กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเพิ่มการเข้าถึงบริการคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ประจำปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L3043-01-0003
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาลีอายร์
วันที่อนุมัติ 16 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 พฤศจิกายน 2563 - 31 กรกฎาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 27,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวาสนา ดาหะมิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาลีอายร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 30 พ.ย. 2563 30 ก.ค. 2564 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (27,250.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในหญิงไทย พบมีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ 8,200 ราย พบมากที่สุดระหว่างอายุ 45-50 ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม อัตราการอยู่รอด 5 ปี ประมาณร้อยละ 60 จึงมีผู้ป่วยสะสมจำนวนมาก คาดประมาณว่าจะมีผู้ป่วยพบรายใหม่และผู้ป่วยเก่าที่ต้องติดตามทำการดูแลรักษาอยู่ไม่น้อยกว่า 6,000 คนทั่วประเทศการทำการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกอย่างต่อเนื่องจะสามารถควบคุมการดำเนินของโรคได้ ซึ่งการคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยวิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเองจะสามารถค้นหาความผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว ส่วนการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยการทำ Pap Smearมีผลการศึกษาวิจัยทั่วโลกว่าสามารถลดอุบัติการณ์ และอัตราตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้มากกว่าร้อยละ 80 ถ้าทำได้อย่างมีคุณภาพและมีความครอบคลุมกลุ่มประชากรเป้าหมายทั้งหมดได้สูงจากผลการศึกษาในหลายประเทศแสดงให้เห็นว่าการตรวจคัดกรองด้วยการทำ Pap Smear ให้ครอบคลุมกลุ่มสตรีเป้าหมายทั้งหมด มีความสำคัญต่อการลดอัตราการเกิดและตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกมากกว่าความถี่ที่ได้รับการตรวจแต่ไม่ครอบคลุมประชากรทั้งหมด
ซึ่งการดำเนินงานการป้องกันมะเร็งปากมดลูกในปีที่ผ่านมา พบประเด็นที่ต้องพัฒนาคือ ผลการดำเนินงานไม่บรรลุตามเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจเพียงร้อยละ 22.80เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายมีความกลัวเจ็บ รับไม่ได้ถ้าหากรู้ตนเองเป็นมะเร็งจริงๆคิดว่าไม่เป็นโรค ยังไม่ตระหนักถึงความอันตรายของโรค และมีความอายในการมาตรวจกับเจ้าหน้าที่รู้จักกันนอกจากนี้ความแตกต่างทางวัฒนธรรมวิถีชีวิตของผู้คนในพื้นที่ยิ่งทำให้การดูแลสุขภาพกลายเป็นเรื่องที่มีมิติทางความรู้สึกที่ซับซ้อนกว่าประชากรในพื้นที่อื่นดังนั้น การดำเนินงานด้านสุขภาวะในพื้นที่จึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนโดยเฉพาะในสตรีมุสลิม จึงจำเป็นต้องสร้างเครือข่ายผู้ที่เกี่ยวข้องให้เกิดความเข้าใจในอัตลักษณ์ของกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง จึงจะเกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด นอกจากนี้โรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เพราะทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรบุคคลและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมต้องมีการค้นหา โดย การตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่ อยู่ในระยะเริ่มแรกและในระยะก่อนเป็นมะเร็งซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาลีอายร์ มีความตระหนักและเห็นถึงปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการเพิ่มการเข้าถึงบริการคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกขึ้น เพื่อลดอัตราการเกิดโรคโดยครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายสตรีอายุ 30-60 ปีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ 30-60 ปี มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

จำนวนสตรีกลุ่มอายุ 30-60 ปี มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

100.00
2 เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก

จำนวนสตรีกลุ่มอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลุก

80.00
3 เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ 30-60 ปี สามารถตรวจเต้านมได้ด้วยตนเอง

จำนวนสตรีกลุ่มอายุ 30-60 ปี สามารถตรวจคัดกรองเต้านมด้วยตัวเองอย่างถูกต้อง

85.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 27,250.00 0 0.00
15 ก.พ. 64 1.กิจกรรมให้ความรู้มะเร็งปากมดลูกและเต้านม และฝึกทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง 100 27,250.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปีมีความรู้เรื่องมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก และมีทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และได้รับการตรวจพบมะเร็งในระยะเริ่มต้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2563 13:26 น.