กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บองอ ประจำปี 2564
รหัสโครงการ 64-L2506-04-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลบองอ
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2020
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2020 - 30 กันยายน 2021
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2021
งบประมาณ 223,487.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนอร์อาลัม หะยีหมัด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบองอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2020 30 ก.ย. 2021 223,487.00
รวมงบประมาณ 223,487.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 45 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละเงินคงเหลือสะสมของกองทุนสุขภาพตำบล(เงินคงเหลือเทียบกับรายรับปีล่าสุด)
41.59
2 จำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพ เรื่อง ความเข้าใจจุดมุ่งหมายกองทุน ประกาศ ระเบียบ และการทำโครงการด้านสุขภาพ(คน)
26.00
3 จำนวนครั้งของประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ (ปีที่ผ่านมา)
100.00
4 จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่สามารถรับงบประมาณ (กลุ่ม/หน่วยงาน)
30.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพและสวัสดิการชุมชนในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2550 และตามบันทึกข้อตกลงการดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ระหว่างสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกับองค์การบริหารส่วนตำบลบองอ ตามบันทึกข้อตกลงที่33/2552ลงวันที่24ตุลาคม2551โดยเน้นเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันโรคการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพ ตลอดจนส่งเสริมให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังที่อยู่ในเขตพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงโดยมีการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมของบุคคลในพื้นที่และตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ ตามมาตรา 13 (3 ) มาตรา ๑๘ (4 ) (8) (๙) และมาตรา ๔๗ได้กำหนดให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สนับสนุนประสาน และกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพ ในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม และความเหมาะสม โดยมีวัตถุประสงค์ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตตลอดจนส่งเสริมให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง กลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ โดยมีการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมของบุคคลในพื้นที่ในระดับท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลบองอได้ตอบรับนโยบายและได้ดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๑เป็นต้นมา ซึ่งการบริหารและจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบองอดำเนินการโดยใช้แนวทางการดำเนินงานที่ใช้ชุมชนเป็นจุดศูนย์กลางในการเรียนรู้ และค้นหาปัญหาทางด้านสุขภาพรวมถึงการดำเนินการแก้ไขปัญหาทางด้านสุขภาพโดยชุมชน และเพื่อชุมชนเอง เพื่อความยั่งยืนและได้ประโยชน์ต่อประชาชนสูงสุด คณะกรรมการบริหารกองทุนฯและอนุกรรมการกองทุนฯ รวมทั้งบุคลากรทั้งภาครัฐและภาคีเครือข่ายทางด้านสุขภาพ จำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพเพื่อพัฒนาตนเอง เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบองอ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบองอให้มีประสิทธิภาพ และมีความยั่งยืนการจัดการเรียนรู้จะทำให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กรต่าง ๆ อย่างน้อย ๓ ประการคือ บรรลุเป้าหมายของงาน เป้าหมายของการพัฒนาคน และเป้าหมายของระบบการพัฒนาองค์กรอดีตที่ผ่านมาการดำเนินงานการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ บุคลากรทางด้านสาธารณสุขจะเป็นหน่วยงานหลักที่ดำเนินการแก้ปัญหาทางด้านสุขภาพ องค์กรภาคประชาชนชมรม กลุ่มองค์กรและชุมชนมีการดำเนินการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบองอน้อยมาก ซึ่งทำให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาทางด้านสุขภาพไม่บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ และแก้ไขปัญหาสุขภาพไม่ตรงกับความต้องการของชุมชนจากปัญหาดังกล่าวอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบองอ จึงจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบองอ ปี ๒๕๖๔ เพื่อให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบองอ มีระบบการบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพประสิทธิผลมีคุณภาพและมีความยั่งยืน พร้อมทั้งให้คณะกรรมการกองทุนมีความรู้ ความเข้าใจในการบริหารและดำเนินงาน กองทุนหลักประกันสุขภาพ ทั้งในด้านการบริหารงานกองทุนฯ กฎเกณฑ์ระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องและการจัดทำแผนสุขภาพ การพิจารณากลั่นกรองและติดตามประเมินผลโครงการรวมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเพื่อนำมาปรับใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบองอต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯ ให้แก่โครงการแก่ผู้รับทุน

