กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุจิตแจ่มใส ร่ายกายแข็งแรง ในตำบลดุซงญอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
รหัสโครงการ 64-L2476-3-44
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์ส่งเสริมฟื้นฟู และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส ตำบลดุซงญอ
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 23,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลมูบิง ยูโซ๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.123,101.643place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้สูงอายุในเขตตำบลดุซงญอ
100.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผู้สูงอายุ คือ มนุษย์ที่มีอายุอยู่ในช่วงปลายของชีวิต มีช่วงอายุอยู่ระหว่าง 60 ปีขึ้นไป ผู้สูงอายุเป็นผู้ที่ได้มีการสั่งสมวิชาความรู้ต่าง ๆ มามากมายตลอดชีวิต เมื่ออายุมากขึ้น สภาพร่างกาย จิตใจ ตลอดจนการดำรงอยู่ในสังคมของผู้สูงอายุ จะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากวัยอื่น เนื่องจากมีความเสื่อมของการทำงานระบบต่าง ๆ ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะระบบประสาท ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบขับถ่าย ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบกระดูก และกล้ามเนื้อ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ มักจะเกิดขึ้นช้า ๆ ในภาวะปกติอวัยวะของระบบต่าง ๆ ยังทำหน้าที่ได้อย่างปกติ แต่ในภาวะบีบคั้น ไม่ว่าจะเกิดจากทางอารมณ์ หรือทางร่างกาย หรือสังคม จะทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถรักษาสภาวะสมดุลของร่างกายไว้ได้ ทำให้เกิดอาการผิดปกติ และทำให้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ง่าย ผู้ที่ร่วงเข้าวัยผู้สูงอายุนั้น จำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ทั้งอาหารการกิน ความเป็นอยู่ การรักษาตัว การตรวจสุขภาพ สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย ตลอดจนการเอาใจใส่ของบุตรหลานเพื่อให้พวกเขาทั้งหลายสามารถดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีสภาวะจิตร่าเริงสดใสและไม่เป็นภาระของสังคม
วัยสูงอายุ เป็นวัยที่ไม่เพียงแต่มีการเปลี่ยนแปลงทางตรงด้านร่างกายเท่านั้น แต่มีการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ อารมณ์ และสังคมด้วย ซึ่งผลกระทบทั้งต่อผู้สูงอายุ ลูกหลาน และบุคคลใกล้ชิด วัยผู้สูงอายุจะเป็นวัยของการพัฒนาความมั่นคงทางใจหรือความสิ้นหวัง ขึ้นอยู่กับพัฒนาการอันเนื่องมาจากวัยก่อน ถ้าชีวิตดำเนินมาด้วยความเชื่อมั่นว่าตนได้กระทำสิ่งที่เหมาะสมเป็นประโยชน์ ทำให้บุคคลนั้นมีความสงบสุขทั้งกายและใจ แต่ถ้าช่วงชีวิตผ่านมาตนไม่รู้สึกว่าประสบความสำเร็จบุคคลนั้นจะเกิดความรู้สึกสิ้นหวัง ท้อแท้ เนื่องจากหมดโอกาสที่จะแก้ไขได้อีก ทำให้รู้สึกว่ามีชีวิตอยู่โดยปราศจากคุณค่า และสูญเสียศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จนอาจกลายเป็นโรคซึมเศร้า และคิดฆ่าตัวตายได้ในอนาคต ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี มีความคิด ความรู้สึก ความเข้าใจที่มีต่อตนเองในวัยสูงอายุที่ปรากฏและมีการเตรียมตัวช่วยให้เปลี่ยนวัยแห่งการสูญเสียเป็นวัยแห่งโอกาส ได้แก่ โอกาสทำในสิ่งที่ปรารถนา โอกาสเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม โอกาสพัฒนาส่งเสริมสุขภาพกายและจิต โอกาสเลือกวิถีทางดำรงชีวิตที่เหมาะสมและโอกาสเข้าถึงศาสนา มีทัศนคติต่อวัยสูงอายุ การที่ผู้สูงอายุมีความคิด ความเข้าใจ ความรู้สึกที่มีต่อตนเองในภาพรวมและในแต่ละคุณลักษณะได้แก่ ความสวยงาม ความสามารถ ความดี ความถูกต้อง ความภูมิใจในตนเองนั้นจะทำให้เกิดความพึงพอใจในชีวิต และเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณค่าทางสังคม ประสบความสำเร็จในชีวิต
โดยทั่วไปการจัดบริการด้านสุขภาพอนามัยสำหรับผู้สูงอายุ จะมุ่งแก้ปัญหาและสนองความต้องการของผู้สูงอายุทุกภาวะสุขภาพ โดยมีเป้าหมายคือการมีสุขภาพดีและคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีจะสามารถดูแลตนเองได้เป็นอย่างดี แต่ยังคงมีความจำเป็นที่จะได้รับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันความเจ็บป่วย เพื่อดำรงภาวะสุขภาพที่ดีไว้ บริการที่จัดให้ผู้สูงอายุในกลุ่มนี้ จะครอบคลุมการให้ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวต่าง ๆ การสนับสนุน ส่งเสริม ชี้แนะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม บริการต่าง ๆ เหล่านี้สามารถดำเนินการทั้งในสถานบริการและในชุมชน สำหรับผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย            จะต้องการบริการรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสภาพ เพื่อให้หายจากโรคและกลับคืนสู่ภาวะปกติ การดำเนินการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค จะต้องดำเนินการอย่างทั่วถึง ครอบคลุมทุกพื้นที่ในตำบลดุซงญอ เพื่อให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ในตำบลสามารถเข้าถึงบริการได้
จากสภาพปัญหาผู้สูงอายุดังกล่าว ศูนย์ส่งเสริมฟื้นฟู และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส ตำบลดุซงญอ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ จึงได้มีแนวคิดจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุจิตแจ่มใส ร่างกายแข็งแรง ในตำบลดุซงญอขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์และรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและสังคม เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพและแก้ไขปัญหาสุขภาพได้ด้วยตนเอง และผู้สูงอายุได้รับการตรวจคัดกรองปัญหาสุขภาพเบื้องต้น โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่พร้อมทั้งส่งเสริมการมีสุขภาพจิตของผู้สูงอายุลดอาการซึมเศร้าดังกล่าวต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์และรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดอาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

