กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกเทศบาลตำบลบ้านสวน ปี2564
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลบ้านสวน
วันที่อนุมัติ 9 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 35,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ เทศบาลตำบลบ้านสวน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนและป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก
17.00
2 ประชาชนขาดความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันโรคไข้เลือดออก(คน)
300.00
3 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับประเทศ ที่กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนด ให้เป็นโรคที่เป็นปัญหาเร่งด่วนที่สำคัญของประเทศ จากรายงานการเฝ้าระวังโรคปี 2563 จังหวัดพัทลุงมีอัตราป่วยด้วยไข้เลือดออก 170 คน ไม่มีรายงานเสียชีวิต อัตราป่วยคิดเป็น 32.38ต่อแสนประชากร (งานโรคติดต่อนำโดยแมลง สคร.12 27 ต.ค. 63) พบช่วงป่วยมากสุดอายุ 10-14 ปี (รายงาน รง 506 สสจ.พัทลุง) ที่อำเภอควนขนุนพบอัตราป่วย 2.4 คนต่อแสนประชากร แนวโน้มมีผู้ป่วยทุกปี สถานการณ์ในพื้นที่ ม.4,6,8 และ 9 ตำบลมะกอกเหนือ ปี พ.ศ.2558-2561 ผู้ป่วย 6,1,7 และ 0 ตามลำดับ อัตราป่วย 297.03,49.46,346.19 และ 0 ต่อแสนประชากร ปี 2562 ผู้ป่วยจำนวน 17 ราย อัตราป่วย 840.75 ต่อแสนประชากร (ข้อมูลจาก สถิติ รพ.สต.บ้านดอนศาลา 2562 ) ซึ่งต้องมีการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง ไข้เลือดออก มีพาหะนำโรค คือ ยุงลาย ฉะนั้นหลักการควบคุมโรคที่สำคัญ การป้องกันล่วงหน้า โดยการทำลายหรือควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ และครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชนหนาแน่น โรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายมักพบภายในบ้านหรือบริเวณบ้าน และเป็นภาชนะที่มีน้ำขังได้ เช่น อ่างน้ำ โอ่งน้ำ แจกัน ยางรถยนต์ จานรองขาตู้กับข้าวฯลฯ ซึ่งการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ ต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนทั่วไป องค์กรท้องถิ่น ส่วนราชการในท้องถิ่น ในการรณรงค์ให้มีการกำจัดลูกน้ำยุงลายทุกสัปดาห์ และให้มีการนำข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังฯ เพื่อค้นหาพื้นที่เสี่ยงการเกิดโรค จัดทำแผนปฏิบัติการ ควบคุมกำกับและประเมินผลการดำเนินการควบคุมโรค ดังนั้น เพื่อให้การป้องกันโรคล่วงหน้าและการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคให้สงบโดยเร็ว เทศบาลตำบลบ้านสวนจัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก เพื่อลดอุบัติการณ์และความรุนแรงจากปัญหาโรคไข้เลือดออกต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญ ของการป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ความร่วมมือในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

๑.ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญ ของการป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ความร่วมมือในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

400.00
2 ๒.เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก

๒. อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดน้อยลง

0.00
3 ๓.เพื่อให้ประชาชนองค์กรชุมชน องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

๓.ไม่มีผู้ป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก

0.00
4 ๔.เพื่อควบคุมการระบาดของโรคไม่ให้แพร่กระจาย

๔.สามารถควบคุมและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน

0.00
5 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ)

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.จัดกิจกรรมเดินรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก ๒.กิจกรรมใส่ทรายอะเบทในแหล่งเพาะพันธ์ยุงทุก 7 วัน ๓.กิจกรรมควบคุมโรคกรณีเกิดโรค -เพิ่มการออกสำรวจ -พ่นหมอกควัน -ค่า HI ไม่เกินร้อยละ๑๐

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกสามารถป้องกัน ควบคุมโรคได้ ๒.สามารถควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก ๓.ประชาชนองค์กรชุมชน องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ๔.ควบคุมการระบาดของโรคไม่ให้แพร่กระจาย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2563 11:32 น.