพตดเป็นปัญหาที่กำลังทำลายเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแม้ว่าทุกฝ่ายจะพยายามป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดมาโดยตลอด ซึ่งปัญหายาเสพติดในปัจจุบันได้แพร่กระจายไปถึงระดับหมู่บ้านชุมชนซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของสังคมและแพร่กระจายเข้าไปในกลุ่มนักเรียน นักศึกษาและเยาวชนซึ่งเป็นพลังสำคัญของประเทศชาติในอนาคต จากข้อมูลสำนักงาน ปปส. เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2562 เกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติด พบว่า ร้อยละ 87 เป็นผู้เข้าบำบัดรายใหม่ ผู้เสพส่วนใหญ่มากกว่า 1 ใน 4 มีอายุระหว่าง 20 – 24 ปี รองลงมา คือ อายุระหว่าง 15 – 19 ปี (ร้อยละ 19) ยาเสพติดที่มีการใช้มากที่สุดโดยเฉพาะในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยาบ้า รองลงมา คือ กัญชา ไอซ์ และพืชกระท่อม ตามลำดับ ในขณะที่กลุ่มเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี เริ่มมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งกลุ่มเยาวชนทั้งในและนอกสถานศึกษา ก็มีแนวโน้มมากขึ้นเช่นกัน เยาวชน คืออนาคตของชาติ ปัจจุบันสังคมไทยกำลังประสบปัญหาวิกฤต จากสถานการณ์ปัญหายาเสพติดที่ได้เริ่มแพร่ระบาดและกำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างน่าวิตก การหวนกลับมาระบาดอย่างหนักของยาเสพติดในปัจจุบัน เป็นผลให้เยาวชนหลงผิดเข้าสู่วงจรของการซื้อขายและเสพติดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาประเทศ และเป็นการทำลายทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นอนาคตและเป็นพลัง              /ในการพัฒนา...ในการพัฒนาประเทศให้ด้อยคุณภาพ อันจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ และเป็นภาระงบประมาณของประเทศ ในการบำบัดรักษาผู้ป่วยที่เกิดจากการเสพยาเสพติด รวมทั้งจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ อีกทั้งยังเป็นปัญหาสร้างความรู้สึกสะเทือนใจและเจ็บปวดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครอง และปัญหายาเสพติดได้นำมาซึ่งความรุนแรงในครอบครัวและอาชญากรรมต่างๆ ในสังคม เช่น การลักขโมย ฉกชิงวิ่งราวและการก่อปัญหาอาชญากรรมอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย ซึ่งทำให้มีผลกระทบต่อสังคมโดยรวม เนื่องจากเยาวชนเป็นวัยที่เอื้อต่อการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดทั้งปัจจัยจากตนเอง คือ เป็นวัยที่ต้องการเรียนรู้ อยากลอง ต้องการเรียกร้องความสนใจ ต้องการค้นหาสร้างตัวตน สร้างการยอมรับ มีแรงผลักดันทางอารมณ์สูง กล้าเสี่ยง กล้าทำสิ่งที่ท้าทาย ปัญหายาเสพติดในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะเชื่อมโยงเกี่ยวพันกับปัญหาความมั่นคงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน สถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดในพื้นที่ตำบลดุซงญอ ในปัจจุบันได้แพร่ขยายครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 8 หมู่บ้านของตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งได้แพร่ระบาดหนักสู่กลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่เป็นส่วนใหญ่ โดยยาเสพติดที่แพร่ระบาดหนักในพื้นที่ ได้แก่ พืชกระท่อม กัญชาสด กัญชาแห้ง ยาบ้า ตามลำดับ โดยผู้ที่ติดยาเสพติดดังกล่าวมักจะมีพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต ต่อครอบครัว ต่อสังคม และในอนาคตก็จะส่งผลกระทบต่อภาพรวมในระดับประเทศต่อไป ซึ่งสอดคล้องกับสถิติด้านยาเสพติดที่พบว่า เด็กและเยาวชนที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดเริ่มมีอายุน้อยลง ดังนั้นแด็กและเยาวชนในตำบลดุซงญอ ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงในการที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งจิตอาสาเมืองดาหลาได้เล็งเห็นถึงปัญหาที่ต้องดำเนินการป้องกันและแก้ไข จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ความรู้ และเสริมสร้างทักษะการใช้ชีวิตเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาชน เพื่อประคับประคอง/เพื่อลดโอกาส/แนวโน้มที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้ได้มากที่สุด โดยขอน้อมนำศาสตร์พระราชาในเรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทางให้กับเด็กและเยาวชนได้ยึดถือเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตให้ห่างไกลจากยาเสพติด ชมรมจิตอาสามืองดาหลา ตำบลดุซงญอ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้มีความรู้เกี่ยวกับประเภท โทษ พิษภัย ยาเสพติด รวมถึงกฎหมายและบทลงโทษที่เกี่ยวกับยาเสพติด

 

50.00
2 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน เกราะป้องกันภัยยาเสพติดให้กับเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรม

 

50.00
3 เพื่อสร้างความตระหนักถึงโทษ พิษภัยยาเสพติด รวมทั้งสามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมให้ห่างไกลจากยาเสพติด

 

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 52,400.00 2 52,400.00
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 50 51,700.00 51,700.00
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ 50 700.00 700.00

กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมให้ความรู้ โดยวิธีการบรรยาย หัวข้อเรื่อง ดังนี้ เรื่อง “ความรู้เกี่ยวกับชนิดและประเภทยาเสพติด” เรื่อง “โทษพิษภัยยาเสพติด” ใช้สื่อ เรื่อง “หลักการศาสนาในการแก้ไขปัญหายาเสพติด” เรื่อง “บุญคุณพ่อแม่” กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมให้ความรู้ โดยแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม จำนวน 5 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน โดยมีวิทยากรประจำกลุ่ม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้ารับการอบรมได้มีความรู้เกี่ยวกับประเภท โทษ พิษภัย ยาเสพติด รวมถึงกฎหมายและบทลงโทษที่เกี่ยวกับยาเสพติด
  2. ผู้เข้ารับการอบรมได้มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถนำหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสเพติด
  3. ผู้เข้ารับการอบรมเกิดความตระหนักถึงโทษ พิษภัยยาเสพติด รวมทั้งสามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมให้ห่างไกลจากยาเสพติดได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2563 22:43 น.