กองทุนสุขภาพตำบลสามารถบริหารสนับสนุนเงินแก่ผู้รับทุนไม่น้อยกว่า 90 %

41.59 90.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน

มีจำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพฯ โครงการด้านสุขภาพ(คน)

26.00 45.00
3 เพื่อให้มีประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ ครบตามประกาศ

จำนวนครั้งของประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ ครบตามประกาศ

100.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 365 217,437.00 0 0.00
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 1. สนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงานเลขานุการกองทุน 39 0.00 -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 จัดหาวัสดุสำนักงานและอุปกรณ์สำหรับปฏิบัติงานในสำนักงานเลขานุการกองทุน 0 4,500.00 -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 จัดซื้อเครื่องปริ้นประจำสำนักเลขานุการกองทุน 0 4,300.00 -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 จัดซื้อวัสดุคอมพิวเตอร์ ประจำสำนักเลขานุการกองทุน 0 20,000.00 -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ดำเนินการจัดซื้อครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์สำหรับใช้ในสำนักเลขานุการกองทุน 0 22,000.00 -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 2.ประชุมคณะกรรมการ/อนุกรรมการและคณะทำงาน 39 0.00 -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ค่าเดินทางไปราชการ 39 20,287.00 -
29 ต.ค. 63 ประชุมอนุกรรมการ LTC ครั้งที่ 1 10 3,000.00 -
3 พ.ย. 63 ประชุมอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ ครั้งที่ 1/2564 10 3,000.00 -
9 พ.ย. 63 ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพครั้งที่ 1/2564 17 6,800.00 -
9 ก.พ. 64 ประชุมอนุกรรมการ LTC ครั้งที่ 2 10 3,000.00 -
15 ก.พ. 64 ประชุมอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ ครั้งที่ 2/2564 10 3,000.00 -
29 มี.ค. 64 ประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพครั้งที่ 2/2564 17 6,800.00 -
17 มิ.ย. 64 ประชุมอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ ครั้งที่ 3/2564 10 3,000.00 -
1 ก.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 3.กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพของกองทุนหลักประกันสุขภาพ พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะอนุกรรมการ LTC และคณะทำงานกองทุนฯ 37 80,000.00 -
1 ส.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 4. กิจกกรรมจัดทำแผนสุขภาพและแผนการรับจ่ายเงินกองทุน ประจำปี 2564 100 27,950.00 -
18 ส.ค. 64 ประชุมอนุกรรมการ LTC ครั้งที่ 3/2564 10 3,000.00 -
13 ก.ย. 64 ประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ 4/2564 17 6,800.00 -

1.จัดทำโครงการเพื่อขอเสนอขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนฯ 2.ดำเนินการประชุมร่วมกันวางแผน การดำเนินงาน และกำหนดห้วงเวลาในการประชุม 3.ติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการกองทุนฯ อนุกรรมการกองทุนฯ เพื่อกำหนดนัดหมาย 4.จัดเตรียมการประชุม ได้แก่ สถานที่ในการประชุมและเอกสารต่าง ๆ ในการประชุม และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 5.ดำเนินการประชุมตามแผนงานที่กำหนด   - จัดประชุมคณะกรรมการและที่ปรึกษากองทุนฯ อย่างน้อย 4 ครั้ง/ปี   - จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ อย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี 6.จัดการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่กองทุน โดยการประชุมร่วมกับทีมพี่เลี้ยงกองทุน 7.จัดการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทำแผนสุขภาพของกองทุน ร่วมกับทีมพี่เลี้ยงกองทุน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.บองอได้รับความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ 2.คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.บองอมีการบริหารงานกองทุนหลักประกันสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ 3.กองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.บองอประเมินผ่านเกณฑ์คุณภาพในระดับดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2020 00:00 น.