ติดตามการได้รับวัคซีนเด็ก 0-5 ปี (01-34)
ชื่อโครงการ | ติดตามการได้รับวัคซีนเด็ก 0-5 ปี (01-34) |
รหัสโครงการ | 64-l4123-01-34 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | รพ.สต.บ้านสายตาเอียด |
วันที่อนุมัติ | 17 พฤศจิกายน 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ธันวาคม 2564 |
งบประมาณ | 32,285.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางแวเย๊าะ มะณีหิยา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 94 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
งานสร้างเสริมภูมคุ้มกันโรค เป็นงานที่มีความสำคัญอย่างหนึ่งในการที่จะช่วยป้องกันการเกิดโรคและส่งเสริมสุขภาพพื้นฐานให้แก่ประชาชน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญว่าวัคซีนเป็นเครื่องมือป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพสูง จึงได้นำวัคซีนที่มีคุณภาพและเหมาะสมสำหรับประเทศ มาควบคุมการกระจายของโรค โรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนอาจเกิดการระบาดได้ถ้าไม่สามารถให้วัคซีนได้ครอบคลุมเพียงพอ หรือให้ไม่ครบตามจำนวนครั้งที่กำหนด วัคซีนที่ใช้ต้องมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคสูงและต้องมีความปลอดภัย และให้บริการโดยไม่คิดมูลค่าแม้ว่าวัคซีนจะไม่ใช่ยารักษาโรค แต่วัคซีนก็เป็นเครื่องป้องกันที่ช่วยให้เด็กๆปลอดภัยจากโรคร้ายที่มากล้ำกรายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กวัยขวบปีแรกที่มีอัตราเสี่ยงสูงในการต่อต้านเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายการรับวัคซีนเพื่อสร้างภูมิต้านทานเป็นวิธีที่ง่ายดายปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการป้องกันเด็กจากโรคบางอย่างความเสี่ยงจากโรคเหล่านั้นมากมายหลายเท่าเพื่อให้ได้รับภูมิต้านทานที่ครบถ้วนเด็กจะต้องได้รับวัคซีนตามเกณฑ์อายุทั้งหมดและควรได้รับตรงเวลาอีกด้วย เนื่องจากหลายปีที่ผ่านมาได้เกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนขึ้นในพื้นที่ เช่น โรคหัด และพบว่าที่ป่วยเป็นโรคส่วนใหญ่ ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนตามเกณฑ์
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสายตาเอียด ในปีงบประมาณ 2562 มีประชากรเด็กอายุ 0 - 5 ปี จำนวน 84 คน เด็กที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุ จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 73.80 ได้รับวัคซีนช้ากว่าเกณฑ์อายุ 22 คน คิดเป็นร้อยละ 26.19 และที่ไม่ได้รับวัคซีนเนื่องจากผู้ปกครองไม่ยินยิม 3 คน คิดเป็นร้อยละ 3.57 ซึ่งพบว่ายังเป็นปัญหาในการดูแลสุขภาพของเด็ก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสายตาเอียด ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นในการสร้างเสริมภูมคุ้มกันโรค จึงได้จัดทำ โครงการติดตามการได้รับวัคซีนเด็ก 0-5 ปี เพื่อให้การพัฒนางานสาธารณสุข มีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาและแนวโน้มสุขภาพอนามัยอันจะก่อให้เกิดการพัฒนาในด้านอื่นๆอย่างต่อเนื่องต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ข้อที่ 1เพื่อให้เด็กที่มีอายุ 0-5 ปีได้รับวัคซีนครบ ตามเกณฑ์ ผู้ปกครองมีความรู้ และมีความตระหนักในการนำพาบุตรหลานมาฉีดวัคซีนตามนัด |
100.00 | 30.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 32,285.00 | 0 | 0.00 | 32,285.00 | |
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 | ลงพื้นที่ติดตามเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนตามนัด | 0 | 8,400.00 | - | - | ||
3 ก.พ. 64 | จัดอบรม ให้ความรู้ แก่ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี | 0 | 14,800.00 | - | - | ||
10 ก.พ. 64 | จัดอบรม ให้ความรู้ แก่อสม. | 0 | 9,085.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 32,285.00 | 0 | 0.00 | 32,285.00 |
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. จัดอบรม ให้ความรู้ แก่ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี และอสม. 2. ติดตามเด็กที่ไม่มาฉีดวัคซีนตามนัด โดยอสม. เดือนละ 2 ครั้ง 3. สรุปผลการดาเนินงานโครงการจัดส่งรายงานผลการดำเนินโครงการ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. เด็ก 0-5 ปีได้รับการฉีดวัคซีนครอบคลุมร้อยละ 90
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2563 10:10 น.