โครงการ "เยาวชนสดใส ห่างไกลยาเสพติด"
ชื่อโครงการ | โครงการ "เยาวชนสดใส ห่างไกลยาเสพติด" |
รหัสโครงการ | 64-L229-1-8 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง |
วันที่อนุมัติ | 3 ธันวาคม 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2564 |
งบประมาณ | 7,250.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอัมราน เบ็ญอิสริยา |
พี่เลี้ยงโครงการ | คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านกลาง |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.839,101.521place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 26 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : ระบุ |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากสถานการณ์ปัจจุบัน ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญ ซึ่งมีผลกระทบและเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ รัฐบาลได้กำหนดให้การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ และกำหนดยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดเพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยึดเป็นหลักในการขับเคลื่อนงานยาเสพติดเด็กและเยาวชน เป็นหมายของขบวนการยาเสพติด เนื่องจากเป็นวัยที่เอื้อต่อการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดทั้งปัจจัยจากตนเอง คือ เป็นวัยที่ต้องการเรียนรู้ อยากลอง ต้องการเรียกร้องความสนใจ ต้องการค้นหา สร้างตัวตน สร้างการยอมรับ มีแรงผลักดันทางอารมณ์สูง กล้าเสี่ยง กล้าทำสิ่งท้าทาย นอกจากนี้ นักค้ายาเสพติดต่างมองว่า เยาวชนส่วนใหญ่มีเงิน จึงมีความมั่นใจว่าการค้ายาเสพติดกับเยาวชนนั้น จะทำให้มีลูกค้าอยู่สม่ำเสมอ จากสถิติค้ายาเสพติดพบว่า เด็กและเยาวชนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดเริ่มมีอายุน้อยลง การแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของสิ่งเสพติด จะต้องดำเนินการการสอนหรือฝึก ให้เด็กมีภูมิคุ้มกันทางด้านจิตใจ และสามารถเผชิญกับปัญหาต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ ดังกล่าว จึงได้จัด โครงการเยาวชนสดใส ห่างไกลยาเสพติด ในการส่งเสริม วิธีป้องกันยาเสพติดในเด็กและเยาวชน เพื่อจะได้สามารถร่วมมือกันปกป้องเด็กและเยาวชน จากปัญหายาเสพติดได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดให้เยาวชนได้รับรู้รับทราบถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด
2. เพื่อสร้างเครือข่ายเยาวชนในการป้องกันและแก้ไขต่อต้านยาเสพติด
3. เพื่อปลุกจิตสำนึกของเยาวชน ให้มีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงพิษภัยยาเสพติดที่มีผลต่อร่างกาย สุขภาพอนามัย และส่งผลกระทบต่อปัญหาสังคม
4. เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เยาวชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
|
1.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 66 | 7,250.00 | 2 | 7,250.00 | 0.00 | |
7 มิ.ย. 64 | ประชุมเจ้าหน้าที่ร่วมกับเครือข่ายอสม. | 26 | 650.00 | ✔ | 650.00 | 0.00 | |
10 มิ.ย. 64 | อบรมให้ความรู้แก่วัยรุ่น และเยาวชนในเขตรับผิดชอบ | 40 | 6,600.00 | ✔ | 6,600.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 66 | 7,250.00 | 2 | 7,250.00 | 0.00 |
- ประชุมเพื่อชี้แจงโครงการแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
- เขียนโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ
- ประสานงานกับ อสม.ในการสำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย และติดต่อประสานงานกับวิทยากร
- ดำเนินการอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กวัยรุ่น และเยาวชน ในเรื่องดังนี้ ความหมายของยาเสพติดและประเภทยาเสพติด โทษของยาเสพติดประเภทต่างๆ สาเหตุของการติดยาเสพติด อันตรายและผลกระทบของยาเสพติดการป้องกันยาเสพติดการเเพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชนและประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินงาน
- สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงาน
- เยาวชน มีภูมิคุ้มกันยาเสพติดและ ได้รับรู้รับทราบถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด
- มีเครือข่ายเยาวชนในการป้องกันและแก้ไขต่อต้านยาเสพติด
- เยาวชนมีจิตสำนึก มีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงพิษภัยยาเสพติดที่มีผลต่อร่างกาย สุขภาพอนามัยและส่งผลกระทบต่อปัญหาสังคม
- ชุมชนมีความเข้มแข็งและสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2563 09:32 น.