กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ลด ละ เลิกกลุ่มเสี่ยงความดันเบาหวานห่างไกลบุหรี่ (01-19)
รหัสโครงการ 64-l4123-01-19
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านตะบิงติงงี
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2563 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2564
งบประมาณ 31,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสีตีนุร อาแซ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.267099,101.336862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) จากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยในปี2560-2561 โรคที่เกิดมาจากการสูบบุหรี่ อันได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจหากผู้ป่วยเหล่านี้ยังคงสูบบุหรี่ต่อไปอาจทำให้เกิดอาการทรุดลงและโรคแทรกซ้อนได้ง่าย โดยผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังแต่ยังคงสูบบุหรี่ จะทำให้การพยากรณ์ของโรคเลวลงและมีรายงานว่า ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่กลับมาสูบบุหรี่ มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยที่หยุดสูบได้ถึง 3 เท่า เป็นสาเหตุที่ต้องตัดมือ ตัดเท้า ซึ่งส่วนมากผู้ป่วยไม่ทราบว่าการสูบบุหรี่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้(วิชัย เอกพลการ,2559) จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะบิงติงงี ได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมให้ผู้บริโภคลดและเลิกใช้ยาสูบ กลุ่มเสี่ยงฯที่มีอยู่ในพื้นที่ของรพ.สต.บ้านตะบิงติงงี ในปี2563 มี่กลุ่มเสี่ยงที่เป็นความดันเบาหวานเพิ่มขึ้นจำนวน 110 คน จึงมีโอกาสเสี่ยงที่ทำให้มีผู้สูบบุหรี่รายใหม่เพิ่มขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนที่เป็นโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เรื่อง การลด ละ เลิก บุหรี่ ร้อยละ 100

100.00 100.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ติดบุหรี่สามารถลด/เลิกบุหรี่

ผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงที่ติดบุหรี่ สามารถหยุดสูบบุหรี่อย่างน้อย 3 เดือน ร้อยละ 40

100.00 40.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 150 31,000.00 0 0.00
1 พ.ย. 63 - 30 ก.ย. 64 อบรมกลุ่มเสี่ยงฯ 50 9,250.00 -
1 พ.ย. 63 - 30 ก.ย. 64 แกนนำอสม.ติดตามเชิงรุก 50 12,500.00 -
1 ม.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 อบรมพี่เลี้ยงอสม.ในการติดตามเชิงรุก 50 9,250.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงความดันเบาหวานและแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ที่สูบบุหรี่ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง รวมทั้งสอน สาธิต และให้ปฏิบัติตาม วิธีกดจุด เพื่อหยุดสูบบุหรี่ จำนวน 50 คน กิจกรรมที่ 3 จัดอบรมพี่เลี้ยงอสม.ในการติดตามเยี่ยมดูแลกลุ่มเสี่ยงฯ จำนวน 50 คน กิจกรรมที่ 4 อสม.พี้เลี้ยงติดตามเชิงรุกในการดูแลกลุ่มเสี่ยงความดันเบาหวานจำนวน 5 ครั้ง.

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เรื่อง การลด ละ เลิก บุหรี่ ร้อยละ 100 2.ผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงที่ติดบุหรี่ สามารถหยุดสูบบุหรี่อย่างน้อย 5 เดือน ร้อยละ 40

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2563 11:03 น.