กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาสาสมัครเยาว์วัยใส่ใจผู้ด้อยโอกาสตำบลลำภู
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านทำเนียบ
วันที่อนุมัติ 13 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2560 - 31 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 45,167.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปัญจะไชยศรผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทำเนียบ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำภู อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.379,101.819place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 55 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในสังคม และมีการเติบโตของประชาชนเข้าสู่ยุคสังคมสู.วัยเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับอัตราการเกิดที่มีสัดส่วนลดลง จึงทำให้เกิดวิกฤติการณ์ในสังคมอนาคตอันใกล้นี้ขาดคนในวัยทำงาน และจำนวนผู้สุงวัยหลังเกษียณที่มีจำนวนมากขึ้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของภาระครอบาครัวในสังคมไทย เนื่องจากหนุ่มสาววัยทำงานจำนวนมาก ต้องออกจสากถิ่นกำเนิดเพื่อไปหาเลี้ยงชีพนอกเขตที่อยู่อาศัย ทั้งเขตเมือง หรือต่างถิ่น ดังนั้น จึงจำเป็นต้องปล่อยให้ผู้สูงอายุอยู่อาศัยตามลำพัง ไม่มีคนช่วยดูแล หรือในกรณีที่ผู้สูงอายุอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ รวมทั้งผู้สูงอายุที่มีความสามารถในการทำกิจกรรมน้อยลง จึงทำให้ผู้สูงอายุ รู้สึกว่าตรเองหมดคุณคา่าและไร้ประโยชน์ และเป็นภาระให้ลูกหลาน โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เคยพึ่งตนเองได้ดีตลอดมารจะต้องเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้รับการช่วยเหลือจากผุ้อื่น และถ้าผู้ใกล้ชิดหรือสมาชิกในครอบครัวไม่ให้ความรักและความสนใจจะส่งผลให้ผู้สูงอายุเกิดอาการซึมเศร้าและเกิดการแยกตัวออกจากสังคม หรือมีพฤติกรรมอื่นที่น่าเป็นห่วงเพิ่มมากขึ้น และในขณะเดียวกันเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี หรือเยาวชนไทยที่เป็นอนาคตของประเทศกลับมีจำนวนลดน้อยลงและส่วนใหญ่ยังใช้ชีวิตอยู่กับเทคโนโลยีและใช้อุปกรณ์ดิจิตอลกันมากขึ้น จึงทำให้การมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างลดน้อยลง มีพื้นที่ที่เป็นโลกส่วนตัวมากขึ้น เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว อันส่งผลทำให้เกิดความคุ้นเคยกับการใช้ชีวิตตามลำพัง และความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ หากไม่มีมาตรการป้องกันหรือรองรับอย่างสอดคล้องและเหมาะสมที่จะทำให้เกิดปัญหาสังคมตามมาในอนาคต โดยในปัจจุบันตำบลลำภูมีผู้สูงอายุ จำนวน 1,313 คนคิดเป็นร้อยละ 10 ของประชากรทังหมดแล่งกลุ่มตามความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (Activity ofDaily living : ADL) กลุ่มที่ 1 กลุ่มติดสังคม จำนวน 1,283 คนร้อยละ 97.72กลุ่มที่ 2 กลุ่มติดบ้านจำนวน 25 คนร้อยละ 1.9 และกลุ่มที่ 3 กลุ่มติดเตียง จำนวน 5 คนจ ร้อยละ 0.38 (ข้อมูลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำภู,2559) ผู้เสนอโครงการได้เล็งเห็นว่าเด็กและเยาวชนน่าจะเป็นกำลังสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวและในชุมชนของตนเอง โดยเฉพาะในเรื่องการดูแลสุขภา่พเบื้องต้น เช่น การทำความสะอาดร่างกายผู้สูงอายุ การบีบนวดผ่อนคลใายกล้มเนื้อให้กับผู้สูงอายุ การช่วยเหลือดูแลปรับสภาพแวดล้อมในบ้านและชุมชนให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ รวมถึงการพูดคุยให้กำลังใจสร้งรอยยิ้มและเสียงหัวเราะให้กับผู้สูงอายุ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นไม่เป็นภาระของชุมชนและสังคม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างทักษะในการดูแลผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว

 

2 เพื่อให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียงได้รับการดูแลโดยเด็กและเยาวชนในครอบครัวหรือชุมชน

 

3 เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกในด้านจิตสาธารณะ หรือจิตอาสาให้กับเด็กและเยาวชน

 

4 เพื่อเพิ่มจำนวนจิตอาสาในกลุ่มเด็กและเยาวชน และเครือข่ายประชาชนให้มากขึ้น

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ - แต่งตั้งคำสั่งคณะทำงานที่ประกอบด้วยภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในชุมชนทีเ่กี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย รพ.สต.ลำภู , อบต.ลำภู , ตัวแทนครูในพื้นที่ - ประชุมคณะทำงานเพื่อจัดทำกำหนดการและหลักสูตรการฝึกอบรมและร่างโครงการเพื่อเสนอขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ลำภู - ประชุมเตรียมความพร้อม/ติดต่อสถานที่ในการฝึกอบรม/ประสานงานวิทยากร/จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรมและลงเยี่ยมผู้สูงอายุติดบ้างติดเตียง ขั้นดำเนินการ - จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับเด็กและเยาวชน อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน/อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุและภาคีเครือข่ายงานพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จำนวน 85 คนเป็นเวลา 1 วัน ตามตารางการฝึกอบรมแนบท้าย - จัดกิจกรรมลงเยี่ยมผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง เพื่อดูแลสุขภาพเบื้องต้น เช่น การทำความสะอาดร่างกายผู้สูงอายุ การบีบนวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อให้กับผู้สูงอายุ การช่วยเหลือดูแลปรับสภาพแวดล้อมในบ้านให้เหมาะสมและปลอดภัยกับผู้สูงอายุ รับฟังปัญหาของผู้สูงอายุ รวมถึงการพูดคุยให้กำลังใจสร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะให้กับผู้สูงอายุตามกำหนดการลงเยี่ยมแนบท้าย ขั้นสรุปผล ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน(แบบประเมินผลก่อนและหลังการฝึกอบรม) จัดทำรายงานผลให้กองทุนหลังประกันสุขภาพ อบต.ลำภู ทราบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กและเยาวชนมีจิตสำนึกด้านจิตสาธารณะหรือจิตอาสาอย่างยั่งยืนและมส่วนร่วมในสังคม
  2. กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ และสามารถนำความรู้ไปถ่ยทอดขยายผลไปนังผู้ใกล้ชิดในครอบครัวและชุมชนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
  3. ผู้สูงอายุในตำบลลำภูได้รับการดูแลให้มีสุขภาพดี มีขวัญและกำลังใจในการดำเนินชีวิต และมีความสุข
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2560 11:14 น.