กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างสุขภาพและคัดกรองความเสี่ยงจากการทำงานของแรงงานนอกระบบ ในตำบลดุซงญอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
รหัสโครงการ 64-L2476-2-41
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารสวนตำบลดุซงญอ
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 33,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางซูลีนา อายุป
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.123,101.643place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานแรงงานนอกระบบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 1050 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อาสาสมัครอาชีวอนามัยชุมชน (อสอช.)
44.00
2 ประชาชนวัยทำงานที่มีความเสี่ยงจากการทำงาน
1,000.00
3 เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
6.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบายพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงานและบริการอาชีวอนามัยในสถานประกอบการของไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 – 2564 ตลอดจนการดำเนินการพัฒนาด้านอาชีวอนามัยด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องดังนั้นจึงต้องมีการปรับปรุง แก้ไข พัฒนา และการยกระดับมาตรฐานในด้านความปลอดภัยในการทำงานและการบริการอาชีวอนามัยในสถานประกอบการสำหรับสถานที่ต่าง ๆ เช่น สถานที่ราชการ สถานที่ประกอบการเอกชน ตลาด ร้านอาหาร โรงเรียน เป็นต้น เพื่อให้สถานที่ต่าง ๆ ได้รับการพัฒนาให้มีมาตรฐานที่กำหนดอันจะทำให้ประชาชนมีความปลอดภัยจากการบริการด้านความปลอดภัยในการทำงานและการบริการอาชีวอนามัยในสถานประกอบการเพิ่มขึ้นเพราะปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่าการลงทุนในการทำงานที่จะได้ผลตอบแทนกลับมาในรูปตัวเงินหรือรูปของทุนแบบอื่น ๆ เพื่อการผลิตหรือบริหารงานในรอบงานต่อไป และในการลงทุนก็มักจะเป็นการลงทุนในทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน อาคาร เครื่องจักร อุปกรณ์เครื่องใช้ที่จะทำให้เครื่องจักรเหล่านั้นทำงานได้ดีขึ้นเมื่อถึงเวลาก็มีการซ่อมบำรุงดูแลเพื่อให้ทำงานได้ดีต่อไปอีก แต่หากเรามาพิจารณาถึงพนักงานที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานแล้วกลับไม่ได้รับการดูแลเท่าทีควร กล่าวคือเมื่อเข้าทำงานก็มีการปฐมนิเทศมีการตรวจร่างกายทั่วไปเมื่อเจ็บป่วยก็มีสถานพยาบาลตามประกันสังคมหรือถ้าเจ็บป่วยจากการทำงานก็มีกองทุนเงินทดแทนให้ใช้ในความเป็นจริงการดูแลเพียงเท่านี้ยังไม่เพียงพอเพราะพนักงานไม่เสื่อมค่าเหมือนเครื่องจักรแต่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นตามประสบการณ์และการเรียนรู้และเครื่องจักรก็ไม่สามารถปฏิบัติได้ถ้าพนักงานไม่คอยควบคุมดูแลขณะที่พนักงานมีความสำคัญกว่าเครื่องจักรแต่มักไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและเต็มที่เท่าที่ควรจะเป็นแม้บางหน่วยงานจะมีกิจกรรมตรวจสุขภาพประจำปีให้แก่พนักงานแต่การตรวจร่างกายเท่าที่ทำอยู่นั้นที่จริงแล้วไม่จำเป็น ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย พร้อมทั้งยังเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุด้วย เนื่องจากจากตรวจร่างกาย เช่น การตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ การตรวจ X-ray ปลอดส่วนใหญ่มักไม่พบสิ่งผิดปกติเพราะเป็นการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาผู้ป่วยที่ไม่ตรงจุด แต่จากสถิติกลับพบวาพนักงานเป็นโรคจากความเสี่ยงในการทำงานที่ไม่เคยตรวจกันเลย นอกจากนี้การที่พนักงานเจ็บป่วย ไม่ว่าจะเจ็บป่วยจากการทำงานหรือไม่ก็ถือเป็นการสูญเสียทรัพยากรของหน่วยงาน เพราะนอกจากมูลค่าความเสียหายที่เกิดจากการหยุดงานแล้ว ยังสูญเสียโอกาสของพนักงานคนนั้น และยังสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจที่เสียไปกับการรักษาอาการเจ็บป่วยนั้นอีกด้วย ดังนั้นจึงเห็นว่าบุคลากรหรือพนักงานเป็นทรัพย์สินที่สำคัญของหน่วยงานการดูแลพนักงานจึงถือว่าเป็นเรื่องสำคัญเท่ากับหรืออาจจะมากกว่าเครื่องจัก และหน่วยงานควรถือเป็นนโยบายสำคัญในการดูแลบุคลากรหรือพนักงานด้วย ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลจึงได้ตระหนักถึงปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะเป็นสาเหตุในการเกิดโรคจากการประกอบอาชีพต่าง ๆ ในชุมชน จึงได้บูรณาการร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านกาเต๊าะ จึงจัดทำโครงการดังกล่าวขึ้นเพื่ออบรมให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่เกิดจากการทำงานและการป้องกันโรคที่เกิดจากการทำงานที่ถูกต้องและเก็บข้อมูลแรงงานนอกระบบในพื้นที่ที่มีอาชีพเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากการทำงานต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่เกิดขึ้นจากการทำงาน

 

50.00
2 เพื่อลดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคจากการทำงาน

 

1000.00
3 เพื่อคัดกรองความเสี่ยงจากการทำงานของแรงงานนอกระบบกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน

 

1000.00
4 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทราบถึงวิธีการค้นหาสิ่งคุกคามจากการทำงาน

 

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1106 33,000.00 0 0.00
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 50 6,800.00 -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ 50 700.00 -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมตรวจคัดกรอง 1,000 23,000.00 -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมออกเยี่ยมบ้านและติดตาม 6 2,500.00 -
  1. สำรวจข้อมูลสถานประกอบการในพื้นที่ ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคจากการทำงาน
  2. เขียนโครงการนําเสนอ เพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลดุซงญอ
  3. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการ
  4. ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ รพ.สต.บ้านกาเต๊าะ เพื่อวางแผนดําเนินงานตามกิจกรรม
  5. ประสานติดต่อวิทยากรในการอบรมให้ความรู้ปัจจัยเสี่ยงต่อการทำงาน
  6. ดำเนินการตามกิจกรรม/โครงการ อบรมให้ความรู้ปัจจัยเสี่ยงต่อการทำงาน และออกปฏิบัติงานเก็บข้อมูลวัยทำงานที่มีอาชีพเสี่ยงที่จะเกิดโรคจาการประกอบอาชีพในพื้นที่
  7. ประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ ตามแบบประเมินความพึงพอใจ
  8. สรุปผลการดำเนินงานและรายงานโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่เกิดจากการทำงาน
  2. ผู้เข้ารับการอบรมทราบถึงวิธีการค้นหาสิ่งคุกคามจากการทำงาน
  3. สามารถลดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคจากการทำงาน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2563 22:58 น.