กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมุ่บ้าน
วันที่อนุมัติ 16 ตุลาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 34,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวพนิดา พัดคง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยุโป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.597,101.283place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานเฝ้าระวัง สอบสวน และควบคุมโรค มีความสําคัญต่อระบบการป้องกันควบคุมโรคของประเทศ เขต และจังหวัด โดยทีม SRRT (Surveillance and Rapid Response Team) เป็นทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ประจําหน่วยงานสาธารณสุขที่มีพื้นที่รับผิดชอบในด้านการป้องกัน ควบคุมโรคซึ่งในด้านสมรรถนะบุคลากรเคยมีคํา กล่าวว่า “เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกคนต้องใช้ระบาดวิทยาในการปฏิบัติงาน” แต่ในด้านสมรรถนะขององค์กร อาจ กล่าวได้ว่า “หน่วยงานที่มีหน้าที่ป้องกันควบคุมโรคและภัยทุกหน่วยงาน ต้องมีทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (Surveillance and Rapid Response Team หรือSRRT)” เนื่องจาก ปัญหาภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (Public Health emergency) ที่มากขึ้นทั้งในด้านความถี่ ขนาด และความรุนแรง รวมถึงขีดความสามารถในการ แพร่กระจายปัญหาไปยังพื้นที่อื่น ๆ ทุกพื้นที่จึงจําเป็นต้องมีทีมงานรับผิดชอบในการเฝ้าระวังปัญหา และสามารถ ตอบสนองต่อปัญหาได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ หน่วยงานที่รับผิดชอบพื้นที่ได้แก่ หน่วยงานสาธารณสุขทุกระดับ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยหากพื้นที่ใดที่มีทีม SRRT ไม่เข้มแข็งจะเป็นจุดอ่อนของการป้องกันควบคุมโรค และอาจเป็นต้นเหตุที่ทําให้โรคทวีความรุนแรงขึ้นได้ เป็นที่ทราบกันดีว่า การระบาดของโรคมักเริ่มต้นในพื้นที่เล็ก ๆ ในชุมชนของตําบลใดตําบลหนึ่ง เจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับเหตุการณ์ที่สุดในพื้นที่ ควรได้รับทราบข่าวอย่างรวดเร็วเพื่อประโยชน์ในการ ควบคุมโรคเบื้องต้นที่ทันเวลา แต่ปัจจุบันการคมนาคมสะดวกสบายมากขึ้น ผู้ป่วยบางรายเดินทางไปรักษาใน โรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลอําเภอ โดยไม่ผ่านสถานีอนามัยหรือ รพ.สต. บางครั้งเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ทราบข่าวการ เจ็บป่วยของคนในชุมชนจากการแจ้งกลับของโรงพยาบาลที่ไปรักษา บางครั้งทราบจากสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ แต่ ไม่มีการจัดการที่เป็นระบบหากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ได้รับข้อมูลล่าช้าจะส่งผลให้โรคติดเชื้อที่มีความสามารถ ในการแพร์โรคได้เร็วระบาดในวงกว้างต่อไปได้ ส่งผลให้การควบคุมโรคทําได้ยากยิ่งขึ้น ฉะนั้น การพัฒนา SRRT เครือข่ายระดับตําบล จะเป็นกลไกสําคัญเพื่อรองรับภารกิจหลักของรพ.สต. ด้านการป้องกันควบคุมโรค และสอดรับ กับนโยบายอําเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน เพื่อให้การดําเนินงานควบคุมป้องกันโรคในระดับอําเภอและตําบลมี ประสิทธิภาพมากขึ้นเนื่องจากเครือข่ายระดับตําบล กระจายอยู่ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ จึงดําเนินการพัฒนาเครือข่าย โดยผ่านทีม SRRT ที่ได้จัดตั้งไว้แล้ว คือ ทีมระดับอําเภอ จังหวัด เขต และส่วนกลาง ซึ่งสมาชิกทีมได้รับการพัฒนาให้ มีศักยภาพในการเฝ้าระวังสอบสวนโรคภัยให้ได้มาตรฐาน รวมทั้งสามารถตอบสนองภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขได้ อย่างมีประสิทธิภาพ การกําหนดกลุ่มเป้าหมายสําหรับ SRRT เครือข่ายระดับตําบล หากจะพัฒนาแต่เจ้าหน้าที่ สาธารณสุขในแต่ละตําบลจํานวนไม่กี่คน งานป้องกันควบคุมโรคในชุมชนคงยากที่จะประสบความสําเร็จเป็นอย่างดี ดังนั้น จําเป็นต้องใช้ความร่วมมือเป็นเครือข่ายกับภาคประชาชน ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นําชุมชน บุคลากร สาธารณสุขในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในปีแรกนี้ จึงกําหนดกลุ่มเป้าหมายของ การเริ่มต้น คือเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานป้องกันควบคุมโรคของ รพ.สต. อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และ บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่ของ รพ.สต.

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 34,400.00 0 0.00
2 ก.พ. 64 - 30 ก.ย. 64 1.อบรมฟื้นฟูทีมควบคุมโรค 0 0.00 -
2 ก.พ. 64 - 30 ก.ย. 64 2.พ่นหมอกควันเพื่อควบคุมพาหะนำโรค 0 34,400.00 -
  1. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ชี้แจงคณะทํางาน เพื่อจัดตั้งทีมทํางานเฉพาะ 2. จัดทําคู่มือทางวิชาการและการปฏิบัติงาน 3. สนับสนุนการปฏิบัติงานของเครือข่าย SRRT 4. ออกพ่นหมอกควันในพื้นที่มีการเกิดโรคไข้เลือดออกหรือเสี่ยงต่อการเกิดโรค 5. นิเทศติดตาม ประเมินผลงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 อัตราป่วยไข้เลือดออกลดลง 2 ไม่เกิดการระบาดในชุมชน 3 ค่าดัชนีลูกน้ํายุงลายไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน 4 มีทีมควบคุมโรคทุกหมู่บ้าน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2563 10:47 น.