กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เยี่ยมบ้าน เสริมสร้างวัคซีนในเด็ก 0-1 ปี (01-05)
รหัสโครงการ 64-l4123-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านกือลอง
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2020
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2021 - 31 สิงหาคม 2021
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2021
งบประมาณ 22,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฮามีด๊ะ ตาเหร์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) การดูแลสุขภาพและสุขอนามัยในเด็กเป็นช่วงระยะเวลาที่เด็กเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วมาก เป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการสร้างรากฐานชีวิตและจิตใจ ของมนุษย์ นอกจากร่างกายจะเจริญเติบโตอย่างเร็วแล้ว สมองของเด็กก็เจริญเติบโตสูงสุดในช่วงวัยนี้ด้วย
จากการดำเนินงานงานการส่งเสริมสุขภาพของเด็กกลุ่มอายุ 0- 1 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกือลอง ในรอบปี 2562ที่ผ่านมาในกลุ่มเด็ก 0-1 ปีในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกือลอง ผลการดำเนินงานการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก 0-1 ปี พบว่ามีอัตราความคลอบคลุมต่ำกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ คืออัตราความคลอบคลุมเด็ก 0- 1 ปี ต้องมากกว่าร้อยละ 95 สำหรับในพื้นที่ ม.2 ม.6 และม.9 พบว่าการรับวัคซีนของ กลุ่มเด็กอายุครบ 1 ปี จำนวน 40 คน ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ จำนวน 18 คน (ร้อยละ 45.0 ) นอกจากนี้ในพื้นที่ยังพบการแพร่ระบาดของโรคหัด ในปี 2562 พบผู้ป่วยด้วยโรคหัดในเด็กอายุ 1 ปี จำนวน 15 ราย ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่ได้รับการฉีดวัคซีนหัด ทำให้มีผู้ป่วยและมีแนวโน้มเพิ่มทุกปี ดังนั้น เพื่อให้การการดำเนินงานการส่งเสริมสุขภาพของเด็ก 0 – 1 ปี มีกิจกรรมที่สามารถร่วมส่งเสริมการดูแลสุขภาพของเด็กกลุ่มนี้ได้ครบถ้วนและสามารถบูรณาการดูแลด้านต่างๆ ร่วมกัน ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกือลอง ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา จึงได้จัดทำโครงการเยี่ยมบ้านเสริมสร้างวัคซีนในเด็ก 0- 1 ปี เพื่อเป็นการส่งเสริมและเร่งรัดการรับวัคซีนของเด็กอายุ 0 – 1 ปีในพื้นที่ให้มีความครอบคลุมมากที่สุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองพาบุตรหลานรับวัคซีนในกลุ่มเด็ก 0-1 ปี ตามเกณฑ์

ความครอบคลุมของเด็ก 0-1 ปี ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

100.00 90.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีการดูแลภาวะโภชนาการและพัฒนาการในเด็ก 0-1 ปี

-เด็กอายุ 0 – 1 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 80 -เด็กอายุ 0 – 1 ปี มีโภชนาการสมวัย ร้อยละ 80

100.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 140 22,400.00 0 0.00
1 ม.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง อสม. ภาคีเครือข่าย 100 19,000.00 -
1 ม.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 ติดตามเยี่ยมบ้านเด็ก 0 – 1 ปี เพื่อมารับวัคซีนตามเกณฑ์ โดยแกนนำอสม.และผู้นำในชุมชน 40 3,400.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. ขออนุมัติโครงการ และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. ประชุม อสม.และเจ้าหน้าที่รพ.สต.บ้านกือลอง และภาคีเครือข่าย เพื่อชี้แจงโครงการ 3. สำรวจจำนวนเป้าหมาย ความครอบคลุมการได้รับวัคซีนในเด็ก 0 –1 ปีมีการสรุปข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหา เด็กอายุ0 –1 ปี จำนวน 40 คน 4. จัดประชุมผู้ปกครองเด็ก เป้าหมายผู้ปกครองเด็กอายุ 0- 1 ปี จำนวน 40 คน อสม. 50 คน ผู้นำ 10 คน รวม 100 คน 5. จัดทำแผนงานการติดตามวัคซีน เด็ก 0 – 1 ปี
6. ดำเนินการติดตามการรับวัคซีนในกลุ่มเด็กที่ไม่มารับวัคซีนตามเกณฑ์ทุกวันอังคารสัปดาห์ที่ 2 และ 3ของเดือน โดยแกนนำอสม.ในหมู่บ้านและผู้นำชุมชนอย่างต่อเนื่องทุกเดือน 7. สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็ก 0-1 ปี ตามเกณฑ์ ร้อยละ 95 2.ผู้ปกครองมีความรู้และมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพเด็ก 0 –1 ปี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2020 11:16 น.