กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างแกนนำนักเรียน สุขภาพฟันดี ยิ้มสวย ตำบลดุซงญอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
รหัสโครงการ 64-L2476-1-24
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลจะแนะ
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 8,710.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอหมัดมูซูลัม เปาะจิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.123,101.643place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 แกนนำนักเรียน
60.00
2 ครูอนามัยโรงเรียนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
10.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพช่องปากของประชาชนไทยยังคงเป็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะโรคฟันผุในเด็กวัยเรียนเป็นปัญหาที่เด่นชัด ซึ่งเมื่อไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โรคจะลุกลามและสูญเสียฟันในที่สุด ส่งผลต่อพัฒนาการ สุขภาพ การสบฟัน ตลอดจนการใช้ชีวิตประจำวัน จากผลการดำเนินงาน ตรวจพบสภาวะช่องปากเด็กนักเรียนประถมศึกษาในอำเภอจะแนะ พบว่า สถานการณ์โรคฟันผุ ตั้งแต่ ปี 2561 – 2563 มีรายละเอียดดังนี้ จากรายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 แห่งประเทศไทย พบว่า เด็กอายุ 12 ปี มีฟันแท้ผุ ร้อยละ 52.0 ข้อมูลสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากอำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส พบว่า เด็กอายุ 12 ปี พ.ศ.2560 ,2561 และ 2562 มีฟันแท้ผุ ร้อยละ 89.3 , 74.3 และ 70.3 ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าในระดับประเทศ โรคในช่องปากสามารถป้องกันและลดความรุนแรงได้ โดยการดูแลสุขภาพอนามัยช่องปากด้วยวิธีการแปรงฟันที่ถูกต้อง จากข้อมูลข้างต้นแม้จะมีการสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมและทันตกรรมป้องกันอย่างเป็นรูปธรรม ในโรงเรียนประถมศึกษา ได้แก่ การตรวจสุขภาพช่องปาก การเคลือบหลุมร่องฟัน แต่ก็ยังพบว่าสถานการณ์โรคฟันผุในเด็กนักเรียนยังคงสูงอยู่ เนื่องจากเด็กยังขาดทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง ทั้งยังขาดการกระตุ้นที่สม่ำเสมอในการแปรงฟันอย่างถูกวิธี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างเสริมดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กในโรงเรียนประถมศึกษา จึงต้องพัฒนาศักยภาพของแกนนักเรียนให้มีความสารมารถในการดูแลควบคุมกำกับ การสร้างเสริมทันตสุขภาพของเด็กนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านสร้างเสริมทันตกรรมสุขภาพของแกนนำเด็กนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา

 

60.00
2 เพื่อส่งเสริมนโยบายที่สนับสนุนการดูแลทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 140 8,710.00 0 0.00
4 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 70 8,010.00 -
4 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ 70 700.00 -
  1. จัดทำหนังสือขออนุมัติจัดกิจกรรม
  2. จัดประชุมชี้แจงการดำเนินงาน
  3. อบรมเชิงปฏิบัติการในการพัฒนาศักยภาพแกนนำเด็กนักเรียนด้านส่งเสริมทันตสุขภาพ
  4. ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานทันตสุขภาพในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. โรงเรียนประถมศึกษาในตำบลดุซงญอมีการจัดกิจกรรมและมีนโยบายการดูแลทันตกรรมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
  2. โรงเรียนประถมศึกษาในตำบลดุซงญอ มีกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวันอย่างต่อเนื่อง
  3. แกนนำนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลทันตกรรมสุขภาพและมีความสามารถในการควบคุม กำกับการแปรงฟันของเด็กนักเรียนในโรงเรียนได้
  4. เด็กนักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีทักษะในการแปรงฟันได้อย่างถูกวิธี และมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น และสถานการณ์โรคฟันผุในเด็กนักเรียนประถมศึกษาในตำบลดุซงญอ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2563 22:54 น.