กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ในโรงเรียนบ้านศาลาอูมา
รหัสโครงการ 64-L2518-2-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านศาลาอูมา
วันที่อนุมัติ 8 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 6,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพ.เพียง เพ็ชรรัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ นายสวรรค์ สาและ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.985284,101.936495place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 107 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 นักเรียน ป.1-6
107.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามพระราชกำหนดฉุกเฉิน ฉบับที่ ๓ คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ที่ ๔/๒๕๖๓ เรื่องแนวทางปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๓) ลงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓ โดยให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคโดยเคร่งครัด เนื่องด้วยสถานการณ์การเกิดและระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(Covid-19) พบว่ามีรายงานการระบาดของโรคดังกล่าวเป็นวงกว้างในพื้นที่หลายจังหวัด อีกทั้งมีรายงานการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อ เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่โรงเรียน สำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอจึงเห็นชอบมาตรการเร่งด่วนในการป้องกันวิกฤตการณ์จากโรคไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ให้สถานศึกษาดำเนินการป้องกันโรคตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับนักเรียนในโรงเรียน ดังนั้นโรงเรียนบ้านศาลาอูมาจึงได้จัดทำโครงการป้องกันเฝ้าระวังโรคไวรัสโคโรนา (Covid-19)เพื่อควบคุมเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ตั้งรับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ให้ทันต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1 เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

นักเรียนมีความรู้ให้คำแนะนำ และดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

107.00 1.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้มีทรัพยากร งบประมาณ พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ครูและนักเรียนในโรงเรียนได้รับการป้องกันการติดเชื้อจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ได้

107.00 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 6,500.00 0 0.00
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เด็กนักเรียน จำนวน 107 คน 0 2,800.00 -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 2 จัดซื้อวัสดุเฝ้าระวังและควบคุมโรค 0 3,700.00 -

1.ขั้นตอนการวางแผน - ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื่้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ - แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ - ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน 2.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกายูคละ 3.ขั้นตอนการดำเนินงาน 3.1 รณรงค์เรื่องการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ดำเนินการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อให้นักเรียนรับรู้ข้อมูล สถานการณ์ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น บอร์ด ไวนิลให้ความรู้ 3.2 จัดอบรมให้ความรู้กับนักเรียนในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19)
3.3 การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา (Covid-19) 3.4 ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งให้นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนทราบเป็นระยะ 3.5 สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019ได้
  2. นักเรียนสามารถเผยแพร่ความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2563 15:04 น.