กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กแรกเกิด-6 ปี เป็นเด็ก (smart kid) ตำบลกระหวะ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระหวะ
วันที่อนุมัติ 15 ตุลาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 มกราคม 2564 - 29 มกราคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 18,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวคูดัยละห์ มะมิง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกระหวะ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.759,101.441place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – ๖ ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญญาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆซึ่งจากการสำรวจพัฒนาการในเด็กไทยพบว่า เด็กอายุ ๐ – ๖ ปี มีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ ๓๐ หรือประมาณ ๔ ล้านคนและจากการประเมินพัฒนาการเด็กในเด็ก ๐ – ๖ ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระหวะ เด็กจำนวน 82 คน ได้รับประเมินพัฒนาการ จำนวน 68 คน ร้อยละ 82.92 พบเด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ 5.88 นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ปกครองเด็กเด็ก ๐ – ๖ ปี กว่าร้อยละ ๗๐ ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการประเมินพัฒนาการ และการกระตุ้นพัฒนาการเด็กในด้านต่างๆ ในการนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระหวะ ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำ “ส่งเสริมสุขภาพเด็กแรกเกิด – 6 ปี เป็นเด็ก (SMART KID) ตำบลกระหวะ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี”ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กแรกเกิด - 6 ปี

 

0.00
2 เพื่อให้เด็กแรกเกิด - 6 ปี มีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม

 

0.00
3 เพื่อให้เด็กแรกเกิด - 6 ปี ที่พัฒนาการล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่สมวัย และได้รับการรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติมาก

 

0.00
4 เพื่อให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กสามารถชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบศรีษะ และแปลผลตามกราฟอย่างถูกต้องเกิดความรัก ความสัมพันธ์ระหว่างเด็ก และผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก

 

0.00
5 เพื่อให้เด็กที่มารับบริการในคลินิคสุขภาพเด็กดี ได้รับการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบศรีษะ โดยผู้ที่มีความรู้ความส

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. กำหนดนโยบายและกิจกรรม
  2. จัดทำโครงการและชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระหวะ
  3. จัดทำมุมพัฒนาการเด็กแรกเกิด - 6 ปีในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระหวะ
  4. จัดกิจกรรมอบรบให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง เรื่องภาวะโภชนาการและพัฒนาการตามวัยเด็กแรกเกิด–6 ปี 5.จัดอบรมผู้ปกครอง เด็กแรกเกิด - 6 ปี  จำนวน 100 คน
  5. ประสานงานชั่งน้ำหนักเด็ก ร่วมกับ อสม. ทุกเดือน 3 เดือน
  6. ติดตามชั่งน้ำหนักเด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการที่บ้าน และลงบันทึกในสมุดบันทึกสุขภาพ ฯ
  7. ติดตามเฝ้าระวังในเด็กที่ตกเกณฑ์มาตรฐานของภาวะโภชนาการในเด็กแรกเกิด - 6 ปี (ตามกราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตของเด็กแรกเกิด - 6 ปี, กรมอนามัย)
  8. ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน
  9. รายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ให้เด็กแรกเกิด - 6 ปีได้รับการประเมินโภชนาการ และพัฒนาการ คิดเป็นร้อยละ 90
  2. ให้เด็กแรกเกิด - 6 ปี มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 80
  3. ให้เด็กแรกเกิด - 6 ปีมีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม คิดเป็น ร้อยละ 85
  4. เด็กแรกเกิด - 6 ปีที่พัฒนาการล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่สมวัย และได้รับ การรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติมาก
  5. ผู้ปกครอง และผู้เลี้ยงดูเด็กให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการการส่งเสริมโภชนาการและพัฒนาการ เด็กแรกเกิด - 6 ปี 6.ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลที่ผ่านการอบรมสามารถชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบศรีษะ และแปลผลตามกราฟอย่างถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2563 12:16 น.