กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการรับวัคซีนโดยภาคีเครือข่าย ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L4120-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหร
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 1 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 35,975.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายยูสนิง หะมะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวฟาตีมะห์ ปูเต๊ะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.105,101.204place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ธ.ค. 2563 31 ธ.ค. 2563 35,975.00
รวมงบประมาณ 35,975.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากผลการดำเนินงาน ความครอบคลุมการรับวัคซีนในเขตความรับผิดชอบของ รพ.สต บ้านแหรในปีทีผ่านมา พบว่า 1. ความครอบคลุมในเด็กอายุครบ 1 ปี เป้าหมาย 92 คน ผลงาน 55 คน ร้อยละ 59.78 2. ความครอบคลุมในเด็กอายุครบ 2 ปี เป้าหมาย 87 คน ผลงาน 42 คน ร้อยละ 48.28 3. ความครอบคลุมในเด็กอายุครบ 3 ปี เป้าหมาย 89 คน ผลงาน 49 คน ร้อยละ 55.06 4. ความครอบคลุมในเด็กอายุครบ 5 ปี เป้าหมาย 96 คน ผลงาน 52 คน ร้อยละ 54.17 จะเห็นได้ว่าทั้ง 4 กลุ่มอายุยังมีผลงานครอบคลุมที่ค่อยข้างน้อย ซึ่่งได้วิเคราะห์สาเหตุของปัญหามาจากกลุ่มที่เรียกว่า กลุ่มปฏิเสธการรับวัคซีนซึ่่งในพื้นที่มีมากถึง ร้อยละ 40 ดังนั้น ในทางการแก้ไขปัญหาคง จึงยังต้องเน้นการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจกับกลุ่มดังกล่าว รวมทั้งการใช้กระบวนการรณรงค์ เชิงรุกติดตามและสร้างความเข้าใจในแบบเคาะประตูบ้านโดยทีมของหมู่บ้าน จึงเป็นแนวทางที่น่าจะนำมาใช้และเกิดผลสำเร็จโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหร จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการรับวัคซีนโดยภาคีเครือข่ายประจำปีงบประมาณ 2564 เพื่อให้ความรู้และสร้างความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมายที่ยังปฏิเสธดังกล่าว จะเป็นการดึงภาคีเครือข่ายเช่นผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชนให้มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพือให้ความครอบคลุมการรับวัคซีนในเด็กอายุครบ 1 ปี 2 ปี 4ปี 5ปี มีอัตราที่เพิ่มขึ้น

ความครอบคลุมการรับวัคซีนในเด็กอายุครบ 1 ปี 2 ปี 4 ปี 5 ปี ร้อยละ 70

0.00
2 2.เพื่อให้ผู้ปกครองที่ไม่ตระหนักและปฏิเสธการรับวัคซีนมีความเข้าใจในวัคซีนที่ถูกต้อง

ผู้ปกครองที่ไม่ตระหนักและปฏิเสธการรับวัคซีน มีความตระหนักและนำบุตรหลานมารับวัคซีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ต่อปี

0.00
3 3.การบูรณาการงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโดยภาคีเครือข่าย

เกิดทีมสร้างความเข้าใจเรื่องวัคซีนในระดับหมู๋บ้านทุกหมู่บ้าน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 135 35,975.00 2 35,975.00
1 ธ.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย ทีมสร้างความเข้าใจ 35 15,925.00 15,925.00
1 ธ.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายผู้ปกครองที่ไม่ตระหนักและปฏิเสธการรับวัคซีน 100 20,050.00 20,050.00

1.ประชุมกำหนดกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ 2.วิเคราะห์ปัญหาที่พบและจัดแผนการดำเนินงาน 3.เขียน/โครงการ เพื่อเสนออนุมัติ 4.ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5.ประชาสัมพันธ์โครงการภายในชุมชน 6.ดำเนินงานตามโครงการฯ กิจกรรมการ 1.แต่งตั้งคณะทำงาน ทีมสร้างความเข้าใจเรื่องวัคซีนในระดับหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 5 คน ประกอบ ด้วยตัวแทนผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และบุคคลที่เป็นที่เคารพของคนในหมู่บ้าน 2.การจัดอบรม/ประชุมทีม ภายใต้ชื่อ คณะทำงานรณรงค์สร้างความเข้าใจเรื่องวัคซีนในระดับหมู่บ้าน โดยกำหนดบทบาทหน้าที่และบทบาทการดำเนินงาน 3.การจัดอบรมให้ความรู้เรื่องงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ตามกลุ่มเป้าหมาย ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี เน้นผู้ปกครองที่ไม่ตระหนักและไม่ยินยอม นำบุตรมารับวัคซีน ณ ห้องประชุม รพ.สต บ้านแหร 4.การจัดทำสื่อ ประชาสัมพันธ์งานสร้างเสริมคุ้มกันโรค และกิจกรรมรณรงค์ใช้สื่อสาธารณสุข เช่น หอกระจายข่าว มัสยิด วัด 5.จัดทำแผนรณรงค์การออกปฏิบัติงานค้นหา ติดตาม เยี่ยยทบ้าน ให้ความรู้ ให้กับผู้ปกครองของเด็ก 0-5 ปี เชิงรุกร่วมกับทีมสร้างความเข้าใจเรื่องวัคซีนในระดับหมู่บ้าน 6.การประกวดหนูน้อยสุขภาพดี 7.จัดทำแผนการติดตามเยี่ยมบ้านเชิงรุก การออกให้บริการฉีดวัคซีนนอกสถานที่ และติดตาม เด็กที่ขาดการวัคซีนในแต่ละเดือน 8.ประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ความครอบคลุมการรับวัคซีนในเด็กอายุครบ 1 ปี 2 ปี 4 ปี 5 ปี มีอัตราที่เพิ่มขึ้น 2.กลุ่มผู้ปกครองที่ปฏิเสธวัคซีนมีจำนวนลดลง 3.เกิดทีมสร้างความเข้าใจเรื่องวัคซีนในระดับหมู่บ้าน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2563 11:14 น.