กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

  1. ชื่อโครงการ โครงการ “อิ่มท้อง สมองใส” โรงเรียนเทศบาล 3 (โศภนพิทยาคุณานุสรณ์) ปีงบประมาณ 2564

  2. วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1 เพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะทุพโภชนาการ ส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง    มีพัฒนาการสมวัย
    ข้อที่ 2 เพื่อให้นักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณภาพ ข้อที่ 3 เพื่อให้ผู้ปกครองของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายมองเห็นความสำคัญของการรับประทานอาหารเช้า

  3. กลุ่มเป้าหมาย
    3.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ
    3.1.1นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียนเทศบาล ๓ (โศภนพิทยาคุณานุสรณ์) เทศบาล นครหาดใหญ่ จำนวน 98 คน 3.1.2 จัดนักเรียนประชุมผู้ปกครองของนักเรียนในโครงการจำนวน 98 คน 3.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ
    นักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางสารอาหาร และเห็นความสำคัญของการรับประทานอาหารเช้า

  4. สถานที่ดำเนินการ
    โรงเรียนเทศบาล 3 (โศภนพิทยาคุณานุสรณ์) เทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

  5. วันที่จัดกิจกรรม   - กิจกรรมแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กนักเรียน (อาหารเช้า)   ระหว่างวันที่ 21 ธันวาคม 2563 – 2 เมษายน 2564 รวมจำนวน 70 วัน   - กิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครองของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย เรื่อง “อาหารมื้อเช้าสำคัญ สมองใส”   วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 จำนวน 98 คน

  6. งบประมาณ 6.1 งบประมาณที่ได้รับการอนุมัติ 250,880 บาท 6.2 งบประมาณที่เบิกจ่ายจริง 105,350 บาท คิดเป็นร้อยร้อยละ 41.99 6.3 งบประมาณที่เหลือส่งคืนกองทุน 145,530 บาท คิดเป็นร้อยร้อยละ 58.01

    6.4 งบประมาณเบิกจ่ายจริง มีรายละเอียด ดังนี้   - กิจกรรมแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กนักเรียน (อาหารเช้า)       ค่าอาหารเช้า 1 มื้อ ๆ ละ 15 บาท x 98 คน x 70 วัน  เป็นเงิน 102,900 บาท       - กิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครองของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย เรื่อง “อาหารมื้อเช้าสำคัญ สมองใส”       ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 98 คน ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน  2,450 บาท รวมทั้งสิ้น    105,350 บาท (หนึ่งแสนห้าพันสามร้อยห้าสิบบาทถ้วน)

  7. ผลการดำเนินงาน
    จากการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลภาวะโภชนาการเด็กนักเรียน ข้อมูลปีงบประมาณที่ผ่านมาได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินงานโครงการ ประชุมและวางแผนการจัดกิจกรรม คัดเลือกนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ ข้อมูลจากรายงานเฝ้าระวังการเจริญเติบโตวัยเรียนและเยาวชน ปีการศึกษา 2563 ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๓ (โศภนพิทยาคุณานุสรณ์) และได้ดำเนินจัดทำโครงการเด็กไทยอิ่มท้องสมองสดใส ใส่ใจสุขภาพตามที่วางแผนไว้ มีการติดตาม ประเมินผลโดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และแปรผล โดยใช้กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิง การเจริญเติบโตสำหรับเด็กนักเรียนเมื่อสิ้นสุดกิจกรรม ผลการดำเนินงาน ปรากฏว่า นักเรียนที่มีปัญหาภาวะ  ทุพโภชนาการ จำนวน 98 คน มีน้ำหนัก ส่วนสูง ตามเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 41.84 และนักเรียน จำนวน 57 คน น้ำหนัก ส่วนสูง ไม่ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ 58.16 นักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 98 คน คิดเป็นร้อยละ 100ได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณภาพ ผลการประเมินระดับคุณภาพของการจัดกิจกรรมแก้ปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยรวม เท่ากับ 4.71 และผู้ปกครองของนักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 98 คน มีความพึงพอใจและเห็นความสำคัญของการรับประทานอาหารเช้า คิดเป็น ร้อยละ 92.30

  8. ปัญหาและอุปสรรค

    1. ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีการทำงานในเวลาเช้ามีการเข้ากะการทำงานในเวลา ทำให้ส่งนักเรียนไม่ทันเวลาอาหารเช้า
    2. เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส covid- 19 ทำให้มีการเลื่อนเปิดเรียนและมีการปิดการเรียนการสอน ทำให้นักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าไม่ต่อเนื่อง
  9. ข้อเสนอแนะ ควรมีการจัดการเรื่อง การจัดอาหารเช้า ให้กับนักเรียนที่มีปัญหาทุพโภชนาการเพิ่มเป็นมื้ออาหารว่างเช้า และมื้ออาหารว่างบ่าย เนื่องจากนักเรียนรับประทานอาหารมื้อหลัก ได้น้อย ทำให้ภาวะโภชนาการ น้ำหนัก  นักเรียนไม่เป็นไปตามเกณฑ์ การเพิ่มอาหารว่าง จะส่งผลให้นักเรียนได้ปริมาณอาหาร สารอาหารเพิ่มสูงขึ้น  อาจส่งผลให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดีเพิ่มมากขึ้น

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะทุพโภชนาการส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง มีพัฒนาการสมวัย
ตัวชี้วัด : นักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการจำนวน 98 คน มีน้ำหนัก ส่วนสูง ตามเกณฑ์ มาตรฐาน ร้อยละ 85
0.00 41.84

เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส covid- 19 ทำให้มีการเลื่อนเปิดเรียนและมีการปิดการเรียนการสอน ทำให้นักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าไม่ต่อเนื่อง

2 เพื่อให้นักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณภาพ
ตัวชี้วัด : นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ ได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณภาพ ร้อยละ ๑๐๐
0.00 100.00

นักเรียนที่ได้รับประทานอาหารเช้าของโครงการได้รับอาหารที่มีคุณภาพ

3 เพื่อให้ผู้ปกครองของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายมองเห็นความสำคัญของการรับประทานอาหารเช้า
ตัวชี้วัด : ผู้ปกครองของนักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการจำนวน 98 คน มีความพึงพอใจและเห็นความสำคัญของการรับประทานอาหารเช้า ร้อยละ ๙๐
0.00 92.30

มีความพึงพอใจและเห็นความสำคัญของการรับประทานอาหารเช้า

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0 98
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 0 35
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 0 63
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 0
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะทุพโภชนาการส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง มีพัฒนาการสมวัย (2) เพื่อให้นักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณภาพ (3) เพื่อให้ผู้ปกครองของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายมองเห็นความสำคัญของการรับประทานอาหารเช้า

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน (2) กิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย เรื่อง "อาหารมื่อเช้าสำคัญ สมองใส" (3) การแก้ปัญหาภาวะโภชนาการของเด็กวัยเรียน เดือนธันวาคม 2563 (4) กิจกรรมการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน เดือนมกราคม 2564 (5) กิจกรรมการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน เดือนกุมภาพันธ์ 2564 (6) กิจกรรมการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน เดือนมีนาคม 2564 (7) กิจกรรมการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน เดือนเมษายน 2564

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh