กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เด็กบาโงยซิแนฟันดี ใส่ใจสุขภาพช่องปาก ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L4147-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต บาโงยซิแน
วันที่อนุมัติ 16 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 40,430.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอโนชา เหละดุหวี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 296 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาด้านทันตสุขภาพเป็นปัญหาสำคัญที่พบมากในนักเรียนประถมศึกษาเมื่อเทียบกับโรคอื่นๆที่ตรวจพบในกลุ่มเดียวกันและปัญหาด้านทันตสุขภาพนั้น นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพช่องปากของเด็กแล้วยังมีผลกระทบต่อการเรียนและพัฒนาการของเด็ก นักเรียนประถมศึกษาอยู่ในช่วงอายุ ๖-๑๒ ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีฟันแท้ขึ้นใหม่ๆ ลักษณะรูปร่างฟันมีหลุมร่องลึกทำให้เกิดโรคฟันผุได้ง่ายนอกจากอุปนิสัยของเด็กที่ชอบรับประทานของหวานตลอดจนมีข้อจำกัดในเรื่องความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคในช่องปากได้ง่ายหากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่ดีพอ โรคในช่องปากเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้และสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพหากเริ่มต้นส่งเสริมตั้งแต่วัยเด็ก การฝึกฝนให้เด็กมีทันตสุขนิสัยที่ดีและการส่งเสริมและป้องกันรวมทั้งการบำบัดรักษาในระยะเริ่มแรกของการเป็นโรค จะช่วยป้องกันและควบคุมโรคในช่องปากของเด็กได้ จากการสำรวจสุขภาพช่องปากเด็กนักเรียนในเขตพื้นที่รับผิดของรพ.สต.บาโงยซิแน เด็กกลุ่มอายุ ๑๒ ปี อัตราฟันแท้ผุเฉลี่ยร้อยละ ๖๙.๘๙ เด็กอายุ ๑๒ ปี มีฟันดีไม่มีผุ (Cavity Free) ร้อยละ๘๓.๓๓ เฉลี่ย DMF ( ผุ อุด ถอน ) ๒.๖๓ ซี่ต่อคนและเด็กอายุ ๔-๑๒ ปี ได้รับการทาฟลูออไรด์ ๘๑.๙๙ (ข้อมูล HDCณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓) จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าสภาวะฟันผุของเด็กนักเรียนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของรพ.สต.บาโงยซิแน อยู่ในระดับสูง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการขาดความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่ถูกต้องและเหมาะสม การแปรงฟันฟันอย่างถูกวิธี รวมถึงการได้รับฟลูออไรด์ในปริมาณที่ไม่เพียงพอ ส่งผลให้เกิดปัญหาโรคฟันผุในเด็กนักเรียน ซึ่งปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ไขป้องกันได้ หากได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องและเหมาะสม ด้วยเหตุนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงยซิแน ได้เล็งเห็นความสำคัญ เพื่อเด็กนักเรียนมีความรู้และมีทัศนคติที่ดี ต่อการดูแลสุขภาพช่องปาก และ มีทักษะการแปรงฟันที่ถูกต้อง ได้รับฟลูออไรด์ที่เพียงพอ อาจจะส่งผลให้อัตราการเกิดโรคฟันผุลดลงในการดำเนินกิจกรรมทันตสุขภาพ มุ่งเน้นให้นักเรียนมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีและเหมาะสมต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ได้รับการเคลือบฟลูออไรด์ โรงเรียนกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

 

0.00
2 2.เพื่อให้เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖โรงเรียนกลุ่มเป้าหมายได้รับการฝึกทักษะแปรงฟันที่ถูกวิธี

 

0.00
3 3.เพื่อสร้างเสริมสุขภาพช่องปากแก่หญิงตั้งครรภ์ ได้แก่ การฝึกทักษะการแปรงฟันช่วงตั้งครรภ์ เยี่ยมหลังคลอด และ OHI ช่วงฝากครรภ์

 

0.00
4 4.เพื่อส่งเสริมป้องกันและรักษาช่องปากในกลุ่มผู้สูงอายุ จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากแก่ชมรมผู้สูงอายุ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 40,430.00 0 0.00
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 1.อบรมให้ความรู้และฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธีและเคลือบฟลูออไรด์เจล 0 40,430.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อัตราการเกิดโรคฟันผุในเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ลดลง
2.โรงเรียนมีกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากที่ชัดเจน เป็นรูปแบบและสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง มีะบบการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการปฏิบัติตัวเพื่อการมีสุขภาพช่องปากที่ดี
3.หญิงตั้งครรภ์และผู้สูงอายุมีความรู้ในการป้องกันและดูแลช่องปากและฟัน
4.ชุมชนมีส่วนร่วมและส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2563 00:00 น.