 

100.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาสุขภาพได้ด้วยตนเอง

 

100.00
3 เพื่อเป็นการตรวจสุขภาพและคัดกรองโรคเบื้องต้น หากพบความผิดปกติจะได้ให้คำแนะนำและ/หรือให้ไปตรวจรักษาต่อที่ รพ.สต.ในตำบลต่อไป

 

100.00
4 เพื่อให้ความรู้ทางด้านสุขภาพอนามัยแก่ผู้สูงอายุและครอบครัว เพื่อให้ผู้สูงอายุปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลตนเอง และเพื่อให้คนในครอบครัวเข้าใจและปฏิบัติต่อผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม

 

100.00
5 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการรวมกลุ่มในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ อันจะช่วยให้เกิดผลดีต่อผู้สูงอายุ ครอบครัว และสังคม ต่อไป

 

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 200 23,400.00 0 0.00
4 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 100 22,700.00 -
4 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ 100 700.00 -
  1. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวบรวมข้อมูลมาวางแผนดําเนินกิจกรรม
  2. ประชุมคณะกรรมการศูนย์ส่งเสริมฟื้นฟู และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส ตำบลดุซงญอ, ชมรมผู้สูงอายุตำบลดุซงญอ, เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง อบต.ดุซงญอ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ และรพ.สต.บ้านกาเต๊าะ เพื่อวางแผนดําเนินงานตามกิจกรรม
  3. เขียนโครงการนําเสนอ เพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลดุซงญอ 4. ติดต่อประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขออนุเคราะห์เจ้าหน้าที่ร่วมดำเนินงานในการตรวจ  คัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุเบื้องต้น
  4. ประสานติดต่อ/จัดหาวิทยากร เพื่อให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ
  5. ประสานจัดหาสถานที่ดำเนินการตามโครงการ
  6. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  7. ดำเนินการตามโครงการ โดยมีกิจกรรมดังนี้
    • ตรวจและคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุเบื้องต้น เช่น วัดความดันโลหิตสูง คัดกรองเบาหวาน ชั่งน้ำหนัก วัดเอว รณรงค์ลดพุง (โรคอ้วน) ตรวจสุขภาพฟัน (ฟันปลอม) คัดกรองโรคซึมเศร้า เป็นต้น
    • กิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ และการเตรียมตัวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ
    • กิจกรรมทางกาย การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ
  8. สรุปและประเมินผลโครงการ โดยสอบถามความพึงพอใจในโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์และรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดอาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
  2. ผู้สูงอายุมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้นและสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุข
  3. ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาสุขภาพได้ด้วยตนเอง
  4. คนในชุมชนเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุ
  5. ผู้สูงอายุได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุมากขึ้น
  6. สมาชิกในครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2563 23:04 น.